https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/issue/feed วารสารดนตรีและการแสดง 2024-07-19T07:47:20+00:00 วารสารดนตรีและการแสดง journal.Libbuu@gmail.com Open Journal Systems https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/10105 การตีความเพื่อการบรรเลงบทเพลงเปียโนของนักประพันธ์เพลงชาวจีนและไทย 2024-07-19T02:58:57+00:00 Bei Wang journalLibbuu@gmail.com รณชัย รัตนเศรษฐ journalLibbuu@gmail.com วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น journalLibbuu@gmail.com <p>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อวิเคราะห์การตีความเพื่อการบรรเลงบทเพลงเปียโนของนักประพันธ์เพลงชาวจีนและชาวไทย 2. เพื่อจัดแสดงการบรรเลงเปียโนบทประพันธ์เพลงไทยและเพลงจีน โดยกำหนดขอบเขตงานวิจัย คือ 1. การตีความบทเพลง 2. วิธีการบรรเลง ซึ่งจะสามารถทำให้ทราบถึงกระบวนการแนวคิดของผู้ประพันธ์เพลงเป็นอย่างไร และผู้วิจัยนำมาผสมผสานกับแนวคิดการตีความของผู้วิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการบรรเลงของบทเพลงทั้งสองบทเพลง ในการนำเสนอสู่สาธารณชน บทเพลงทั้งสองบทเพลงคือ บทเพลง “รามยณะ” (รามเกียรติ์) และบทเพลง “ปี่ฮวง” ของนักประพันธ์เพลงชาวไทยและชาวจีน ซึ่งเป็นบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับบรรเลงเดี่ยวเปียโน ที่ใช้วิธีการประพันธ์เพลงร่วมสมัย มานำเสนอแนวคิดจากการนำเสนอทั้งในวรรณคดีประจำชาติ และการแสดงประจำชาติ ทำให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นปรากฏอยู่ในบทเพลงทั้งสองอย่างเด่นชัด และเป็นบทเพลงที่มีคุณค่า สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการสร้างสรรค์ผลงานได้ต่อไป&nbsp; This research was a qualitative study with the objectives of the research were: 1. To analyze interpretations for the piano performances of Chinese and Thai composers. 2.To showcase the piano performance of Thai and Chinese compositions. The research scope was defined as 1. Interpretation of songs. 2. How to play This can give an idea of the conceptual process of the composer. and the researcher combined with the researcher's interpretation concept to guide the playing of the two songs. in public presentation. The two songs are "Ramayana" and "Pi Huang" by Thai and Chinese composers. which is a song written for a solo piano using contemporary methods of composing Come to present ideas from both the presentation of national literature. and national performances resulting in a distinctive identity that appears in both songs prominently and a valuable song can be used as a model for further creativity.</p> 2024-07-19T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/10106 The Beautiful Miao Mountain: The Contemporary Music Creation from Miao Music Culture in Guizhou 2024-07-19T03:04:57+00:00 Hui Jiang journalLibbuu@gmail.com Akkarapon Dejwacharanon journalLibbuu@gmail.com <p>"The Beautiful Miao Mountain" is based on the Feige tune (Flying song), the Feige of the Miao ethnic group in southeastern (Qiandongnan) Guizhou. It is a folk song with the characteristics of the Miao people in Guizhou with a long history. They live in the mountains, and singing is one of their daily communications, disseminating information, and expressing emotions. Because the two sides of the singing sing opposite each other across the mountain, the voice is soft and inaudible unless shouting. Let the other party hear the singing content, so the "Feige" of the Miao people is sung with an authentic voice, has solid penetrating power, and is more infectious, was born. This research aims to study Miao Fei Ge music in Guizhou and create a contemporary music creation from Miao Music Culture in Guizhou. The research has employed qualitative research methods and creative research methods to conduct research. In "The Beautiful Miao Mountain", the researcher used some elements of miao folk songs to create the music composition, used the violin vividly imitates the twists and turns of the human voice and the natural sounds of insects and birds in the early morning of Miaoling. It uses bright and cheerful Feige to describe the beauty of Miao Village in the early morning. It expresses the happy life scene of the Miao people. Using the violin to play the Miao Feige represents the human voice, a new fusion of national folk music and Western musical instruments, and an innovative form of contemporary Miao culture, which can improve the social awareness of national folk music. Another innovative performance of Miao music will also better promote the development of Miao music in Guizhou.</p> 2024-07-19T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/10107 บทบาทการส่งเสริมดนตรีไทยของพลตรีประพาศ ศกุนตนาค 2024-07-19T03:13:13+00:00 ปรมินทร์ เต็มพร้อม journalLibbuu@gmail.com ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์ journalLibbuu@gmail.com <p>งานวิจัยเรื่องบทบาทการส่งเสริมดนตรีไทยของพลตรีประพาศ ศกุนตนาค มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติชีวิตของพลตรีประพาศ ศกุนตนาค และบทบาทการส่งเสริมดนตรีไทยของพลตรีประพาศ ศกุนตนาค ใช้ระเบียบวิธีวิจัยคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า พลตรีประพาศ ศกุนตนาค เกิดในครอบครัวที่ชื่นชอบดนตรีไทย ทำให้เกิดความสนใจการขับร้องเพลงไทย โดยยึดทางเพลงตามคุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ มีลีลาการขับร้องตามครูเหนี่ยว ดุริยพันธุ์ การขับร้องเพลงไทยได้ไพเราะประกอบกับมีความสามารถในการขับเสภาทำให้พลตรีประพาศ ศกุนตนาค ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ขับเสภาประกอบละครทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 และเป็นนักร้องเพลงไทยในงานสำคัญต่าง ๆ พลตรีประพาศ ศกุนตนาครับราชการทหาร เหล่าทหารสื่อสาร จึงทำหน้าที่เป็นผู้ประกาศข่าวในโอกาสสำคัญทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ประกอบกับการเป็นนักแสดง&nbsp; และนักร้องเพลงไทย จึงทำให้ พลตรีประพาศ ศกุนตนาค มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เมื่อให้การสนับสนุนส่งเสริมดนตรีไทยจึงมีผู้ให้ความสนใจทั้งการสมัครเป็นลูกศิษย์และติดตามผลงาน พลตรีประพาศ ศกุนตนาค มีบทบาทในการส่งเสริมดนตรีไทยทั้งการเผยแพร่การขับร้องเพลงไทย การตีกรับขับเสภา ผ่านสื่อทางวิทยุโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ และเป็นผู้ประสานงานจัดงานดนตรีไทยในโอกาสสำคัญ นอกจากนั้นพลตรีประพาศ ศกุนตนาคยังมีบทบาทในการสืบทอดดนตรีไทยทั้งในฐานะครูผู้ถ่ายทอดความรู้ขั้นพื้นฐานด้านการขับร้องเพลงไทย และการตีกรับขับเสภาให้กับลูกศิษย์ รวมทั้งการถ่ายทอดกรรมวิธีการสร้างกรับเสภา นอกจากนั้นพลตรีประพาศ ศกุนตนาคยังร่วมจัดตั้ง “สำนักสยามเสภานุรักษ์” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการส่งเสริมการขับร้องเพลงไทย และการตีกรับขับเสภาทางสื่อออนไลน์&nbsp; This study aimed to study the personal history of Major General Prapas Sakuntanaga and his roles in supporting Thai traditional music. This research employed guatitative research methodology. Me The findings revealed that Major General Prapas Sakuntanaga was born in a family which was satisfied with Thai traditional music. Therefore, he was interested in Thai traditional vocal music. He followed vocal music by Khunying Phaithoon Kittiwan and Kru Niao Duriyaphan’s vocal music style. With the ability in singing beautifully and Sepha performance, he was chosen as a Sepha performer who sang drama songs of the Royal Thai Army Radio and Television 7. Moreover, he was always invited to sing Thai songs in many important events. Major General Prapas Sakuntanaga soldiered in the Signal Department. He worked as an announcer to report news on several important occasions at the Royal Thai Army Radio and Television 5. Furthermore, he was an actor and a Thai singer; thus, he was widely well-known. As a distinguished supporter of Thai traditional music, there were many people who followed his performance and applied to be his students. In addition, he played as an important role in supporting Thai traditional music and spreading Thai vocal music. Importantly, he was such a person who relayed basic knowledge about Thai singing, Krubsepha, and how to invent Krubsepha to his students. Moreover, he was one of the founders of the Headquarters of Siamsephanuraksa, an organization supporting Thai singing, and Krubsepha performance through online platforms.</p> 2024-07-19T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/10108 การสร้างละครพันทางเรื่องผู้ชนะสิบทิศของครูเสรี หวังในธรรม 2024-07-19T03:17:21+00:00 จุฑาวัฒน์ โอบอ้อม journalLibbuu@gmail.com อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์ journalLibbuu@gmail.com <p>บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสร้างละครพันทางเรื่องผู้ชนะสิบทิศของครูเสรี หวังในธรรม ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยและการสัมภาษณ์ นำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลจากการศึกษาพบว่า ละครพันทางเรื่องผู้ชนะสิบทิศของครูเสรี หวังในธรรม เป็นละครพันทาง เริ่มจัดแสดงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2528 ณ สังคีตศาลาและโรงละครแห่งชาติ รวมทั้งสิ้นจำนวน 56 ตอน การสร้างละครดังกล่าวเป็นการประพันธ์บทละครขึ้นใหม่จากการถอด บทประพันธ์จากนวยนิยายของยาขอบ การเลือกนักแสดงและการฝึกหัดเป็นการใช้นาฏยศิลปินที่รับราชการในกรมศิลปากร สำหรับการบรรจุเพลงในละครเป็นการใช้เพลงสำเนียงออกภาษาจากของดั้งเดิมและมีเพิ่มเพลงใหม่ ซึ่งกระบวนการสร้างละครพันทางนี้อยู่ในความควบคุมของครูเสรี หวังในธรรม ตลอดทุกขั้นตอน&nbsp; This article aims to study Lakhon Pantang making’s Puchanasiptit of Seree Wangnaitham. Methodology research was used qualitative research by studying documents, textbooks, research papers interviews and descriptive analysis. The results of the study found that Puchanasiptit of Seree Wangnaitham was a Lakhon Phanthang in Thai Traditional dance drama. It was begun a show in November 1985 at the Sangkhet Sala and the National Theater. there were 56 episodes. The production of the aforementioned drama was a rewrite of the play from the transcription of Yacop novels. The selection of actors and the practice of performing arts are the use of dance artists who serve in the Fine Arts Department. The music in the drama was taken from the original and new songs were added in Ethnic Thai Style. Every step’s process of making this Lakhon Pantang is under the control of Seree Wangnaitham</p> 2024-07-19T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/10109 การถ่ายทอดดนตรีพื้นเมืองล้านนาของเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ 2024-07-19T03:21:26+00:00 ทศพร จันทร์เลิศ journalLibbuu@gmail.com ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์ journalLibbuu@gmail.com <p>งานวิจัยเรื่อง การถ่ายทอดดนตรีพื้นเมืองล้านนาของเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวประวัติและผลงาน การพัฒนาและการถ่ายทอดดนตรีพื้นเมืองล้านนาของเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ เกิดและเติบโตในตระกูลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ จึงได้เรียนดนตรีพื้นเมืองล้านนาและเรียนเครื่องสายไทยในคุ้มหลวงมาแต่เยาว์วัย เมื่อได้รับเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีพื้นเมืองล้านนา ของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ จึงนำระเบียบวิธีการบรรเลงของวงดนตรีไทยมาใช้กับวงสะล้อ ซึง ทั้งการพัฒนารูปแบบการจัดวงการพัฒนารูปแบบการประสมวง พัฒนาขนาดและระดับเสียงของสะล้อและซึง ส่งผลให้วงสะล้อ ซึง มีแบบแผนการบรรเลงที่มีมาตรฐาน รวมทั้งการบันทึกโน้ตเพลงพื้นเมืองล้านนา และนำลูกบิดกีตาร์มาใช้กับซึง ทำให้ระดับเสียงไม่ลดระหว่างบรรเลง เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ ถ่ายทอดความรู้ดนตรีพื้นเมืองล้านนา ให้กับนักเรียนวิชาเอกดนตรีไทย วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่และลูกศิษย์ในกลุ่มช่างสร้างเครื่องดนตรี การถ่ายทอดเริ่มจากการสาธิตให้ดูและการนอยเสียง แล้วจึงถ่ายทอดเพลงในกลุ่มเพลงพื้นฐาน กลุ่มเพลงชั้นกลางและกลุ่มเพลงชั้นสูง การถ่ายทอดการบรรเลงรวมวง รวมถึงการถ่ายทอดกลวิธีในการบรรเลงแบบดั้งเดิมของดนตรีพื้นเมืองล้านนาและนำกลวิธีพิเศษของดนตรีไทยมาใช้กับการบรรเลง แบบแผนการบรรเลงสะล้อและซึงของเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีสายการสืบทอดสำคัญ คือ ลูกศิษย์ในวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ เนื่องจากส่วนใหญ่ประกอบอาชีพครูดนตรีไทย ทั้งในวิทยาลัยนาฏศิลปและในโรงเรียนเขตภาคเหนือ&nbsp; The article titled “Transmission of Lanna Traditional Music by Prince Sunthorn Na Chiangmai” examines 1. the life history and work of Prince Sunthorn Na Chiangmai, 2. the development of traditional Lanna Music and 3. the transmission and the inheritance of Lanna traditional music of Prince Sunthorn Na Chiangmai. This research employed&nbsp; guatitative research methodology. The results showed that Prince Sunthorn Na Chiangmai was born to and raised by the ruling family of Chiang Mai. He received Lanna and Thai traditional music training at an early age from the khum luang palace. After receiving an invitation from the Chiang Mai College of Dramatic Arts to serve as a Lanna traditional music specialist, Prince Sunthorn incorporated Thai traditional music practices to the teaching of salo ensemble. There he standardized instrument organization, ensemble setup, the sizes and tuning system of salo and sueng. This resulted in a theorization of the salo and sueng ensemble in terms of performance practices, instrumentation, ensemble setup and the notation of Lanna Traditional Music. He also initiated the installation of guitar tuning pegs into a sueng for a better tolerance of string tension. Prince Sunthorn Na Chiangmai taught Lanna traditional music to students majoring in Thai classical music and music instrument making. His teaching methods included juxtaposing between playing instruments and singing (noi siang) at a rudimentary level before proceeding to teaching basic, intermediate, and advanced pieces accordingly. He was noted for combining the Lanna traditional playing techniques with those of the Thai traditional music. The pedagogy conceived by Prince Sunthorn Na Chiangmai is still used today. The most prominent musical lineage of Prince Sunthorn Na Chiangmai consists of the Chiang Mai College of Dramatic Arts alumni who have become teachers in various campuses of the College of Dramatic Arts as well as in the local schools across Northern Thailand.</p> 2024-07-19T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/10110 กรรมวิธีการสร้างตะโพนของครูภูมิใจ รื่นเริง 2024-07-19T03:34:45+00:00 ชนะใจ รื่นเริง journalLibbuu@gmail.com ภัทระ คมขำ journalLibbuu@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับตะโพน ศึกษาประวัติชีวิตและกรรมวิธีการสร้างตะโพนของครูภูมิใจ รื่นเริง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่าตะโพนคือเครื่องหนังที่ใช้บรรเลงอยู่ในวงปี่พาทย์ สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากกลองโบราณของอินเดีย มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานโดยปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตัวกลองขึงด้วยหนังสองหน้า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหน้ามัดประมาณ 8 นิ้ว หน้ารุ่ย 9 นิ้ว ความยาว 19 นิ้ว ความสูง 21 นิ้ว ตะโพนเป็นเครื่องดนตรีที่นักดนตรีไทยต่างสักการะบูชา เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีที่เปรียบดังสัญลักษณ์แทนองค์พระปรคนธรรพ เทพสังคีตาจารย์แห่งดนตรี ครูภูมิใจ รื่นเริงเป็นช่างทำระนาดและกลองไทยทุกชนิด ได้รับสืบทอดภูมิปัญญาช่างจากครูเสน่ห์ ภักตร์ผ่อง กรรมวิธีการสร้างตะโพนของครูภูมิใจ ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมหุ่นตะโพน การเตรียมไส้ละมาน การตัดหนังเรียด การเตรียมหน้าตะโพน การแกะสลักเท้าตะโพนและการขึ้นตะโพน ลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในกรรมวิธีการสร้างตะโพนของครูภูมิใจ คือ วิธีการร้อยหนังเรียด วิธีการถักไส้ละมาน สัดส่วนของหุ่นตะโพนและการสาวตะโพนด้วยการใช้หัวเข่าเป็นอวัยวะค้ำยันหุ่นกลอง&nbsp; This article presents context of Ta Phon, biography of Khru Poomjai Ruenroeng and procedure of making Ta Phon by Khru Poomjai Ruenroeng. With the use of qualitative researching methods, the outcomes illustrate that Ta Phon, categorized as a kind of drums played in Thai’s Pi Phat ensemble, is presumed to be derived from India. There are evidences showing Ta Phon’s existance since Sukhothai era. The two-faced drum has diameters of eight and nine inches for small and large sides respectively. It is twenty-one inches in height. Importantly, Thai musicians pay