วารสารดนตรีและการแสดง https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music en-US journal.Libbuu@gmail.com (วารสารดนตรีและการแสดง) chain_d@hotmail.com (Chaleamkerit) Wed, 24 Jan 2024 08:30:03 +0000 OJS 3.2.1.4 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การสร้างสรรค์การแสดงบางปะกงแหล่งชีวิต : กระชังปลาของคุณตา https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9033 <p>งานวิจัยการสร้างสรรค์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การแสดงบางปะกงแหล่งชีวิต : กระชังปลาของคุณตา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากปราชญ์ชาวบ้านซึ่งเป็นครูภูมิปัญญาท้องถิ่นลุ่มแม่น้ำบางปะกงทางด้านการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ประกอบอาชีพมายาวนานกว่า 70 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคคลข้อมูลมาสร้างสรรค์การแสดง ในรูปแบบการเล่าเรื่องชุมชนผ่านบทเพลง ซึ่งมีกรอบแนวคิดในการวิจัยตามขั้นตอนดังนี้ กระบวนการสร้างสรรค์ ผลผลิตการสร้างสรรค์ และผลลัพธ์จากการสร้างสรรค์ ตามลำดับเพื่อนำมาสู่เป้าหมายของวัตถุประสงค์งานวิจัยชิ้นนี้ โดยมีการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) การแสดงบางปะกงแหล่งชีวิต : กระชังปลาของคุณตา และ 2) ศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการสร้างสรรค์การแสดง โดยผู้วิจัยใช้การอธิบายในเชิงสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) จากการศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้ผู้แสดงเข้าใจในเรื่องราวของการแสดงและการถ่ายทอดบทเพลงได้อย่างลึกซึ้ง จึงทำให้สามารถสื่อสารออกมาให้ผู้ที่รับชมเกิดความรู้สึก เข้าใจในเรื่องราวตามที่ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ไว้ และทำให้เห็นถึงกระบวนการสร้างสรรค์การแสดงเพื่อชุมชน เพื่อการสร้างสรรค์งานแสดงชิ้นนี้จะส่งผลและเกิดประโยชน์ต่อชุมชนและคนในชุมชนได้ตามเป้าหมายที่ผู้วิจัยได้ตั้งใจไว้&nbsp; This creative research aims to create a Bangpakong performance's source of life: Grandfather's coop, inspired by the local philosopher who is a local wisdom teacher in the Bangpakong River who farm a sea bass in the coop, which has been working for more than 70 years. Information has been collected individually to create the show through community storytelling. The conceptual frameworks for research are: The creative process, creative output, and creative results, respectively, to bring to the goal of this research objective, two topics of performance analysis were studied: 1) Bangpakong performance's source of life: Grandfather's coop, and 2) Study and analyze the process of creating performances by describing as an aesthetic. According the study and data analysis of performers. they have a deep understanding of the story so that they enable to perform and communicate well through the song. It allows the viewers to feel it, and understand the story as the researcher has been analyzed.&nbsp; Furthermore, it demonstrates the process of creating a beneficial show that benefits to community. By creating this show will be impact and benefit on community and the people around there as researchers’ intention.</p> ราชมณ รัตนเวคิน, รณชัย รัตนเศรษฐ, อภิรักษ์ ชัยปัญหา Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9033 Wed, 24 Jan 2024 00:00:00 +0000 การประพันธ์บทเพลงชุดพระพุทธบาทปูชิตชลบุรี https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9034 <p>งานวิจัยเรื่องการประพันธ์บทเพลงชุดพระพุทธบาทปูชิตชลบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทในจังหวัดชลบุรี และประพันธ์บทเพลงชุดพระพุทธบาทปูชิตชลบุรี ผลการศึกษาปรากฏพบรอยพระพุทธบาทในวัดพระอารามหลวง จำนวน 6 วัด ได้แก่ วัดเขาบางทราย วัดใหญ่อินทาราม วัดบางพระวรวิหาร วัดจุฑาทิศธรรมสภารามวรวิหาร วัดชัยมงคล และวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร รอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดอัญเชิญมากจากประเทศอินเดีย เชื่อว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 500 การประพันธ์บทเพลงชุดพระพุทธบาทปูชิตชลบุรีได้รับแรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์ ลักษณะเฉพาะ ประเพณี เอกลักษณ์ชาติพันธุ์และศิลปะวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ประพันธ์ขึ้นตามหลักดุริยางคศิลป์ไทย ได้แก่ การยืดยุบทำนอง ทำนองเพลงต้นราก และประพันธ์แบบอัตโนมัติ บทเพลงแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรก ทิ้กท้อบ่วงหุกส่วย ประกอบด้วยเพลงโล้เตี่ยจิว เพลงรัวจีน เพลงขึ้นฝั่ง และเพลงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ช่วงที่สอง เพลงไป่โล่วโก้ และช่วงที่สาม พระพุทธบาทปูชิต ประกอบด้วยเพลงศรีสมุทรสมโภช เพลงรุ่งโรจน์ศรีพโล เพลงธเรศนครอินทร์ เพลงฉิ่งนิมิตบางพระ เพลงพุทธชัยมงคล เพลงภูมิพลเฉลิมชัย และจบด้วยทำนองเพลงรัวพระพุทธบาทปูชิต&nbsp; This qualitative research entitled “Music Composition: Pra Puttabaat Puchit Chonburi Suite” aimed to 1) study the Buddha footprint information in Chonburi; and 2) compose music of Pra Puttabaat Puchit Chonburi Suite. The results revealed that the Buddha