ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกในชีวิตของผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมียที่บ้านในเขตภาคตะวันออก

Factors Influencing Well-Being of Thalassemic Children’s Caregivers at Home in the Eastern Region

Authors

  • สุพัฒศิริ บุญยะวัตร ร.อ.หญิง
  • รัชนี สรรเสริญ

Keywords:

ธาลัสสีเมียในเด็ก, ผู้ดูแลเด็ก, เด็ก, การดูแล, ผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมีย, ภาระในการดูแล, ความผาสุกในชีวิต

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกในชีวิต ของผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมียที่บ้าน ในเขตภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมีย ในเขตภาคตะวันออก จำนวน 170 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีอาศัยความน่าจะเป็น ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ ที่ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบวัดภาระในการดูแล แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดความผาสุกในชีวิตของผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมีย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression)  ผลการวิจัยพบว่า  1. ผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมีย ในเขตภาคตะวันออก มีภาพรวมของความผาสุกในชีวิต อยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางมาก เมื่อแยกตามรายด้านพบว่า ผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมีย มีความผาสุกในชีวิตในด้านความเปราะบางของครอบครัวอยู่ในระดับมาก ด้านโครงสร้างครอบครัว และด้านการดำเนินบทบาทอยู่ในระดับปานกลาง ภาระในการดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมีย มีภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมีย มีภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางมาก 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุก ในชีวิตของผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมีย แต่ไม่สามารถททำนายความผาสุกในชีวิตของผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมีย ได้แก่ ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ ทางบวกกับความผาสุกในชีวิต ของผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมีย (r = .207, p< .05) ภาระในการดูแลมีความสัมพันธ์ทางลบ กับความผาสุกในชีวิตของผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมีย (r = -.151, p< .05) จำนวนครั้งของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์ ทางลบกับความผาสุกในชีวิตของผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมีย (r = - .135, p<. 105) ปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกในชีวิต ของผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมีย ได้แก่ ระยะเวลาในการดูแล 3. การสนับสนุนทางสังคม สามารถทำนายความผาสุก ในชีวิตของผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมียได้ร้อยละ 22.8 (R2= .228, p<.05) และพบว่าการสนับสนุนทางสังคมและ ระดับความรุนแรงของโรค เป็นปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายความผาสุกในชีวิตของผู้ดูแล เด็กโรคธาลัสซีเมียเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25.8 (R2 = .258, p< .05) ซึ่งสามารถเขียนสมการ ทำนายความผาสุกในชีวิตของผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมียที่บ้าน ในเขตภาคตะวันออกในรูปแบบ คะแนนมาตรฐานได้ดังนี้                    ความผาสุกในชีวิต = .484 (การสนับสนุนทางสังคม) - .174 (ระดับความรุนแรงของโรค)  The purpose of the research was to study factors predicting well-being in Thalassemic children's caregivers at home in the Eastern region. A multistage random sampling method was used to recruit a 170 samples in this region. The research instrument consisted of demographic form, caregiving burden scale, social support and questionnaire on well-being of children's caregivers. The data were collected during April 22 to June 17, 2003. Stepwise multiple regression was employed to analyze the data. The results of the study were as follows:  1. The overall well-being of children's caregivers in the Eastern region was likely rated from the medium high level when classified aspect by aspect, it revealed that the family structure was at the medium level, the family role process was at the medium level, and the family vulnerability was at the high level.  2. Factors that related to the well-being in Thalassemic of children's  caregivers but unable to predict their well-being were the level of education which was a positive relativity factor (r = .207, p< .05), the caregive's burden which was a negative relativity factor and the number of admitting into the hospital care which was also the negative relativity factor to the well-being in Thalassemic of children's caregivers. Factor that was not related to the wellbeing in Thalassemic of children's caregivers was the duration of caregiving.  3. Social support was able to predict the well-being in Thalassemic of children's caregivers at the percentage of 22.8 (R2 = .228, p< .05). It could be founded that the social support and the violent level of Thalassemic disease were the joint factors that increasing in the prediction the well-being of Thalassemic children's caregivers in the Eastern region, at 25.8% (R2 = .258, p< .05) To predict the the well-being of Thalassemic children's caregivers, the formula could be formed in the terms of the standard score as follows :              The well-being = .484 (Social support) - .174 (The violent level of Thalassemic disease)

Downloads

Published

2022-03-15