การประพันธ์บทเพลงชุดพระพุทธบาทปูชิตชลบุรี

Music Composition: Pra Puttabaat Puchit Chonburi Suite

Authors

  • กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ
  • ภัทระ คมขำ

Keywords:

พระพุทธบาท, การประพันธ์, จังหวัดชลบุรี, Buddha Footprint, Composition, Chonburi Province

Abstract

งานวิจัยเรื่องการประพันธ์บทเพลงชุดพระพุทธบาทปูชิตชลบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทในจังหวัดชลบุรี และประพันธ์บทเพลงชุดพระพุทธบาทปูชิตชลบุรี ผลการศึกษาปรากฏพบรอยพระพุทธบาทในวัดพระอารามหลวง จำนวน 6 วัด ได้แก่ วัดเขาบางทราย วัดใหญ่อินทาราม วัดบางพระวรวิหาร วัดจุฑาทิศธรรมสภารามวรวิหาร วัดชัยมงคล และวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร รอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดอัญเชิญมากจากประเทศอินเดีย เชื่อว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 500 การประพันธ์บทเพลงชุดพระพุทธบาทปูชิตชลบุรีได้รับแรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์ ลักษณะเฉพาะ ประเพณี เอกลักษณ์ชาติพันธุ์และศิลปะวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ประพันธ์ขึ้นตามหลักดุริยางคศิลป์ไทย ได้แก่ การยืดยุบทำนอง ทำนองเพลงต้นราก และประพันธ์แบบอัตโนมัติ บทเพลงแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรก ทิ้กท้อบ่วงหุกส่วย ประกอบด้วยเพลงโล้เตี่ยจิว เพลงรัวจีน เพลงขึ้นฝั่ง และเพลงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ช่วงที่สอง เพลงไป่โล่วโก้ และช่วงที่สาม พระพุทธบาทปูชิต ประกอบด้วยเพลงศรีสมุทรสมโภช เพลงรุ่งโรจน์ศรีพโล เพลงธเรศนครอินทร์ เพลงฉิ่งนิมิตบางพระ เพลงพุทธชัยมงคล เพลงภูมิพลเฉลิมชัย และจบด้วยทำนองเพลงรัวพระพุทธบาทปูชิต  This qualitative research entitled “Music Composition: Pra Puttabaat Puchit Chonburi Suite” aimed to 1) study the Buddha footprint information in Chonburi; and 2) compose music of Pra Puttabaat Puchit Chonburi Suite. The results revealed that the Buddha footprints were found in 6 royal temples, namely Koabangsai Temple; Yai Indraram Temple; Bangphra Woravihara Temple; Chudadhit Dhammasapharam Woravihara Temple; Jayamangala Temple; and Yannasangvararammahavihara Temple. The oldest Buddha footprint was the one that has been brought from Bodh Gaya, Republic of India. It was believed that the Buddha’s footprint was created in the year of 500 B.E. The music composition entitled “Pra Puttabaat Puchit Chonburi Suite” was inspired by history; uniqueness; tradition; ethnic identity; and art and culture in Chonburi, composed by using expanding and reducing melody; recomposing melody; and automatic composition. The suite was divided into 3 phases: 1) Tik Tor Buang Huk Sua, consisting of Lo Tie jaw music, Rua Cheen music, Khuenfang music, and Dindan Saksit music; 2) Pai Low Go music; and 3) Pra Puttabaat Puchit, consisting of Sri Samutra Sompot, Rungroj Sripalow, Taresnakorn-in, Ching Nimit Bangpra, Buddha Jayamagala, and Bhumibol Chalermchai. The suite ended with Rua Pra Puttabaat Puchit music.

References

มณเฑียร ศุภลักษณ์. (2541). รอยพระพุทธบาทในประเทศไทย. บริษัท ฐานการพิมพ์ จำกัด.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น จำกัด.

วิราภรณ์ สุวดีปฐมพงศ์. (2552). ประเด็นใหม่: ระบบการวางลายมงคลบนรอยพระพุทธบาทในประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ถึงพุทธศตวรรษที่ 24. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (ม.ป.ป). อายุมงคล 6 รอบ พระราชสิทธิวิมล (เอนก ฐานิสฺสโร ป.ธ.7) วัดใหญ่อินทาราม (พระอารามหลวง) จังหวัดชลบุรี. องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี.

อำพล คมขำ. (2548). แนวคิดที่เหมือนคล้ายและแตกต่างของรอยพระพุทธบาทในงานจิตรกรรมฝาผนังกับงานประติมากรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย. [สารนิพนธ์ระดับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สรายุทธ์ โชติรัตน์. (2561). การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์บทเพลงชุด พุทธเจดีย์ทวารวดีศรีนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสี่ยวจิว. (2556). ที่เรียกว่า ‘แต้จิ๋ว’. สำนักพิมพ์มติชน.

สำนักงานจังหวัดชลบุรี. (2565, 1 กันยายน). ประวัติเมืองชล. http://www.chonburi.go.th/website/about_chonburi/about3

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชลบุรี. (2564, 28 พฤษภาคม). วัดใหญ่อินทาราม พระอารามหลวง. https://cbi.onab.go.th/th/content/category/detail/id/110/iid/7449

QINGYA LI. (2018). ชาวไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋วชลบุรี: วิถีและพลง. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

Published

2024-01-24