footprints were found in 6 royal temples, namely Koabangsai Temple; Yai Indraram Temple; Bangphra Woravihara Temple; Chudadhit Dhammasapharam Woravihara Temple; Jayamangala Temple; and Yannasangvararammahavihara Temple. The oldest Buddha footprint was the one that has been brought from Bodh Gaya, Republic of India. It was believed that the Buddha’s footprint was created in the year of 500 B.E. The music composition entitled “Pra Puttabaat Puchit Chonburi Suite” was inspired by history; uniqueness; tradition; ethnic identity; and art and culture in Chonburi, composed by using expanding and reducing melody; recomposing melody; and automatic composition. The suite was divided into 3 phases: 1) Tik Tor Buang Huk Sua, consisting of Lo Tie jaw music, Rua Cheen music, Khuenfang music, and Dindan Saksit music; 2) Pai Low Go music; and 3) Pra Puttabaat Puchit, consisting of Sri Samutra Sompot, Rungroj Sripalow, Taresnakorn-in, Ching Nimit Bangpra, Buddha Jayamagala, and Bhumibol Chalermchai. The suite ended with Rua Pra Puttabaat Puchit music.</p> กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ, ภัทระ คมขำ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9034 Wed, 24 Jan 2024 00:00:00 +0000 การสร้างสรรค์บทเพลงเทิดพระเกียรติชุด พระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9035 <p>การศึกษาวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์บทเพลงเทิดพระเกียรติชุด พระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการประพันธ์เพลงชุดพระแม่อยู่หัวของแผ่นดินและเพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านดุริยางค-ศิลป์ไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า พระราชประวัติของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ จำแนก 6 ด้านได้แก่ ด้านความมั่นคงของชาติ ด้านการอนามัยและสังคมสงเคราะห์ ด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านศิลปาชีพ ด้านการศึกษา และด้านศิลปวัฒนธรรม วิธีการประพันธ์ยึดหลักการประพันธ์เพลงไทยบรรเลงลักษณะบรรยายเรื่องราว แบ่งทำนองออกเป็น 4 ช่วง รวม 9 บทเพลง ได้แก่ เพลงแรกแย้ม เพลงพระราชประวัติ ท่อน 1 เสียงของแม่ ท่อน 2 แผ่ไทยผอง ท่อน 3 ชนซาบซึ้ง เพลงพระราชกรณียกิจ 6 เพลง ได้แก่ เพลงแดนดิน เพลงแพทย์หลวง เพลงอนุรักษ์ เพลงสืบศิลป์ เพลงดินสอ เพลงมรดก และเพลงสรรเสริญ ได้แก่ เพลงพระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน มีวิธีการประพันธ์ทำนองเพลง 3 รูปแบบ ได้แก่ การนำทำนองต้นรากส่วนหนึ่งของบางเพลงมาเป็นทำนองสัญลักษณ์ในการประพันธ์ การอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 9 และการประพันธ์ขึ้นโดยอัตโนมัติจากจินตนาการตามพระราชกรณียกิจ บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวมและวงดนตรีประยุกต์ร่วมสมัย&nbsp; This research study on royal honouring music composition: Phra Mae Yoo Hua Khong Phan Din, aims to create knowledge about the composition of Phra Mae Yoo Hua Khong Phan Din and to create works on Thai musical instruments in the Phra Mae Yoo Hua Khong Phan Din. A qualitative research methodology was used for studying documentary data and interviewing experts in the field of music. The results showed that the royal biography of Her Majesty Queen Sirikit, Queen Mother, performed royal duties classified into six areas, namely national security, health and social work, environment and natural resource conservation, arts and crafts, education, and cultural arts. The composing methods are based on the principles of Thai composing that convey the song of auspiciousness and various periods of royal history using musical tactics to describe the story. The melody is divided into four parts, totalling nine songs, namely Raek Yaem; 3 verses of the royal history songs (verse 1: the voice of the mother, verse 2: Phae Thai Phong, verse 3: Chon Saab Sueng); 6 songs of royal duty including Dan Din, Jeb Khai Rak Sa, A Nu Rak, Sueb Silp, Din Sor, Mo Ra Dok; and the last part is the hymn, such as Phra Mae Yoo Hua Khong Phan Din song. There are three styles of composing methods: the first style, bringing some of the roots of some songs as a symbolic melody; the second style, the invocation of royal songs; and the final style is automatically composed of the imagination according to the royal duties. The band used to play these Pipad Mai Nuam and contemporary applied ensemble.