considerable respects to Ta Phon. The drum is mentally meaningful because it is a symbol of a Thai music god, Phra Para Khon Thub. Khru Poomjai Ruenroeng, an expert in making Thai Xylophones (Ra-nad) and drums (Klong), has inherited the instruments making techniques from Khru Sanae Pakphong. The procedure of making Ta Phon by Khru Poomjai Ruenroeng consists of six steps which are the preparation of Ta Phon’s body, the preparation of Sai La Man (handmade twisted leather), the process of cutting cow skin into a rope called Nang Riad, the preparation of drum faces, process of carving Ta Phon’s stand and the process of assembling the drum. The study reveals three factors affecting sound quality of Ta Phon’s that are the evenness of the cow skin to apply as drum faces, the space in drum body and how well the drum skin is tightened. There are four identities found towards the procedure. (The unique ways to equip Nang Riad and Sai La Man, the exact scale of drum’s body and the step of tightening the drum with knees.)</p> 2024-07-19T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/10111 กรรมวิธีการผลิตซออู้ของครูอวรัช ชลวาสิน 2024-07-19T03:54:09+00:00 ชลลพรรษ เด็จใจ journalLibbuu@gmail.com พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ journalLibbuu@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับประวัติการผลิตซออู้ของครูอวรัช ชลวาสิน ศึกษากรรมวิธีการผลิตซออู้และปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพเสียงซออู้ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าครูอวรัช ชลวาสิน ได้เริ่มทดลองประดิษฐ์ซออู้คันแรกตั้งแต่อายุ 13 หลังจากนั้นจึงเริ่มสั่งสมความรู้ด้านดนตรีไทย งานศิลปกรรม ความรู้ด้านวิศวกรรมตลอดมาและได้เปิดโรงงานผลิตเครื่องดนตรีไทยชื่อว่า โรงงานสายเอก จนกระทั่งประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะซออู้ ไม้ที่ใช้ผลิตซออู้ของครูอวรัช ชลวาสิน ได้แก่ ไม้ Snakewood กรรมวิธีการผลิตซออู้มี 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การคัดเลือกกะลาและการแกะสลักลาย 2. การขึ้นหน้าซอ 3. การกลึงคันทวนลูกบิดและคันชัก 4. การเจาะคันทวนประกอบลูกบิด 5. การขึ้นหางม้า 6. การปรับบัวเข้ากะโหลก 7. การทำสี 8. การประกอบซอและปรับแต่งเสียง ลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในการผลิตซออู้ของครูอวรัช คือ โครงสร้างยึดตามแบบกระสวนดุริยบรรณ หนังสำหรับขึ้นหน้าซออู้ การผูกลายแกะแบบทับซ้อนมุมมีดในการแกะที่ใช้พรางตาและก่อให้เกิดมิติ การออกแบบลายเฉพาะแต่ละคัน และการเดินเส้นไม้พุดรอบขอบหนัง&nbsp; This article examines the knowledge related to the making of saw-u, a lower-pitched fiddle in Thai classical music, investigates the life of khru Avarach Cholvasin, and attempts to analyze the making process as well as the factors affecting the quality of saw-u timbre. The results of this qualitative work show that khru Avarach Cholvasin first experimented making saw-u, a lower-pitched fiddle, when he was thirteen years old. After that he gradually acquired knowledge related to visual arts in Thai classical music and engineering, which culminated in the founding of a successful Thai classical music instruments factory called “Sai Ek Factory.” Saw-u from this factory has been well-recognized by Thai classical musicians and draw frequent visitors to the factory. Khru Avarach uses the Snake wood to make a saw-u. There are eight steps of making a saw-u. These steps include selecting coconut shell and carving, covering the coconut opening with a sheet of leather, woodturning the tuning pegs and the bow, drilling the body and assemble the tuning pegs, trimming out the bottom of the wooden body to make it flush with the coconut shell’s top concave surface, painting and coating, assembling and finetuning timbre. The key characteristics found in the saw-u made by khru Avarach are the blueprint derived from the Duriyaban pattern, overlapping carving pattern, using specific angles of the carving blade to create a three-dimension illusion, designing a unique pattern for each saw-u, and lining of a softer mai put wood along the covering leather.</p> 2024-07-19T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/10112 กลวิธีการขับร้องเพลงหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณีของครูกัญจนปกรณ์ แสดงหาญ 2024-07-19T03:58:09+00:00 นรพิชญ์ เลื่องลือ journalLibbuu@gmail.com ขำคม พรประสิทธิ์ journalLibbuu@gmail.com <p>วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับการแสดงหุ่นกระบอกและศึกษากลวิธีการขับร้องเพลงหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณีของครูกัญจนปกรณ์ แสดงหาญ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า พุทธศักราช 2436 หม่อมราชวงศ์เถาะ พยัคฆเสนาได้นำรูปแบบหุ่นครูเหน่งมาสร้างและตั้งเป็นคณะหุ่นคุณเถาะที่กรุงเทพมหานครและได้เกิดคณะหุ่นขึ้นอีกหลายคณะ อาทิ คณะหุ่นนายเปียก คณะหุ่นนายวิง เป็นต้น การแสดงหุ่นกระบอกนิยมแสดงโดยใช้วรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี บรรจุด้วยเพลงหน้าพาทย์ เพลงเกร็ด และเพลงหุ่นกระบอก บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์เครื่องห้าหรือเครื่องคู่ มีซออู้ทำหน้าที่สีเพลงหุ่นกระบอก การขับร้องสำหรับการแสดงหุ่นกระบอกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ขับร้องเพลงเกร็ดสองชั้น ชั้นเดียว และขับร้องเพลงหุ่นกระบอก ซึ่งลักษณะการขับร้องเพลงหุ่นกระบอกเป็นการร้องเคล้าไปกับทำนองซอโดยมีระดับเสียงทางกลางแหบ (มฟซXทดX) เป็นระดับเสียงหลัก ในการขับร้องมีทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่ การขับร้องร้องลงธรรมดาเพื่อเจรจาหรือรับด้วยเพลงดำเนินทำนองทั่วไป การขับร้องทำนองหุ่นตลก การขับร้องสำหรับรับด้วยเพลงเชิด รัว และเสมอ การขับร้องสำหรับรับด้วยเพลงโอด จากการศึกษาทั้ง 4 รูปแบบพบว่า มีการใช้กลวิธีขับร้องทั้งหมด 13 กลวิธี ได้แก่ การปั้นคำ การเน้นเสียงเน้นคำ การเล่นเสียง การเอื้อนสามเสียง การโปรย หางเสียง การสะบัดเสียง การกระทบ การช้อนเสียง การผันเสียง การครั่นเสียง การโยกเสียง และการลักจังหวะ&nbsp; This study aimed to study the contexts of puppet performance and to study vocal techniques accompanying the performance. It employed qualitative research methodology focused on Master Kanjanapakorn’s vocal techniques found in his performance to the story of Phra Apaimanee. The research findings showed that in 1893 M.R. Thaw Bhayakhasana developed a puppet anatomy and a technique of construction from Master Neng’s puppet model. He founded his puppet troupe known as Khun Thaw’s puppet troupe in Bangkok. His troupe led other puppet masters to the formation of further puppet troupes such as Nai Piak’s troupe, Nai Wing’s troupe. Phra Apaimanee was one of the most popular literature to be adapted for puppet shows accompanied by sacred repertoire, miscellaneous pieces, and phleng hoon krabok. The performance was accompanied by a pipat khraung ha ensemble. A saw-u presented the melodies of phleng hoon krabok. The vocal parts for the puppet performance can be divided into two categories: (1) singing secular pieces in moderate and fast tempo; (2) singing phleng hoon krabok, which often accompanied by saw/u melodies in thang klang hap. Four tyeps of vocal forms were identified: (1) normal ending in order to lead to either a speech dialogue or general melodies; (2) singing to a comedian puppet (3) singing to choed, rua, and sa-mer melodies; (4) singing oad melodies. According to these four types, thirteen vocal techniques were employed to execute all four types of vocal performances. Thirteen techniques included word formulation, dynamics-word accentuation, mirroring, triple wordless vocalization, gliding, high pitch sudden ending, two syllable decoration, upward vocalization, tonal precision, vocal spasm, vocal melisma, and syncopation.</p> 2024-07-19T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/10113 การถ่ายทอดเพลงสระหม่าใหญ่ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 2024-07-19T04:07:47+00:00 ยศพล คมขำ journalLibbuu@gmail.com ขำคม พรประสิทธิ์ journalLibbuu@gmail.com <p>วิทยานิพนธ์เรื่องการถ่ายทอดเพลงสระหม่าใหญ่ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์โครงสร้างทำนองปี่ชวา หน้าทับสระหม่าใหญ่ และวิธีการถ่ายทอดใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่าเพลงสระหม่าใหญ่มีโครงสร้าง 3 ทำนอง ได้แก่ ทำนองสระหม่า ทำนองโยน ทำนองแปลง ทำนองสระหม่ากับทำนองโยนมีลักษณะพิเศษคือ ไม่มีจังหวะตายตัว สามารถยืดหรือขยายทำนองได้อิสระภายใต้โครงสร้างทำนองเพลง ทำนองแปลงมีลักษณะประโยคเพลงปกติแต่สามารถขยายหรือลดทอนทำนองในบางส่วนลงได้ หน้าทับเพลงสระหม่าใหญ่ประกอบด้วยหน้าทับ 3 ไม้หลักได้แก่ ไม้ต้น ไม้โปรย ไม้แดก ในแต่ละไม้จะมีทำนองโยนมาคั่นและจะมีหน้าทับย่อยลงไป มีลักษณะโครงสร้างเหมือนกับเพลงเชิดคือเป็นการเปลี่ยนหัวไม้และซ้ำท้าย เมื่อบรรเลงครบทุกไม้กลองแล้วจะเข้าสู่หน้าทับแปลงโดยกลองแขกตัวผู้จะตีเรียกทำนอง ตัวเมียก่อนออกแปลง หลังทำนองแปลงจะจบด้วยทำนองที่เรียกว่า หยดน้ำ สำหรับการถ่ายทอดเพลงสระหม่าใหญ่ของครูปี๊บ คงลายทองปรากฏ 2 แบบ แบบแรกต้องทำพิธีการคำนับครู แบบที่สองเป็นการนำดอกไม้ธูปเทียนมาบูชาครู การถ่ายทอดเริ่มที่เพลงสระหม่า โยน แปลง จนกระทั่งจบกระบวนเพลงสระหม่าใหญ่ หลังจากนั้นเป็นการอธิบายข้อปฏิบัติและการนำเพลงไปใช้ ซึ่งพบว่ากฎที่เคร่งครัดของเพลงสระหม่าใหญ่ก็คือห้ามนำไปใช้งานอวมงคลเด็ดขาด และหลังจากการบรรเลงเสร็จเรียบร้อยทุกครั้ง นักดนตรีต้องทำบุญอุทิศบุญกุศลให้แก่ครูดนตรีไทย ซึ่งสิ่งนี้เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น&nbsp; This study deals with musical transmission of the Great Sarama, sarama yai, by Master Peep Konglaithong, the National Artist. It is aimed at investigating musical identities of the pi chawa melodies, sarama yai rhythmic cycles, and transmission methods. This research employed guatitative research methodology. The research findings reveals that the sarama yai melodies consist of three sections: sarama, yon, and plang. Both sarama and plang melodies are special in that both are in free rhythm. The melodies can be extended and shortened based on the framework of its melodic structure. The regular structure of sentences in plang appears to be normal, however, the length of certain parts can be either elongated or shortened.&nbsp; Sarama yai rhythmic cycles consist of three major patterns: mai ton, mai proy, and mai dag.&nbsp; Each pattern is intercepted by yon with the variations of each pattern. The pattern is comparatively similar to the form of Cherd which begins with different melodies and ends with identical melodies. After each pattern is ended, the leading two-headed drum (klong khak tau phu) calls for the second two-headed drum (klong khak tau mia) to response before entering the plang section. After the plang section, the Great sarama then comes to the ending melodies called yod nam. It is found that Master Peep Konglaithong’s transmission methods could be divided into two forms: ritual and non-ritual. The procedure of training begins with learning sarama, yon, and plang until finishing the Great sarama. Verbal instructions of practices, occasions of performances, and strict guidelines are always significantly given to students after practical training. Sarama yai is forbidden to be performed for cultural events associated with misfortune and failure. After each performance of Sarama yai, musicians must make merit and dedicate it to their deceased music teachers. This traditional practice has been passed down generation to generation.