การสร้างชุดการสอนโน้ตเพลงไทยขั้นพื้นฐาน โดยใช้ทฤษฎีโน้ตดนตรีไทยใหม่

The Creation of New Materials for Teaching Thai Music

Authors

  • ภูริทัต อรณุการ
  • ชัยพฤกษ์ เมฆรา

Keywords:

ชุดการสอน, ทฤษฎีโน้ตดนตรีไทยใหม่, Teaching materials, Lesson plans

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาประสิทธิภาพของชุด การสอนที่สร้างขึ้น โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาเอกดนตรีตะวันตก 10 คน ที่สมัครใจเรียน โดยมี เกณฑ์การคัดเลือกคือ ผู้เรียนที่ผ่านรายวิชา ดยช.202 ปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย และผ่านรายวิชา ดยก.103 การอ่าน ฟัง เขียน 1 ในหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ โดยผู้วิจัยดำเนินการสอนด้วยตนเอง ใช้เวลาในการสอนคาบละ 60 นาที รวมทั้งหมด 9 คาบเรียน โดยจัดการเรียนการสอนสัปดาห์ละ 2 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2564 ถึงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2564  โดยใช้วิทยาลัยดุริยศิลป์มหาวิทยาลัยพายัพ เป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือครูและคู่มือผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ซึ่งผู้เรียนที่ผ่านการเรียนรู้จากการใช้ชุดการสอนโน้ตเพลงไทยขั้นพื้นฐาน โดยใช้ทฤษฎีโน้ตดนตรีไทยใหม่จะมีผลสัมฤทธิ์ระหว่างเรียนและหลังเรียน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80/80 เมื่อนำผลการวิจัยมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผลคะแนนทดสอบ ระหว่างเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่ใช้ชุดการสอนโน้ตดนตรีไทยขั้นพื้นฐาน โดยใช้ทฤษฎีดนตรีไทยใหม่ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 88.88/81.19 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน  This research was aimed at the creation and testing of notation exercises to beused in the teaching of Thai music. There were ten student volunteers, all of whom had passed two courses in the undergraduate music program of Payap University, Chiang Mai, Thailand: “Thai Music” (MUG 202) and “Reading, Listening, and Writing 1” (MUA 103). The research was conducted by the author from March 1 to March 30, 2021, during which period the author taught a total of 9 classes. The teaching materials usedwere a teacher’s guide and a lesson book. The hypothesis of this research was the average score higher than 80/80. The results of the research were analyzed and evaluated by percentage and mean, comparing the students’ scores before and after using the teaching package. An average score of 88.88/81.19 met the set standard, thereby confirming the author’s hypothesis. 

References

ชนิตร ภู่กาญจน์. (2544). แก่นแท้ดนตรีไทย. บรรพกิจ.

พนัส ต้องการพานิช. (2561) ชุดการสอนโน้ตเพลงและการใช้ดนตรีประกอบเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนเครื่องกระทบ. วารสารดนตรีรังสิต, 13(2), 31-44.

ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์ (2558) การศึกษาเพื่อสร้างชุดการสอนคีย์บอร์ดเบื้องต้นโดยใช้วิธีการของโคดาย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 16(1), 68-79.

บุญสืบ บุญเกิด และสุรศักดิ์ เพชรคงทอง. (2559). ประวัติการบันทึกโน้ตดนตรีไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 68-85.

อนันต์ ศรีโสภา. (2525). การวัดและการประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ไทยวัฒนาพานิช.

Downloads

Published

2024-01-24