</p> อนันท์สิทธิ์ การหนองใหญ่, ขำคม พรประสิทธิ์ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9035 Wed, 24 Jan 2024 00:00:00 +0000 การประพันธ์และเรียบเรียงเพลงประกอบการแสดงของครูอำนาจ นุ่นเอียด https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9036 <p>งานบทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวประวัติและผลงานของครูอำนาจ นุ่นเอียด และเพื่อศึกษาวิธีการประพันธ์และเรียบเรียงเพลงประกอบการแสดงของครูอำนาจ นุ่นเอียด ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่า ครูอำนาจ นุ่นเอียด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2494 เป็นชาวจังหวัดพัทลุงเริ่มฝึกหัดดนตรีด้วยตัวเองตั้งแต่วัยเด็ก จากนั้นก็ฝึกเป่าปี่จนมีความรู้ความชำนาญในการบรรเลงเครื่องดนตรีโนราและหนังตะลุงในทุก ๆ ชิ้น โดยเฉพาะปี่ ในการวิเคราะห์เพลงประกอบการแสดงของครูอำนาจ นุ่นเอียด พบว่า การแสดงมีทั้งหมด 16 ชุดการแสดง ใช้เพลงจำนวน 73 เพลง และมี 14 เพลงเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยแต่ละเพลงมีความไพเราะอยู่ในตัวด้วยกันทั้งสิ้น มีการเปลี่ยนบันไดเสียงและใช้เสียงหลุมเพื่อให้เกิดสำเนียงที่ไพเราะอ่อนหวาน และยังมีลักษณะที่โดดเด่นอื่น ๆ อยู่อีก 5 ประการได้แก่ 1) การใช้เสียงเด่น หรือที่เรียกว่า Pillar Tone 2) การย้ำทำนอง 3) การใช้กระสวนจังหวะของทำนองแบบคงที่ 4) การใช้ทำนองโอดพัน และ 5) การใช้ทำนองฉายรูป ครูอำนาจประพันธ์โดยใช้วิธีการพลิกแพลงทำนองจากทำนองเพลงเดิมที่มีอยู่ การยุบโดยตรงและการยุบโดยวิธีการพลิกแพลงทำนองจากเพลงเดิมที่มีอยู่ ตามหลักการประพันธ์เพลงและยังต้องอาศัยจินตนาการในการสร้างสรรค์ทำนองที่มีลักษณะเฉพาะเพลงขึ้นมา&nbsp; This qualitative thesis aims to study the life and musical works of master Amnad Noon-iead and to examine the techniques used in his compositions and arrangements. It was found that Amnad Noon-iead was born in 1951 in Pattalung, a province in Southern Thailand. A self-taught musician, Amnad is adept in playing&nbsp;pii,&nbsp;a reed instrument, to accompany&nbsp;nora&nbsp;and&nbsp;nang talung,&nbsp;two popular theatrical performances in Southern Thailand. In the analysis of Amnad’s theatrical musical pieces, it was found that there was a total of 73 pieces used across sixteen performance items. Out of the 73 available pieces, fourteen of them were composed by Amnad, each bearing distinct musical signature. To create new pieces,&nbsp;metabole&nbsp;and the use of the fourth and seventh degree pitches were employed to render mellifluous melodies. In addition, five prominent compositional techniques were observed: 1) the use of the “pillar tone” or primary pitch, 2) melodic doubling, 3) consistent rhythmic patterns, 4) the use of&nbsp;ood-phan&nbsp;melodies, and 5) the use of&nbsp;chai ruup&nbsp;melodies. These techniques were an indicator of a seasoned composer who truly understood the traditional music and had a great command, resulting in the characteristically unique outputs.</p> ปภัค แก้วบุญชู, ขำคม พรประสิทธิ์ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9036 Wed, 24 Jan 2024 00:00:00 +0000 บทประพันธ์เพลง “วิภาวี” สำหรับวงดนตรีแจ๊สขนาดเล็ก https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9037 <p>บทประพันธ์เพลง “วิภาวี” สำหรับวงดนตรีแจ๊สขนาดเล็ก ประพันธ์ขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงใหม่ โดยนำเสนอแนวคิดการประพันธ์เพลงและการอิมโพรไวส์&nbsp; ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิภาวี ผู้หญิงที่น่าค้นหาคนหนึ่ง เธอเป็นคนเรียบร้อยและมีความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ตนเองรัก เธอจะคิดและทำให้ผู้อื่นรู้สึกประหลาดใจอยู่เสมอ ถึงแม้จะมีเหตุการณ์ที่ทำให้หมดกำลังใจ แต่เธอก็เลือกที่จะมองข้ามและคิดว่าเหตุการณ์ร้ายเหล่านั้นเป็นเพียงเรื่องตลกที่บังเอิญผ่านเข้ามาในชีวิต ผู้ประพันธ์เพลงนำอุปนิสัยของเธอมาใช้เป็นแรงบันดาลใจสำหรับการประพันธ์เพลงโดยใช้เทคนิคหลากหลาย เช่น แนวคิดดนตรีโมดัลแจ๊ส การพัฒนาโมทีฟ การซ้ำโมทีฟ การซีเควนซ์ การใช้คอร์ดแทนทรัยโทน การเปลี่ยนกุญแจเสียง และการทดเสียง บทประพันธ์เพลงนี้ได้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้อย่างสมบูรณ์ เผยแพร่สู่สาธารณชนผ่านสื่อออนไลน์เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563&nbsp; The purpose of the music composition&nbsp;“Wipawee”&nbsp;for small jazz ensemble is to create a new alternative to present a concept of composition and improvisation. The composition was inspired by an attractive girl named&nbsp;Wipawee, a simple-looking girl who is happy for doing what she loves. She is thoughtful and never fails to amaze people around her. Even in any bad situations, she always manages to smile and think that it is just part of life. Because of her true nature, a composer was inspired for this composition, employing a wide number of techniques, such as modal jazz harmony, a concept of tritone substitution, a concept of writing the main melody using motive development and repetition, sequence, modulation, and transposition technique. Owing to a hard work and dedication, this piece of music composition was completed according to its purpose and successfully presented for public in an online context (September 16, 2020).