เพลงแม่ฟ้าหลวง : มิติการสร้างสรรค์บทค่าวล้านนาสู่ทำนองเพลง
Mae Luang Song: The Creative Transformation of Northern Thai Literature “Khaw” Into A Song “Khawsaw”
Keywords:
เพลงแม่ฟ้าหลวง, บทค่าว, เพลงพื้นบ้านล้านนา, Mae Fah Luang Song, Khaw, Lanna Folk SongAbstract
เพลงแม่ฟ้าหลวง หรือเพลงตวยฮัก เป็นการประพันธ์เพลงแรกของอาจารย์รักเกียรติ ปัญญายศ ข้าราชการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ราวเมื่อ พ.ศ.2527 จากความประสงค์ของอาจารย์นคร พงษ์น้อย ผู้อำนวยการไร่แม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น เบื้องต้นเป็นการประพันธ์เพลงเพื่อการบรรเลงประกอบการแสดงชุดฟ้อนไหว้สาแม่ฟ้าหลวง จำนวน 2 ท่อน ท่อนละ 6 บรรทัด ต่อมาได้ปรับมาเป็นการบรรเลงประกอบขับร้องโดยอาจารย์นคร พงษน้อยได้นำ “บทค่าวเรื่องนางจม” ของพญาพรหมโวหารมาให้อาจารย์รักเกียรติ ปัญญายศบรรจุทำนองร้อง และได้ปรับปรุงทำนองตัดเพิ่มเหมาะสำหรับบทค่าว โดยตัดให้เหลือเพียง 1 ท่อน 4 บรรทัด พบว่า ผู้ประพันธ์ได้ตัดท่อน 2 ออก จากนั้นได้เลือกท่อน 1 ตัดบรรทัดที่ 4-6 ออก แล้วแต่งทำนองท้ายบรรทัดจนจบเพลง เป็นเพลงแม่ฟ้าหลวงฉบับบรรเลงรับร้องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้จัดลำดับการแบ่งมิติการสร้างสรรค์เพลงออกเป็น 4 ช่วงใหญ่ ๆ ได้แก่ ช่วงที่ 1 ทำนองเพลงแม่ฟ้าหลวงแบบเต็ม ช่วงที่ 2 ทำนองเพลงแม่ฟ้าหลวงแบบตัด หรือแม่ฟ้าหลวงฉบับบรรเลงรับร้อง ช่วงที่ 3 ทำนองเพลงแม่ฟ้าหลวงสู่การสร้างสรรค์บทร้องเพลงแม่ฟ้าหลวง ช่วงที่ 4 ทำนองเพลงแม่ฟ้าหลวงชั้นเดียว นอกจากนี้เพลงแม่ฟ้าหลวงยังได้ถูกนำไปประกอบการแสดงนาฏกรรมละครพื้นบ้านล้านนา และถูกนำไปผลิตซ้ำในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วงสะล้อซอซึง วงปี่พาทย์ วงดนตรีล้านนาผสมดนตรีตะวันตก อาทิเช่น วงโฟล์คซองคำเมือง กระทั่งเพลงแม่ฟ้าหลวงได้นำไปสู่ความประทับใจสูงสุด ที่เป็นส่วนหนึ่งในการบรรเลงรับร้องบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง “สมเด็จย่าพิชิตยอดดอยอินทนนท์” เนื่องในวาระครบรอบที่สมเด็จพระศรีนรินทราบรมราชชนนี มีพระชนม์ครบรอบ 120 สร้างความปราบปลื้มปีติยินดีแก่ผสกนิกรชาวไทย และยังจะเป็นการท้าทายให้กับผู้ที่สนใจในดนตรี ได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ต่อกระบวนการสร้างสรรค์ประพันธ์เพลง เชิดชูไว้ให้เป็นสมบัติของมวลมนุษยชาติสืบไป Mae Fah Luang or Tuay Hug song was the first song composed by Rakkiat Panyayot, back in 1984 when he was a government officer of the Chiang Mai College of Dramatic. It was by Nakorn Pongnoi’s request, who was, at that time, the director of the Mae Fah Luang Art & Culture Park (Rai Mae Fah Luang) in Chiang Rai province, to compose a background music for a dance performance: Fon Wai Sa Mae Fah Luang. The music included 2 sections, while in each section contained 6 melodic lines. Later on, Nokorn Pongnoi had brought Rakkiat a Northern Thai literature, Phraya Promwoharn’s Khaw Nang Jom, to be crafted it into the song’s lyrics. Rakkiat had adjusted the original background music by shorten the length of a song down to 1 section containing only 4 lines, in order to make it fits better with the lyrics. In details, Rakkiat had cut off the whole section 2 and line 4-6 of section 1. Then he recomposed 1 new ending melodic line, which made the song had in total of 4 lines. This edited vocal music was called Mae Fa Luang song and has been using to this day. The development of Mae Fa Luang song could be divided into 4 stages: stage1 – the writing of the full original background music stage, stage2 – the being edited / cut off stage, stage3 – the lyrics writing stage, and stage4 –the stage of completion / the single section version. Thereafter, Mae Fa Luang song has broadly been modified, used for Lanna traditional dance performances, and played in different types of musical bands such as Salor Saw Seung (traditional northern Thai music), Piphat (a kind of ensemble in the classical music of Thailand), and Wong Pasom (a distinct contemporary blend of northern Thai and Western influenced music such as folksong Kham Mueang). The highest accomplishment of the song was that it was used in the royal musical performance, ‘Somdej Ya Phe Chit Doi Inthanon’. The performance script was written by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn for the 120th birthday anniversary of Her Royal Highness Princess Srinagarindra of Thailand. Mae Fa Luang song, therefore, has become a source of historical learning and musical composition for the new generations who are interested in music composition and preserving this precious national treasure.References
ธีราคีตารมณ์. (2561). โน้ตเพลงอาจารย์รักเกียรติ ปัญญายศ: วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ เสวนาวิชาการ วัดศรีสุพรรณ ถนนวัวลาย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2553). คลาสสิกสังวาส. สำนักพิมพ์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไพศาล อินทวงศ์. (2546). รอบรู้เรื่องดนตรีไทย. สุวีริยาสสาระ.
อเนก นาวิกมูล. (2550). เพลงพื้นบ้านภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน รศ.ณรงค์ชัย ปิฎิกรัชต์ (เพลงพื้นบ้านภาคใต้). สำนักงานอุนทยานการเรียนรู้.
Downloads
Published
2024-01-24
Issue
Section
Articles