ผลการใช้กระบวการกลุ่มร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป้วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน

The Effects of the combination between group process and social support on self-care knowledge and behavior in non insulin dependent diabetes mellitus patients in Bothong District, Chonburi

Authors

  • สุนทรา พรายงาม
  • ฉันทนา จันทวงศ์
  • เพียงใจ สัตยุตม์

Keywords:

เบาหวาน, พฤติกรรมสุขภาพ, การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวาน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการใช้ กระบวนการกลุ่มร่วมกับแรงสนับสนุนทาง สังคมต่อความรู้พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินสุลิน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่มีภูมิลำเนา อยู่ในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน มีอายุระหว่าง 40-65 ปี รักษาโดยวิธีการรับประทานยาเบาหวาน มีระยะเวลาการเป็นโรค 1-5 ปี ทำการจับคู่กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมด้วยอายุและระยะเวลาการเป็นโรค เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ความรู้และ พฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนและหลังการทดลอง ดำเนินการทดลองกับกลุ่มทดลอง 3 ครั้ง ครั้งละ 1.30 ชั่วโมง โดยการจัดกิจกรรมกระบวนการกลุ่ม และการให้ผู้ดูแลให้การสนับสนุนทางสังคม กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติจากคลินิกเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ผลการใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับ แรงสนับสนุนทางสังคม ทำให้กลุ่มทดลองมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  The purpose of this research was to study the effects of combination between group process and social support on self-care knowledge and behavior in non-insulin dependent diabetes mellitus patient, in Bothong district, Chonburi. The sample consisted of non-insulin dependent diabetes mellitus patients, 40-50 years of age, who had taken medicines and had been a patient for 1-5 years. They were divided into a control group (30 patients) and an experimental group (30 patients) selected by age and duration of sickness combinations (30 patients) Data were collected by interview self-care knowledge and behavior at pre and post experiment. The statistics used for data analysis were percentages, means, standard deviation, student t-test, and ANCOVA.  The results of this student show that the experimental group had higher scores on self-care knowledge and behaviors with the statistical significance (p <.05). In addition to this, the experimental group decreased levels of blood glucose with statistical significance  (p <.05). The result of this research, can be used as a guideline to develop knowledge for health and managerial personal in health care services for diabetes mellitus patients.

Downloads

Published

2022-03-15