</p> 2024-07-19T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/10114 The Music Creation for Solo Bassoon from “DA GE” Traditional Music of Dong 2024-07-19T04:11:33+00:00 Ye Yang journalLibbuu@gmail.com Akkarapon Dejwacharanon journalLibbuu@gmail.com <p>The current situation of Da Ge is that many singers and singers are already old, and the inheritance of Da Ge is facing a crisis, with no successors and on the brink of extinction, urgently requiring protection. There are currently no solo or ensemble works of ethnic minority music materials created for bassoon, and this study aims to address this issue. This paper conducts in-depth research on Dong culture and Da Ge. This article aims to study and create a music performance for Solo Bassoon from “Da Ge”. This paper employed qualitative research methods and creative research methods to research. This study aims to develop new forms of performance of Da Ge while also enriching the performance of Western instruments such as the bassoon. Through this study, it is also possible to create more Da Ge works for Bassoon while promoting Da Ge. This study can catalyze the study of innovative forms of performance in Da Ge.</p> 2024-07-19T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/10117 การขับร้องเพลงช้าปี่สำหรับการแสดงโขน “การสื่ออารมณ์และความหมายผ่านกลวิธีการขับร้อง” 2024-07-19T04:28:51+00:00 จันทนา คชประเสริฐ journalLibbuu@gmail.com <p>การขับร้องเพลงช้าปี่สำหรับการแสดงโขนไม่ได้เป็นเพียงการนำเสนอคำร้อง แต่ยังต้องสามารถสื่อความหมายและอารมณ์ผ่านกลวิธีการขับร้องที่ซับซ้อน เพลงช้าปี่เป็นเพลงเปิดมีความสำคัญและร้องยาก เนื่องจากมีท่วงทีลีลาช้าและงดงาม โดยการขับร้องนี้ต้องประสานกันระหว่างผู้ร้องและผู้แสดงอย่างสอดคล้อง จากการศึกษากลวิธีการขับร้อง พบว่ามีกลวิธีต่าง ๆ ช่วยในการแสดงอารมณ์ของบทเพลง เช่น การปั้นคำร้อง การเอื้อนสามเสียง การกระทบเสียง และการใช้เสียงแข็งแรงและมีพลัง การสื่ออารมณ์และความหมายผ่านการขับร้องนี้ช่วยให้ผู้ฟังรับรู้และเข้าใจถึงเนื้อหาและอารมณ์ของเพลงได้อย่างชัดเจน การขับร้องดีต้องอาศัยทักษะ สมาธิ ในการแสดงออกอย่างเต็มที่&nbsp; The study examined the vocal techniques used in singing the Cha-Pi song in Khon performances. Singing the Cha-Pi song was not merely about delivering lyrics but also about conveying meaning and emotion through complex vocal techniques. This opening song was significant and challenging to perform due to its slow and graceful nuances. Effective singing required seamless coordination between the singer and the performer. The study of vocal techniques revealed various methods that aided in expressing the song's emotions, such as vocal shaping, triple glissando, Tone impact, and using strong and powerful tones. Conveying emotion and meaning through singing allowed the audience to fully grasp the content and emotion of the song. Therefore, excellent singing relied on skill, concentration, and the courage to express emotions completely and accurately.</p> 2024-07-19T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/10118 สหบทในละครชาตรีร่วมสมัยของประดิษฐ ประสาททอง 2024-07-19T04:34:09+00:00 อภิรักษ์ ชัยปัญหา journalLibbuu@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการสร้างสรรค์ละครชาตรีร่วมสมัยของประดิษฐ ประสาททอง ในด้านสหบทจากละครชาตรีร่วมสมัย 3 เรื่อง ได้แก่ แก้วหน้าหมา นางสิบสาม&nbsp; และมโนรีย์ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสาร วิดีทัศน์ และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันละครชาตรีอาจแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ทางหลวง ทางพื้นบ้าน&nbsp; ทางร่วมสมัย และทางสถาบัน เจตนาของประดิษฐ มุ่งสื่อสารกับกลุ่มสถาบันเพื่อให้เห็นความเป็นไปได้ที่จะสร้างสรรค์เนื้อหาใหม่จากทางละครชาตรีทางหลวงและมุ่งเชิดชูทางพื้นบ้านว่ายังเป็นการสร้างสรรค์ร่วมสมัยและมีชีวิต ในด้านสหบทพบ การสหบทด้านเนื้อหาและสหบทกับบริบททางสังคม ในด้านเนื้อหา ประดิษฐ์ได้นำบทละครชาตีดั้งเดิมมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่โดยอิงกับตัวบทละครชาตรีดั้งเดิม 3 เรื่อง ได้แก่เรื่องแก้วหน้าม้า นางสิบสอง และมโนราห์ และบทละครรำ 1 เรื่อง ได้แก่ อิเหนา&nbsp; สหบทด้วยกลวิธีการยืมโครงเรื่อง การยืมชื่อตัวละคร การยืมชื่อเรื่อง และการยืมอนุภาค ด้านสหบท กับบริบททางสังคมพบกลวิธีการเทียบเคียงกับสถานการณ์การเมืองไทย ภาวะโลกร้อน และประวัติศาสตร์ความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ในด้านการสร้างสรรค์ยังคงใช้รูปแบบการแสดงแบบละครชาตีแต่ปรับลดขนาดให้เหมาะกับการเล่นแบบละครเร่มากขึ้น โดยยังคงมีโหมโรง รำซัดหน้าเตียง การร้อง การรำ&nbsp; ทางดนตรีคงกรับไม้ไผ่ไว้เป็นองค์ประกอบสำคัญ นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญกับการสร้างตัวละครที่มีลักษณะตัวละครกลมซึ่งแตกต่างจากการสร้างบทละครแบบดั้งเดิมที่เป็นตัวละครแบบฉบับ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมตั้งคำถามกับตัวละครและเรื่องราว การสร้างสรรค์ด้วยมโนทัศน์เชิงวิพากษ์เช่นนี้ ไม่ใช่เป็นการหักล้างหรือต่อด้านขนบ หากแต่เป็นการช่วยสร้างทางเลือกใหม่ให้แก่ศิลปะการละครไทยได้ในสังคมร่วมสมัยได้เป็นอย่างดี&nbsp; This