</p> นนท์ธวัช เชี่ยวพิมลพร, ธีรัช เลาห์วีระพานิช Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9037 Wed, 24 Jan 2024 00:00:00 +0000 การสร้างชุดการสอนโน้ตเพลงไทยขั้นพื้นฐาน โดยใช้ทฤษฎีโน้ตดนตรีไทยใหม่ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9038 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาประสิทธิภาพของชุด การสอนที่สร้างขึ้น โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาเอกดนตรีตะวันตก 10 คน ที่สมัครใจเรียน โดยมี เกณฑ์การคัดเลือกคือ ผู้เรียนที่ผ่านรายวิชา ดยช.202 ปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย และผ่านรายวิชา ดยก.103 การอ่าน ฟัง เขียน 1 ในหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ โดยผู้วิจัยดำเนินการสอนด้วยตนเอง ใช้เวลาในการสอนคาบละ 60 นาที รวมทั้งหมด 9 คาบเรียน โดยจัดการเรียนการสอนสัปดาห์ละ 2 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2564 ถึงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2564&nbsp; โดยใช้วิทยาลัยดุริยศิลป์มหาวิทยาลัยพายัพ เป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือครูและคู่มือผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ซึ่งผู้เรียนที่ผ่านการเรียนรู้จากการใช้ชุดการสอนโน้ตเพลงไทยขั้นพื้นฐาน โดยใช้ทฤษฎีโน้ตดนตรีไทยใหม่จะมีผลสัมฤทธิ์ระหว่างเรียนและหลังเรียน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80/80 เมื่อนำผลการวิจัยมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผลคะแนนทดสอบ ระหว่างเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่ใช้ชุดการสอนโน้ตดนตรีไทยขั้นพื้นฐาน โดยใช้ทฤษฎีดนตรีไทยใหม่ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 88.88/81.19 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน&nbsp; This research was aimed at the creation and testing of notation exercises to beused in the teaching of Thai music. There were ten student volunteers, all of whom had passed two courses in the undergraduate music program of Payap University, Chiang Mai, Thailand: “Thai Music” (MUG 202) and “Reading, Listening, and Writing 1” (MUA 103). The research was conducted by the author from March 1 to March 30, 2021, during which period the author taught a total of 9 classes. The teaching materials usedwere a teacher’s guide and a lesson book. The hypothesis of this research was the average score higher than 80/80.&nbsp;The results of the research were analyzed and evaluated by percentage and mean, comparing the students’ scores before and after using the teaching package. An average score of 88.88/81.19 met the set standard, thereby confirming the author’s hypothesis.&nbsp;</p> ภูริทัต อรณุการ, ชัยพฤกษ์ เมฆรา Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9038 Wed, 24 Jan 2024 00:00:00 +0000 การวิเคราะห์ทักษะการบรรเลงของบทฝึกเอทูดสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม “อินทัช หมายเลข 1” ประพันธ์โดยมานิต บูชาชนก https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9040 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์บทฝึกเอทูดสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม “IN TOUCH หมายเลข 1” ประพันธ์โดยมานิต บูชาชนก มีลักษณะเป็นบทเพลงที่สามารถนำไปใช้ในการบรรเลงเพื่อออกแสดง และฝึกฝนทักษะการบรรเลงได้ เหมาะสำหรับการพัฒนาทักษะการบรรเลงดนตรีในระดับสูง โดยบทประพันธ์เอทูดนี้ สามารถนำไปใช้ในการประเมินทักษะด้านคุณภาพเสียงการบรรเลงของวงดุริยางค์เครื่องลม โดยเป็นไปตามหลักการของ 4In เป็นหลักการสำคัญสำหรับองค์ประกอบที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพเสียงที่ดี ประกอบไปด้วย&nbsp; In Tone In Tune In Time และ In Touch เป็นต้น สำหรับบทฝึกเอทูด เป็นกาiรวบรวมเอาทักษะและเทคนิคการฝึกซ้อมของวงดุริยางค์เครื่องลมมาเรียบเรียงและประพันธ์แนวทำนองขึ้นโดยจัดอยู่ในองค์ประกอบ In Touch ตามหลักการแบบ 4In &nbsp;บทฝึกนี้มีรูปแบบจังหวะเดินแถว ซึ่งเป็นคุณลักษณะการบรรเลงที่มีบทบาทต่อการบรรเลงบทเพลงของวงดุริยางค์เครื่องลมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้บรรเลงสามารถฝึกฝนทักษะการบรรเลงบทเพลงในจังหวะเดินแถว เพื่อที่จะพัฒนาต่อยอดจนสามารถนำไปสู่การบรรเลงบทเพลงที่มีระดับสูงขึ้นต่อไปได้&nbsp; This objective of this article is to present an&nbsp;<strong>é</strong>tude analysis for the “IN TOUCH No.1” composed by Manit Buchachanok. It is a song that can be used to perform and practice skills. It is suitable for the development of high-level musical skill. It can be used to evaluate the sound quality skills of the wind orchestra, bases on the principle of 4In, as an important principle for the composition that will lead to the development of good sound quality, including in Tone, In Tune, In Time and in Touch. For the Etude training, it is a collection for the skills and techniques of the wind orchestra to compose and compos the melody in the in Touch element according to the 4In principle. The performers can practice their playing skills in the rhythm of the walk. In order to further develop, it can lead to higher levels of musical performance.