ผลการจัดการกับอาการร่วมกันระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยโรคแผลเป็ปติคหรือ กระเพาะอาหารอักเสบต่อการรับรู้ภาวะสุขภาพ ระดับการรบกวนชีวิตและความพึงพอใจการรับบริการโรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี

Effects of Nurse-Patient Collaborative Intervention of Symptom Management on Perception of Health, Levels of Life Disturbance and Patient Satisfaction for Patients with Peptic Ulcer or Gastritis in Chonburi Regional Hospital

Authors

  • สุวรรณี มหากายนันท์
  • ทัศนีย์ วรภัทรากุล
  • วริยา วชิราวัธน์

Keywords:

แผลเพ็ปติก, กระเพาะอาหารอักเสบ, กระเพาะอาหาร, โรค, ความพอใจของผู้ป่วย, พยาบาลกับผู้ป่วย, บุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วย

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัด ก่อน-หลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดการกับอาการร่วมกันระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยโรคแผลเป็บติคหรือกระเพาะอาหารอักเสบ และเพื่อศึกษาประสบการณ์อาการ และการจัดการกับอาการของผู้ป่วยดังกล่าว ณ โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคแผลเป็บติคหรือกระเพาะอาหารอักเสบ จำนวน 29 ราย ได้รับเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ เก็บข้อมูลในช่วงเมษายน-กรกฎาคม 2546 ดำเนินการทดลองโดยผู้ป่วยและพยาบาล ได้ร่วมกันจัดการกับอาการและติดตามประเมินผลทุก 2 สัปดาห์ ติดต่อกันรวม 3 ครั้ง โดยใช้แบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาวะสุขภาพ ระดับการรบกวนชีวิต ความพึงพอใจในการรับบริการ และแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับประสบการณ์อาการและการจัดการกับอาการตนเองของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่าง มีระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพและระดับ ความพึงพอใจในการรับบริการเพิ่มขึ้น และระดับการรบกวนชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านประสบการณ์อาการ และการจัดการกับอาการ การเกิดโรคแผลเป็บติคหรือกระเพาะอาหารอักเสบพบว่า 1)  กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ความไม่สุขสบาย ด้านจิตอารมณ์ ร้อยละ 37.9 มากกว่าด้านร่างกาย ร้อยละ 30.9 แต่มีวิธีการจัดการกับอาการด้านจิตอารมณ์น้อยกว่า ร้อยละ 3.45 ด้านร่างกายร้อยละ 6.90 - 37.9 2) ปัจจัยการเกิดโรคแผลเป็บติคหรือกระเพาะอาหารอักเสบ ที่กลุ่มตัวอย่างรับรู้มากที่สุด 2 อันดับแรก คือ การไม่ ปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์ ร้อยละ 100 และการดื่มสุราหรือการสูบบุหรี่ ร้อยละ 86.2 ส่วนปัจจัยที่ขาดการรับรู้มากที่สุด 2 อันดับแรก คือ การไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ 69 ความเครียดและการจัดการกับความเครียดที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 59.6 3) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.8 รับรู้ว่าการรับประทาน อาหารไม่ถูกต้องเป็นปัจจัยต่อการเกิด โรคแผลเป็บติคหรือกระเพาะอาหารอักเสบ แต่ปฏิบัติไม่ถูกต้องมากที่สุด ร้อยละ 95.6  The purposes of this quasi-experimental study were to evaluate the effects of nurse-patient collaborative intervention of symptom management on perception of health, levels of life disturbance and patient satisfaction and to study symptom experiences and symptom management in patients with peptic ulcer or gastritis. A one group pretest-posttest design was implemented with 29 out patients who met inclusion criteria. In the program, nurses and patients collaboratively managed symptoms of peptic ulcer or gastritis at OPD and home every two weeks for three times. Perception of health, levels of life disturbance and patient satisfaction were measured. Data were analyzed using descriptive statistics, paired t-test, and content analysis. The results revealed that the perception of health and patient satisfaction increased significantly (p < .01), whereas the levels of life disturbance significantly declined (p < .01). Concerning symptom experience and its management, three interesting findings were found. 1) Participants suffered from psycho-emotional (37.9%) more than physical symptoms (30.9%). However, they reported that physical symptoms (6.90-37.9%) were managed more than psycho-emotional symptoms (3.45%). Secondly, Participants reported the two most known factors related to relapsing of peptic ulcer or of gastritis symptom were nonadherence with treatment (drugs and followed up schedule) (100%). and the use of alcohol and cigarette (86.2%). Two most unknown factors related to relapsing of peptic ulcer or gastritis were lack of exercise (69%) and stress (59.6%). Thirdly, Most of subjects perceived healthy eating behavior (82.8%), but cannot do it well (95.6%).

Downloads

Published

2022-03-16