ภูมิปัญญาไทยในการดูแลบุตรป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงของมารดาที่มีบุตรอายุต่ำ กว่า 5 ปี เขตจังหวัดชลบุรี

Thai wisdom in care of mothers for the diarrheal children under 5 years in Chon Buri province

Authors

  • ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
  • มณีรัตน์ ภาคธูป
  • ตติรัตน์ สุวรรณสุจริต

Keywords:

ท้องร่วงในเด็ก, ชลบุรี, เด็ก, โรค, การดูแล, โรคท้องร่วงในเด็ก

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เรื่อง โรคอุจจาระร่วง พฤติกรรมในการดูแลบุตรเมื่อป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง และการเลือกใช้ ภูมิปัญญาไทย ในการดูแลบุตรป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงของมารดาที่มีบุตรอายุต่ำกว่า 5 ปี รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความรู้เรื่องโรคอุจจาระร่วงและพฤติกรรม ในการดูแลบุตรเมื่อป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง ของมารดาที่ดูแลบุตรด้วยวิธีการใช้ภูมิปัญญา แบบผสมผสานกับมารดาที่ดูแลบุตรด้วยวิธีการแพทย์สมัยใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่มีบุตร อายุต่ำกว่า 5 ปี ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงที่เข้ารับการตรวจรักษาในแผนกกุมารเวชกรรม จำนวน 241 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากโรงพยาบาลในจังหวัดชลบุรี จำนวน 5 แห่ง เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที  ผลการวิจัยพบว่า มารดากลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีความรู้เรื่องโรคอุจจาระร่วงโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 69.3) และมีพฤติกรรมในการดูแลบุตรป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง โดยรวมอยู่ในระดับดีปานกลาง (ร้อยละ 68.5) ส่วนวิธีการดูแลบุตรเมื่อป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง โดยใช้ภูมิปัญญาพบว่า เกินครึ่งหนึ่งมีการดูแลบุตรด้วยวิธีการใช้ภูมิปัญญาแบบผสมผสาน (ร้อยละ 57.3) ที่เหลือมีการดูแลบุตรด้วยวิธีการแพทย์สมัยใหม่ (ร้อยละ 42.7) โดยเกือบครึ่งหนึ่งของมารดาให้บุตรกินอาหารเหลว คือโจ๊ก (ร้อยละ 4 1.9) รองลงมาคือ น้ำต้มสุก น้ำแกงจืด และน้ำข้าวผสมเกลือ (ร้อยละ 32, 17 และ 10 ตามลำดับ) มีกลุ่มตัวอย่างส่วนน้อยที่ใช้ สมุนไพรในการรักษาบุตรป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง (ร้อยละ 7.2) โดยชนิดของสมุนไพรที่ใช้มาก ที่สุด คือใบฝรั่ง (ร้อยละ 23.3) รองลงมาเป็นเปลือกแค (ร้อยละ 16.7) เกือบครึ่งหนึ่ง ของกลุ่มตัวอย่างจะพาบุตรไป พบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ (ร้อยละ 42.3) หนึ่งในสี่ของกลุ่มตัวอย่างมีการใช้ผงเกลือแร่สำเร็จรูป (ร้อยละ 24.5) และมีเพียงส่วนน้อยที่ผสมเกลือแร่เองโดย ใช้น้ำผสมน้ำตาลใส่เกลือ (ร้อยละ 2.5) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างมารดาที่ดูแลบุตร ด้วยวิธีการใช้ภูมิปัญญาแบบผสมผสานกับมารดาที่ดูแลบุตรด้วยวิธีการแพทย์สมัยใหม่พบว่า มารดาทั้งสองกลุ่มนี้มีความรู้เรื่องโรคอุจจาระร่วง และพฤติกรรมในการดูแลบุตรเมื่อป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05)  ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่า การดูแลสุขภาพแบบผสมผสานโดยใช้ภูมิปัญญาไทยและ ภูมิปัญญาสากลเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมให้มากขึ้นทั้งในสภาวะปกติและในสภาวะเจ็บป่วย เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของประชาชน และพัฒนาองค์ความรู้ให้สอดคล้อง กับวิถีชีวิตวัฒนธรรมพื้นบ้านของท้องถิ่นอย่างแท้จริง  The purposes of this survey research were to examine maternal knowledge of the diarrheal disease, practice in care for their children infected with diarrhea, and Thai wisdom used in care for the infected children, and to compare knowledge and practice in care for the diarrheal children between mothers who used their combination between Thai wisdom and modern medicine. The multistage random sampling included 241 mothers of diarrheal children less than 5 years of age admitted in 5 hospitals at Chon Buri province. Data were collected by using questionnaires and interview. Descriptive statistics and independent t-test were performed to analyze the data.  The results revealed that most of mothers had adequate knowledge of diarrheal disease (69.3 %) and had moderate level of practice in care for their diarrheal children (68.5 %). More than half of the mothers (57.3 %) used their combination between Thai wisdom and modern medicine to take care of the children while 42.7 % used modern medicine. Among the mothers who chose the Thai wisdom to care for, they fed their children with liquid diet (porridge), boiled water, clear soup, and boiled-rice water with salt (41.9 %, 32 %, 17% and 10% respectively). Few (7.2 %) used Thai traditional herbs to treat the diarrheal children. Guava leaves was mostly used (23.3 %), followed by shells of Bignoniaceal trees (16.7 %). Among the mothers who chose modern medicine to care for, 42.3% immediately took their diarrheal children to a clinic or a hospital, 24.5 % used oral rehydration solution (ORS) powder, and 2.5 % used mixed oral rehydration therapy (ORT) by their own recipes (sugar and salt dissolved in boiled water). Moreover, the knowledge and practice in care for diarrheal children between group of mothers using combination method and those using modern medicine were not significantly different at .05 level.  The results suggested that the combination method of care should be encouraged in both healthy and illness situations. The care would have alternative for health-seeking behaviors. In addition, it would be developed in accordance with lifestyle and folk culture.

Downloads

Published

2022-03-15