</p> ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9040 Wed, 24 Jan 2024 00:00:00 +0000 กลองขุมดิน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดนตรีล้านนา https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9041 <p>บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการนำเสนอแนวความคิดมรกดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดนตรีล้านนา มีเรื่องราวความเป็นมาของเครื่องดนตรีที่ได้พัฒนาขึ้นจากภูมิปัญญาของศิลปินพื้นบ้าน โดยจะนำเสนอในเครื่องดนตรีประเภท “กลอง” ศิลปวัฒนธรรมล้านนาเป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยองค์ความรู้ทางด้านศิลปะที่ถ่ายทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน มีเอกลักษณ์ทางภูมิภาคที่โดดเด่นในเรื่องของศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะในเรื่องของวัฒนธรรมดนตรีล้านนา ศิลปวัฒนธรรมดนตรีของล้านนามีความเป็นอัตลักษณ์ ทั้งเรื่องของเครื่องดนตรี และสำเนียงดนตรี โดยเฉพาะเครื่องดนตรีประเภท “กลอง” ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่แพร่หลายตามภูมิภาคต่าง ๆ มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ เสียงที่ดังก้องกังวานและมีความไพเราะตามคุณลักษณะของวัสดุที่ทำขึ้น ประกอบกับลีลาการตีกลอง ที่ได้รับสร้างสรรค์อย่างมีศิลปะ กลองหลาย ๆ ชนิดเป็นที่รู้จักอย่างดีโดยทั่วไป สำหรับทางวัฒนธรรมดนตรีล้านนานั้น กลองขุมดิน เป็นกลองอีกชนิดหนึ่งที่สืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีคำกล่าวว่าในสมัยโบราณนั้น มนุษย์ได้ประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรีขึ้นมา เพื่อใช้สำหรับเตือนภัยของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในถ้ำ ใช้ตีเพื่อบอกสัญญาณให้ผู้ที่อาศัยได้รับรู้ถึงเหตุการณที่จะเกิดขึ้น โดยจะใช้มือตีที่บริเวณปากหลุมให้เสียงดังกังวาน ต่อมาสิ่งนี้ได้เกิดเป็นเครื่องดนตรีจากแนวคิดทางภูมิปัญญาของศิลปินล้านนาที่ได้พบเห็นแล้วนำมาพัฒนาเป็นกลองดิน หรือ กลองขุมดิน จากศิลปินของล้านนา 2 ท่านได้แก่ พ่อครูคำ กาไวย์ และพ่อครูมานพ รายะณะ ในทางความเชื่อของกลองขุมดินจะมีความเชื่อว่าเป็นการตีเพื่อเรียกฝนให้ตกลงมาสู่พื้นดินเพื่อความอุดมสมบูรณ์ โดยครูทั้งสองท่านได้พัฒนามาเป็นกลองดินฉบับของตน พ่อครูคำ กาไวย์ ได้พัฒนากลองดินมาเป็นลักษณะของกลองกาบหมาก โดยการขุดดินลักษณะแบบเดิมแต่ใช้แผ่นกาบหมากมาวางที่ปากหลุม จากนั้นใช้ไม้ไผ่มาวางตรงกลางในแนวตั้งนำเชือกมาคลึงให้ตึงและใช้ไม้ตี ส่วนพ่อครูมานพ รายะณะ ได้อนุรักษ์แบบดั่งเดิมไว้ เพียงแต่ได้ใช้หนังมาหุ้มที่ปากหลุม ต่อมาพ่อครูมงคล เสียงชารี ลูกศิษย์ของพ่อครูมานพ รายะณะ ได้นำแนวคิดของครูมาต่อยอด โดยการปั้นกลองที่ใช้วัสดุจากดินผสมปูนซีเมนต์ขึ้นมา เพื่อสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ และเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องราวต่อไป&nbsp; บทความนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์และเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในวงการศึกษาทางศิลปวัฒนธรรมดนตรีล้านนาที่จะช่วยกันอนุรักษ์ ต่อยอด และเกิดการสร้างสรรค์ในทางศิลปะสืบไป&nbsp; This article aims to introduce a traditional Lanna drum as Lanna musical and cultural heritage. The drum, as well as Lanna music as a whole, are unique with their distinct styles and melodic patterns, and have long history of being developed by local Lanna musicians. Drums, percussion instrument, are widely used in all regions in Thailand and well known for their echoey loud sound. The sound that drums produce depends on the instrument's shape and the materials they are made of. Khum Din drum or ‘Glong Khum Din’ is one of those drums invented long time ago and still found in Thailand to this day. This Khum Din drum was first invented by cavemen for the purpose of warning and caution signs, by hitting with bare hands, as signs used to make people aware of dangers. Thereafter, it was developed by two Lanna artists - Kham Kawai and Manop Yarana, into their own versions of ‘Glong Din’, that was used for calling for rain to keep land fertile. The drum was made by digging a hole in the ground, placing a sheet of betel palm husk on top, putting a bamboo stick vertically in the middle of the husk, pulling a string straight across the husk while having the string pressing down or holding the top of the standing bamboo stick firmly, then hit the string with small wooden sticks to produce the drum sound. Later on, Mongkol Shiengcharee, one of Manop Yarana’s students, had made the body of Glong Din of soil-cement mixture and placed it higher on the ground surface, which made it easily been spotted and used as a historical site for education. The author hopes that this paper will help getting ‘Glong Khum Din’ publicized and make the it more widely known among people working in this field, so that there will be more people continue conserving, expanding, and using the drum.</p> รณฤทธิ์ ไหมทอง Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9041 Wed, 24 Jan 2024 00:00:00 +0000 เพลงแม่ฟ้าหลวง : มิติการสร้างสรรค์บทค่าวล้านนาสู่ทำนองเพลง https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9042 <p>เพลงแม่ฟ้าหลวง หรือเพลงตวยฮัก เป็นการประพันธ์เพลงแรกของอาจารย์รักเกียรติ ปัญญายศ ข้าราชการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ราวเมื่อ พ.