การวิเคราะห์กลวิธีการขับร้องเพลงตับต้นเพลงฉิ่ง สามชั้น

Analysis of The Basic Singing Techniques in The Song ‘Tub Ton Pleng Ching Sancham’

Authors

  • จันทนา คชประเสริฐ
  • จันทรา เนินนอก

Keywords:

เพลงตับต้นเพลงฉิ่ง, สามชั้น, กลวิธีการขับร้อง, TubTon Pleng Ching SamChan Song, Singing Techniques, Teaching Thai Vocalization

Abstract

การใช้เพลงตับต้นเพลงฉิ่ง สามชั้นในการฝึกการร้องเพลงเพื่อเน้นการพัฒนาทักษะการร้องและเทคนิคการออกเสียง การแบ่งแยกวรรคและการเรียนรู้เทคนิคการร้อง มีการสร้างความเข้าใจและรู้เรื่องการขับร้องเพลงไทยเบื้องต้น เพลงตับต้นฉิ่งช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจการใช้เสียงและการหายใจในขณะขับร้องเพลงไทยอย่างถูกต้อง เพลงตับต้นฉิ่งมีลักษณะท่วงทำนองที่ง่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถฝึกทักษะการร้องเพลงไทยในขั้นตอนของการเรียนรู้การขับร้องเพลงไทย โดยเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจการใช้เสียงและหายใจ รวมถึงการแบ่งวรรคคำและการเอื้อนเสียงให้เกิดความสัมพันธ์กับการผ่อนลมหายใจในขณะขับร้อง ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ขั้นตอนการขับร้องเพลงไทย และช่วยในการนำเสนอเพลงที่ซับซ้อนเพื่อฝึกทักษะการร้องที่มีเทคนิคขั้นสูงขึ้น การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เพลงต่าง ๆ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจการประยุกต์ใช้ทักษะการขับร้องเพลงไทย  Using the basic TubTon Pleng Ching SamChan Song in singing practice focuses on developing vocal skills and techniques, segmenting phrases, and learning additional singing techniques to deepen understanding of one's own singing proficiency in Thai music. It effectively introduces fundamental knowledge of Thai music, emphasizing proper vocalization and breath control while singing Thai songs. The basic Ching Pra chan Samchan song boasts a simple melodic structure, enabling students to practice Thai singing in subsequent stages of learning Thai music. It emphasizes understanding voice usage, breath control, phrase segmentation, and creating a relationship between vocal expression and controlled breathing during singing. It facilitates learning the steps involved in Thai song rendition and aids in presenting more intricate songs to enhance advanced singing skills. Comparisons and analysis of various songs aid students in applying their singing abilities effectively in the context of Thai music.

References

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2557). สารานุกรมเพลงไทย. มหาวิทยาลัยมหิดล

วัฒนวุฒิ ช้างชนะ. (2560). การแห่งดนตรีไทย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริมนรวิโรฒ. 21(1). 19-33.

Sawangviboonpong, D. (2003). Thai Classical Singing Its History, Musical Characteristics and Transmission. New York USA. Ashgate Publishing.

Smith, H. E. (2006). [Review of Thai Classical Singing: Its History, Musical Characteristics and Transmission, by D. Swangviboonpong]. Crossroads: An Interdisciplinary Journal of Southeast Asian Studies, 17(2), 184–187. http://www.jstor.org/stable/40860830

Roongruang, P. (2001). Thai classical music and its movement from oral to written transmission 1930-1942: historical context, method, and legacy of the Thai manuscript project. Humanities Journal, 9(1): 26-40

Treitler, L. (1981). Oral, Written, and Literate Process in the Transmission of Medieval Music. Speculum, 56(3), 471–491. https://doi.org/10.2307/2847738

Downloads

Published

2024-01-24