ผลการดำเนินงานโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขเพื่อรองรับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจังหวัดนครสวรรค์

The Effect of Health Care Reform Project for Supporting Diabetis Mellitus and Hypertension patient in Nakhonsawan Province

Authors

  • เจิมจันทร์ เดชปั้น

Keywords:

การบริหารสาธารณสุข, การปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข, นครสวรรค์, เบาหวาน, ความดันเลือดสูง, ผู้ป่วย, การดูแล

Abstract

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาระบบบริการสาธารณสุข ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในเขตอำเภอเมือง เก้าเลี้ยว และโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นไปตามระบบบริการแบบอุดมคติ ประกอบด้วยด้านความเท่าเทียมกัน (Equity) ด้านคุณภาพบริการ (Quality) ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) และด้านสังคม มีส่วนร่วม (Social Accountability) รูปแบบเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการระยะเวลาดำเนินการปีงบประมาณ 2543-2545 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบเก็บข้อมูลและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pair T-test  ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านความเท่าเทียมกัน ทุกสถานบริการในพื้นที่ ได้รับการพัฒนาบุคลากร มีและใช้มาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงที่เป็นแนวทาง เดียวกันส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลศูนย์สู่โรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัย และผู้ป่วยได้รับการคัดกรอง และขึ้นทะเบียนเพื่อรักษาและติดตามมากขึ้น 2) ด้านคุณภาพบริการ ผู้ป่วยไม่มาตรวจตามนัดลดลง ทำให้มีจำนวนครั้งที่มารับบริการต่อปีเพิ่มขึ้น ผลของความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก สองในสามอำเภอพบภาวะแทรกซ้อนเริ่มลดลง ร้อยละของผู้ป่วยใน ต่อผู้ป่วยนอกลดลงและจำนวนวันพักค้างโรงพยาบาลลดลง 3) ด้านประสิทธิภาพ ร้อยละผู้ป่วยในต่อผู้ป่วยนอกลดลง จำนวนวันพักค้างเฉลี่ยในโรงพยาบาลลดลง สำหรับค่าใช้จ่ายบริการของโรงพยาบาลและผู้ป่วยไม่ลดลง ซึ่งมาจากการขาดนัดที่ลดลง 4) ด้านสังคมมีส่วนร่วม ผู้ป่วยมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับดีมากขึ้น มีการจัดกลุ่มช่วยเหลือตนเอง (Self Help Group) ซึ่งมีส่วนเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดี และในระยะยาวน่าจะส่งผลในการลดภาวะแทรกซ้อนของโรค  This action research study aimed at developing public health service system to support Diabetis Mellitus (DM) and Hypertension (HT) patients under the key principle of reforms, defining as achieving the goal of equity, quality, efficiency and social accountability, during 2000-2001. The study areas are at in Maung, Kau and Krok Pra District in Nakhonsawan Province by using structured questionaires and systemic interview for data collections. The percentage, mean, standard deviation, and paired t-test were used to analyse data.  The finding of the study, regarding the health care reform principles included.; 1) Equity : All of Healthcare facilities in every level under the project used the same standard practice guideline of DM and HT patients. Non-doctors were trained for chronic care, especially for DM and HT treatment and care. Effective referral system between regional, community hospitals and primary care units was established. Targeted patients were registered, early detected for complications and follow up for providing proper long-term treatment and care. 2) Quality : Loss follow up cases decreased. The level of glycermic blood sugar and blood pressure of Patient decreased and reached the clinical standards. Patients living in two districts were found less cardiovascular complications. Admission rate and hospital stay lengths decreased. 3) Efficiency : Proportion of in-patient and out-patient decreased. Average admission day was lower, whereas the number of patients and their expenditure were stable. This could be the rising visits per year of the previous loss-follow up cases. Patients gained knowledge and attitude for promoting their appropriate health behaviors. This led to the improvement of their self care with the supports of self Health Group Programme.

Downloads

Published

2022-03-15