ศ.2527 จากความประสงค์ของอาจารย์นคร พงษ์น้อย ผู้อำนวยการไร่แม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น เบื้องต้นเป็นการประพันธ์เพลงเพื่อการบรรเลงประกอบการแสดงชุดฟ้อนไหว้สาแม่ฟ้าหลวง จำนวน 2 ท่อน ท่อนละ 6 บรรทัด ต่อมาได้ปรับมาเป็นการบรรเลงประกอบขับร้องโดยอาจารย์นคร พงษน้อยได้นำ “บทค่าวเรื่องนางจม” ของพญาพรหมโวหารมาให้อาจารย์รักเกียรติ ปัญญายศบรรจุทำนองร้อง และได้ปรับปรุงทำนองตัดเพิ่มเหมาะสำหรับบทค่าว โดยตัดให้เหลือเพียง 1 ท่อน 4 บรรทัด พบว่า ผู้ประพันธ์ได้ตัดท่อน 2 ออก จากนั้นได้เลือกท่อน 1 ตัดบรรทัดที่ 4-6 ออก แล้วแต่งทำนองท้ายบรรทัดจนจบเพลง เป็นเพลงแม่ฟ้าหลวงฉบับบรรเลงรับร้องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้จัดลำดับการแบ่งมิติการสร้างสรรค์เพลงออกเป็น 4 ช่วงใหญ่ ๆ ได้แก่ ช่วงที่ 1 ทำนองเพลงแม่ฟ้าหลวงแบบเต็ม ช่วงที่ 2 ทำนองเพลงแม่ฟ้าหลวงแบบตัด หรือแม่ฟ้าหลวงฉบับบรรเลงรับร้อง ช่วงที่ 3 ทำนองเพลงแม่ฟ้าหลวงสู่การสร้างสรรค์บทร้องเพลงแม่ฟ้าหลวง ช่วงที่ 4 ทำนองเพลงแม่ฟ้าหลวงชั้นเดียว นอกจากนี้เพลงแม่ฟ้าหลวงยังได้ถูกนำไปประกอบการแสดงนาฏกรรมละครพื้นบ้านล้านนา และถูกนำไปผลิตซ้ำในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วงสะล้อซอซึง วงปี่พาทย์ วงดนตรีล้านนาผสมดนตรีตะวันตก อาทิเช่น วงโฟล์คซองคำเมือง กระทั่งเพลงแม่ฟ้าหลวงได้นำไปสู่ความประทับใจสูงสุด ที่เป็นส่วนหนึ่งในการบรรเลงรับร้องบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง “สมเด็จย่าพิชิตยอดดอยอินทนนท์”&nbsp; เนื่องในวาระครบรอบที่สมเด็จพระศรีนรินทราบรมราชชนนี มีพระชนม์ครบรอบ 120 สร้างความปราบปลื้มปีติยินดีแก่ผสกนิกรชาวไทย และยังจะเป็นการท้าทายให้กับผู้ที่สนใจในดนตรี ได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ต่อกระบวนการสร้างสรรค์ประพันธ์เพลง เชิดชูไว้ให้เป็นสมบัติของมวลมนุษยชาติสืบไป&nbsp; Mae Fah Luang or Tuay Hug song was the first song composed by Rakkiat Panyayot, back in 1984 when he was a government officer of the Chiang Mai College of Dramatic. It was by Nakorn Pongnoi’s request, who was, at that time, the director of the Mae Fah Luang Art &amp; Culture Park (Rai Mae Fah Luang) in Chiang Rai province, to compose a background music for a dance performance: Fon Wai Sa Mae Fah Luang. The music included 2 sections, while in each section contained 6 melodic lines. Later on, Nokorn Pongnoi had brought Rakkiat a Northern Thai literature, Phraya Promwoharn’s Khaw Nang Jom, to be crafted it into the song’s lyrics. Rakkiat had adjusted the original background music by shorten the length of a song down to 1 section containing only 4 lines, in order to make it fits better with the lyrics. In details, Rakkiat had cut off the whole section 2 and line 4-6 of section 1. Then he recomposed 1 new ending melodic line, which made the song had in total of 4 lines. This edited vocal music was called Mae Fa Luang song and has been using to this day. The development of Mae Fa Luang song could be divided into 4 stages: stage1 – the writing of the full original background music stage, stage2 – the being edited / cut off stage, stage3 – the lyrics writing stage, and stage4 –the stage of completion / the single section version. Thereafter, Mae Fa Luang song has broadly been modified, used for Lanna traditional dance performances, and played in different types of musical bands such as Salor Saw Seung (traditional northern Thai music), Piphat (a kind of ensemble in the classical music of Thailand), and Wong Pasom (a distinct contemporary blend of northern Thai and Western influenced music such as folksong Kham Mueang). The highest accomplishment of the song was that it was used in the royal musical performance, ‘Somdej Ya Phe Chit Doi Inthanon’. The performance script was written by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn for the 120th birthday anniversary of Her Royal Highness Princess Srinagarindra of Thailand. Mae Fa Luang song, therefore, has become a source of historical learning and musical composition for the new generations who are interested in music composition and preserving this precious national treasure.</p> ธีรวัฒน์ หมื่นทา Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9042 Wed, 24 Jan 2024 00:00:00 +0000 บทประพันธ์เพลงมหาบัณฑิตนิพนธ์: “สุริยคราส” ซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับออร์เคสตรา https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9043 <p>บทประพันธ์สุริยคราส เป็นบทประพันธ์ประเภทซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงออร์เคสตรา มีทั้งหมด 4 ท่อน ในแต่ละท่อนจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านของทำนอง และจังหวะ แต่ละท่อนจะมีทำนองที่เปรียบเสมือนทำนองหลักของบทเพลงแฝงอยู่ ผู้ประพันธ์เรียกทำนองนี้ว่า ทำนองสุริยคราส ซึ่งเป็นการทำให้บทเพลงชุดมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยที่ผู้ประพันธ์ส่วนใหญ่ที่ประพันธ์บทเพลงประเภทนี้ บทเพลงจะมีลักษณะคล้าย ๆ กับการนำหลาย ๆ เพลงมารวมกัน แต่ในบทประพันธ์สุริยคราสนี้ จะแตกต่างจากโครงสร้างเดิมโดยใช้ทำนองหลักของบทเพลงเชื่อมบทเพลงทั้ง 