research article aimed to study the Lakorn Chatri creation of Pradit Prasartthong with the theory of intertextuality which was selected from 3 of Chakorn Chatri productions; Kaew Nama, Nang Sipsam and Manoree. The Qualitative research was conducted to investigate, therefore the academic documents collecting, video recording and in-depth interview were employed to the study. The result found that there are 4 styles of Lakorn Chatri in Thailand which are Classical (royal) style, Folk style, the contemporary style and Institutional style. Pradit Prasartthong intent to work and communicate a Classical style to find new possibilities of Lakorn Chatri creation to theater practitioners in the institutes therefore he also develop and glorify a Folk style to create with the contemporary issues and audiences nowadays. The intertextuality of content and society were found from the Lakorn Chatri literature. First, intertextuality of content is way to create from the Lakorn Chatri’ s original plays which create from main trace through the 3 of Lakorn Chatri’s original plays such as Kaew Nama, Nang Sipsong and Manora with another one of Dance Theater’ s plays, Inao. The using of the plot, character and motif from the original plays were intertextuality of content. Second, intertextuality of society is way to relate to Thai political circumstances, climate change and the Thai history of memorial day at 6th October 1976. The production was presented by Lakorn Chatri performing style which was adapted to be practicability for a traveling theatre. Therefore the music and dance overture in traditional Lakorn Chatri singing and dance style are used for the performance that bamboo clapper (Krup) is important for main rhythm. Moreover there is emphasis to create a rounded character which differed from original character. It was to encourage the audiences to question of the character and story. The creation from a critical conceptual is not a refutation to the Lakorn Chatri’ s tradition but it create a new alternative for Thai theatre arts in contemporary society nowadays as well.</p> 2024-07-19T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/10119 Chinese Yao and Thai Iu Mien Performing Arts Management into Digital Learning Centre Design 2024-07-19T04:38:39+00:00 Li Xuanle journalLibbuu@gmail.com Manus Kaewbucha journalLibbuu@gmail.com <p>The Yao are the most widely distributed ethnic minority in southern China, and their performing arts gradually faded away after they migrated from China to Thailand. This research focus on to investigative and inscription the Chinese Yao and Thai Iu Mien Performing Arts as ethnic's music heritage on Chinese-Thai and theirs cultural significances values to design the program of Yao Performing Arts as ethnic's dance and music on digital learning centre disseminations. The researcher combined qualitative, fieldwork with ICOMOS and adapt to ICOM and comparative study of the performing arts. Research findings as in China in Jianghua and Jinxiu on music and rite Setting the Table, Inviting Guests, Finding Guests, Congratulating the Ancestral Statue, Welcoming the Guests, Opening the Gate, Making the Bed and music instrument including blowing tube, Suona, drums, cymbals, gongs and long drum. Thai Iu Mien wedding songs included Invitation to ancestors’ worship, greeting, eating, dinning, Welcoming the bride, coming, welcome, homing, blessing and Tray dance with music instruments Jayat, Dzoe Chao Jae and Bo Mang. The learning centre designing were Yao-Iu Mien Ethnographic Museum the image of the digital learning centre program of INHOUSE-OUTREACH as Building, Displays, Artifacts specimen, Events, Orientations, People, Shop-café - Toilets, Yao’s Souvenir Products Handbook as well.</p> 2024-07-19T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/10120 ประโยชน์ของการฝึกหายใจด้วยดนตรีบำบัดผ่านกิจกรรมร้องเพลง ที่มีผลต่อการเสริมสร้างสุขภาวะทางกายและใจในผู้สูงอายุ 2024-07-19T04:41:40+00:00 ทรงวรธรรม สมกอง journalLibbuu@gmail.com <p>การฝึกหายใจด้วยดนตรีบำบัดผ่านกิจกรรมร้องเพลงนั้น เป็นกิจกรรมที่ช่วยตอบสนองความต้องของผู้สูงอายุในด้านของการส่งเสริมสุขภาพวะทางกายและใจ โดยเป็นกิจกรรมที่สามารถทำเดี่ยวหรือทำแบบกลุ่มก็ได้ ซึ่งจะต้องทำร่วมกับนักดนตรีบำบัดวิชาชีพที่ผ่านการอบรมหรือจบหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับดนตรีบำบัดมาโดยตรง เพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ การฝึกหายใจผ่านการร้องเพลงเป็นผลดีต่อสุขภาวะทางกายและใจของผู้สูงอายุ อันเนื่องมาจากร่างกายได้เสื่อมถอยตามกาลเวลา การจะประกอบกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังกายที่เยอะถือเป็นเรื่องที่ทำยากยิ่งขึ้นในผู้สูงวัยและมีความเสี่ยงหลายมิติ แต่การฝึกหายใจผ่านการร้องเพลงนั้นเป็นการลดข้อจำกัดดังกล่าวให้น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพวะทางกายและใจ อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะสังคมของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น หากได้ประกอบกิจกรรมกับครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุนั้นไม่ได้รู้สึกถึงการฝึกหายใจเพื่อการรักษา แต่เป็นเพียงการทำกิจกรรมกับตนเอง ครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อนซึ่งช่วยให้เกิดแรงจูงใจ และความถี่ในการฝึกฝนมากยิ่งขึ้น&nbsp; Breathing exercises combined