4 ท่อนไว้ นอกจากนี้ในแต่ละท่อนผู้ประพันธ์ได้เลือกใช้เครื่องดนตรีที่นำเสนอแตกต่างกัน เพื่อให้ได้สีสันของเสียงหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงการใช้เทคนิคการซ้อนชั้นทำนอง เพื่อให้บทเพลงมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น บทประพันธ์นี้มีความยาวโดยรวมประมาณ 15 นาที แบ่งออกเป็น 4 ท่อน โดยที่ท่อนสุดท้ายจะมีความยาวมากกว่าท่อนอื่น ๆ เปรียบเสมือนบทสรุปของบทประพันธ์ชิ้นนี้&nbsp; The Eclipse, a symphonic poem for an orchestra, consists of 4 movements. Each movement has an individual characteristic such as melody and rhythm. This piece has a main melody that hides in all movements. Composer calls “Eclipse Melody” for this melody. It made more interesting in this piece. Most composers who compose a similar piece just like bringing many pieces into the piece. However, this piece uses a main melody for making a unique piece. In addition, the composer chooses to use the instruments presented differently. To get a variety of sound colors including using the stratification technique to make the song more interesting. This duration is approximately 15 minutes, divided into 4 movements. The last movement is the longest. It is a conclusion of the piece.</p> เจริญวิช รุจิรัสสวรวงศ์, ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9043 Wed, 24 Jan 2024 00:00:00 +0000 การบริหารจัดการกองถ่ายภาพยนตร์ในสถานการณ์ไม่ปกติ: กรณีศึกษาสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9044 <p>การจัดการกองถ่ายภาพยนตร์เป็นกระบวนการสำคัญในด้านการผลิตภาพยนตร์และสื่อที่ใช้การเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียง และเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติยิ่งทำให้การจัดการกองถ่ายเป็นกระบวนการสำคัญในการดำเนินกิจกรรมถ่ายทำให้เสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์และปลอดภัยสำหรับคนทำงาน โดยได้ศึกษาแนวทางและมาตรการการถ่ายทำของต่างประเทศจากบทความข่าวภาษาต่างประเทศที่เผยแพร่ทางออนไลน์ระหว่าง เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2563 โดยยกกรณีศึกษาจากประเทศไทย, ประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ, ประเทศสหรัฐอเมริกา, ประเทศไอซ์แลนด์ และประเทศออสเตรเลีย มาศึกษาและค้นพบว่าแนวทางในการจัดการกองถ่ายภาพยนตร์ประกอบไปด้วย 2 ประเด็นสำคัญได้แก่ 1. แนวทางป้องกันโรคช่วงเตรียมการก่อนถ่ายทำ (Pre-Production Period) พบว่าแนวทางของประเทศไทยบกพร่องในด้านการดูแลเรื่องสุขภาพร่างกายและจิตใจของทีมงาน 2. แนวทางปฏิบัติในการทำงานช่วงดำเนินการถ่ายทำภาพยนตร์ (Production Period) โดยแนวปฏิบัติของประเทศไทยขาดการให้รายละเอียดในแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และยังขาดแนวคิดการใช้เทคโนโลยีในการถ่ายทำโดยมีกรณีศึกษาคือประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการดำเนินการถ่ายทำแบบเวอร์ช่วล โปรดักชัน เพื่อลดความเสี่ยงในติดเชื้อโรคระหว่างการเดินทางและลดข้อจำกัดในการถ่ายทำภาพยนตร์&nbsp; The management of film production units is a crucial process in the filmmaking and media industry, which utilizes storytelling through both visuals and sound. When unforeseen events occur, managing the film production unit becomes even more critical in ensuring the completion of shooting activities in a thorough and safe manner for the working personnel. Researchers have studied international guidelines and measures for filmmaking based on online news articles published between April and June 2020. The study includes cases from Thailand, the United Kingdom, the United States, Iceland, and Australia. The research identifies two key aspects in film production management: 1. Pre-Production Period: Disease Prevention Measures During the pre-production period, it was found that Thailand's guidelines lacked in terms of taking care of the physical and mental health of the production team. 2. Production Period: Practical Guidelines in the production period, Thailand's practices were found to lack detailed guidelines for ethical practices and also lacked an approach towards incorporating technology in filmmaking. A case study from the United States highlighted the implementation of versatile production practices, including virtual production techniques, to reduce the risk of disease transmission during travel and alleviate constraints in filmmaking. In summary, the research emphasizes the importance of addressing health and well-being concerns during the pre-production phase and enhancing ethical practices and technology integration during the production phase in film production management.</p> มโน วนเวฬุสิต Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9044 Wed, 24 Jan 2024 00:00:00 +0000 การวิเคราะห์กลวิธีการขับร้องเพลงตับต้นเพลงฉิ่ง สามชั้น https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9045 <p>การใช้เพลงตับต้นเพลงฉิ่ง สามชั้นในการฝึกการร้องเพลงเพื่อเน้นการพัฒนาทักษะการร้องและเทคนิคการออกเสียง การแบ่งแยกวรรคและการเรียนรู้เทคนิคการร้อง มีการสร้างความเข้าใจและรู้เรื่องการขับร้องเพลงไทยเบื้องต้น เพลงตับต้นฉิ่งช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจการใช้เสียงและการหายใจในขณะขับร้องเพลงไทยอย่างถูกต้อง เพลงตับต้นฉิ่งมีลักษณะท่วงทำนองที่ง่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถฝึกทักษะการร้องเพลงไทยในขั้นตอนของการเรียนรู้การขับร้องเพลงไทย โดยเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจการใช้เสียงและหายใจ รวมถึงการแบ่งวรรคคำและการเอื้อนเสียงให้เกิดความสัมพันธ์กับการผ่อนลมหายใจในขณะขับร้อง ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ขั้นตอนการขับร้องเพลงไทย และช่วยในการนำเสนอเพลงที่ซับซ้อนเพื่อฝึกทักษะการร้องที่มีเทคนิคขั้นสูงขึ้น การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เพลงต่าง ๆ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจการประยุกต์ใช้ทักษะการขับร้องเพลงไทย&nbsp; Using the basic TubTon Pleng Ching SamChan Song in singing practice focuses on developing vocal skills and techniques, segmenting phrases, and learning additional singing techniques to deepen understanding of one's own singing proficiency in Thai music. It effectively introduces fundamental knowledge of Thai music, emphasizing proper vocalization and breath control while singing Thai songs. The basic Ching Pra chan Samchan song boasts a simple melodic structure, enabling students to practice Thai singing in subsequent stages of learning Thai music. It emphasizes understanding voice usage, breath control, phrase segmentation, and creating a relationship between vocal expression and controlled breathing during singing. It facilitates learning the steps involved in Thai song rendition and aids in presenting more intricate songs to enhance advanced singing skills. Comparisons and analysis of various songs aid students in applying their singing abilities effectively in the context of Thai music.</p> จันทนา คชประเสริฐ, จันทรา เนินนอก Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9045 Wed, 24 Jan 2024 00:00:00 +0000 การศึกษาการแสดงโขนคณะนายพิเชษฐ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9046 <p>บทความวิชาการนี้เป็นการถอดความรู้ของศิลปินและวิเคราะห์การแสดงโขนคณะนายพิเชษฐ กำกับการแสดงโดยนายพิเชษฐ กลั่นชื่น การออกแบบและสร้างสรรค์การแสดงโขนชุดนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงโขน ณ พิพิธภัณฑ์ The musée du quai Branly, Jacgues Chirac ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส 17-19 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยเปิดการแสดงให้ผู้ชมชาวไทยได้รับชมในวันที่ 4 มิถุนายน 2565 ณ ลานเครื่องบิน ช่างชุ่ย, กรุงเทพมหานครและจัดแสดง ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2566 การศึกษาครั้งนี้ผู้เขียนมีส่วนร่วมในการกำกับดนตรีประกอบการแสดงและทำหน้าที่ขับร้องจึงใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การจดบันทึกการทำงานและการสนทนากับผู้กำกับการแสดง นอกจากนั้นยังนำงานเขียนถอดความรู้จากการทำงานของผู้กำกับการแสดงบนสื่อออนไลน์เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์จึงพบว่า แนวคิดหลักในการกำกับการแสดงโขนคณะนายพิเชษฐคือ ความต้องการให้คุณภาพการแสดงโขนยังคงแนวทางตามแบบประเพณีแต่มุ่งเน้นการสร้างคุณภาพของนักเต้น การบรรเลงดนตรีและขับร้อง และการออกแบบท่ารำเพื่อสื่อสารกับผู้ชมร่วมสมัยโดยการรื้อมายาคติของตัวละคร การวิเคราะห์บท การตีความตัวละคร การจัดองค์ประกอบบนเวทีที่สามารถสร้างความหมายทำให้ผู้ชมรู้สึกและเข้าใจสถานการณ์ของเรื่องและตัวละครในขณะชมการแสดงโขน&nbsp; This article was an artistic knowledge extraction and performance analysis of the Khon production of Nai Pichet Khon's Troupe through the Khon directing of Pichet Klunchun. The creation and design of this production determined to perform at The musée du quai Branly, Jacques Chirac, France, during 17-19 November 2021, which was premiered for Thai audiences at Changchui, Bangkok on 4 June 2022, later performed for the Faculty of Arts 50th Anniversary Celebration at Chulalongkorn University, Bangkok on 17 June 2023. For this study, I participated in music direction and performed as a vocalist. I collected data through participant observation, note-taking, and in-depth discussions with the director. Moreover, I analyzed the online article of Pichet Klunchun, which shows that the core concept of Nai Pichet Khon's Troupe direction was to maintain the quality of traditional Khon while creating more quality Khon dancers. The accompaniment of music and Khon choreography, the deconstruction of the character’s myth, the script analysis and interpretation, the stage composition are for communication to the contemporary audiences which can enjoy in the moment while watching Khon's Performance.</p> ณัฏฐนันธ์ เอื้อศิลป์ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/music/article/view/9046 Wed, 24 Jan 2024 00:00:00 +0000