with music therapy through singing activities are highly beneficial for promoting the physical and mental health of the elderly. These activities can be performed individually or in groups, but it is crucial to collaborate with a professional music therapist trained in music therapy to minimize any potential risks. Singing-based breathing exercises are particularly advantageous for the elderly as they accommodate the natural decline in physical capabilities that comes with aging. Unlike strenuous physical activities, these exercises are less demanding and therefore more suitable for elderly individuals who may face various health risks. Engaging in these activities helps enhance both physical and mental well-being. Additionally, it provides opportunities for social interaction, especially when done with family or friends, thereby improving social skills and overall quality of life. Importantly, these activities do not feel like formal breathing exercises; instead, they offer a pleasant and engaging way to spend time, which boosts motivation and encourages regular practice.</p> 2024-07-19T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/10121 กระบวนการประพันธ์เพลง “THE GLAMOUR OF CHONBURI” 2024-07-19T04:50:13+00:00 ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน journalLibbuu@gmail.com <p>งานวิจัย เรื่อง กระบวนการประพันธ์เพลง “The Glamour of Chonburi” มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอกระบวนการประพันธ์เพลง "The Glamour of Chonburi" และเพื่อสร้างบทประพันธ์เพลงที่ถ่ายทอดเรื่องราวถึงเอกลักษณทางด้านประเพณีของจังหวัดชลบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ บทเพลง The Glamour of Chonburi ได้รับแรงบันดาลใจจากประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัดชลบุรีทั้ง 3 ประเพณี ได้แก่ ประเพณีกองข้าวศรีราชา ประเพณีแห่พญายม และประเพณีวิ่งควาย โดยวัตถุประสงค์ของการประพันธ์คือเพื่อสร้างผลงานการประพันธ์เพลงที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรีในเสียงและสำเนียงของดนตรีตะวันตกประสมดนตรีไทย ผู้วิจัยได้สร้างบทประพันธ์นี้สำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม วงขับร้องประสานเสียง และวงดนตรีไทย ความยาวประมาณ 17 นาที ในวิธีการประพันธ์เพลงผู้วิจัยได้ศึกษา วิเคราะห์บทประพันธ์ของคีตกวีเอกของชาวตะวันตกและชาวไทยที่ประพันธ์บทเพลงประเภทดนตรีพรรณนาทั้งในด้านวิธีและมุมมองการบรรยายเรื่องราวด้วยประโยคเพลง (Phrase) พื้นผิวทางดนตรี (Texture) สังคีตลักษณ์ (Musical form) โครงหลักของเสียงประสาน (Structure of Harmony) และเทคนิคการประพันธ์ เพื่อนำมาปรับใช้กับงานประพันธ์ของตนเองให้มีความสมบูรณ์ สามารถถ่ายทอดหรือสื่อสารให้ผู้ฟังได้เข้าถึงงานศิลป์ทางเสียง บทเพลง The Glamour of Chonburi แบ่งออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ ซึ่งในแต่ละช่วงนั้นถูกแบ่งโดยอัตราความเร็วของจังหวะ กำหนดลีลาและอารมณ์ รูปแบบของการบรรเลง โดยใช้เทคนิคการประพันธ์เพลงหลักที่หลากหลาย คือ เทคนิคการคัดทำนอง (Quotation) แนวคิดการใช้หน่วยทำนองจากเพลงไทย บันไดเสียงเพนทาโทนิก ไลท์โมทีฟ (Leitmotif) ด้วยการผ่านกระบวนการสร้างสรรค์และศึกษาองค์ความรู้ผู้วิจัยพบว่า การประสมเสียงเพื่อสื่อสารข้อความและเรื่องราวอย่างลุ่มลึกนั้นจำเป็นต้องใช้องค์ประกอบของความรู้และทักษะการประพันธ์เพลงที่หยั่งลึกเช่นเดียวกัน ผู้วิจัยมีความมุ่งหวังให้บทเพลง The Glamour of Chonburi นี้เปรียบเสมือนเป็นจดหมายเหตุที่บันทึกและเผยแพร่เสน่ห์ของจังหวัดชลบุรี&nbsp; This research aims to present the composition process of the song "The Glamour of Chonburi" and to create a musical composition that conveys the unique traditions of Chonburi Province, Thailand. The study employed a qualitative research methodology. The Glamour of Chonburi" is inspired by three unique and significant cultural traditions of Chonburi Province: the Kong Kao Tradition, the Phaya Yom Procession, and the Buffalo Racing Festival. The purpose of composing this piece was to create a musical work that represents the distinctive characteristics of Chonburi Province through the sounds and tonality of Western music blended with Thai traditional music. The composer crafted this composition for a wind orchestra, Chorus, and Thai musical band, with a duration of approximately 17 minutes. In the composition process, the composer studied and analyzed the works of eminent Western and Thai poets who specialized in program music. This exploration delved into musical phrasing, musical texture, musical form, harmony structure, and composition techniques. These elements were then adapted to create a complete and expressive musical piece that would allow the audience to engage with the auditory artistic expression. "The Glamour of Chonburi" is divided into three main sections, each defined by tempo variations, specified rhythms, and emotions. Diverse composition techniques were employed in each sections, including musical quotations, the incorporation of Thai musical motifs, pentatonic scales, and leitmotifs. Through the process of creation and study, the composer discovered that blending sounds to convey profound narratives requires an in-depth understanding of musical composition knowledge and skills. The composer aimed for "The Glamour of Chonburi" to be akin to a footnote that records and unveils the charm of Chonburi Province, expressing its depth and richness through the intricacies of musical composition.</p> 2024-07-19T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024