ปัจจัย เสี่ยงและปัจจัยเกื้อที่มีอิทธิพลต่อการทำหน้าที่ครอบครัวของมารดาทารกคลอด ก่อนกำหนด

Risk and Protective Factors Affecting Family Functioning in Mothers With Preterm Infants

Authors

  • อัจฉโรบล แสงประเสริฐ
  • จินตนา วัชรสินธุ์
  • มณีรัตน์ ภาคธูป

Keywords:

การคลอดก่อนกำหนด, ทารกคลอดก่อนกำหนด, มารดาและทารก, การเป็นมารดา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยเกื้อที่มีอิทธิพลและร่วมทํานายการทําหน้าที่ครอบครัวของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด โดยปัจจัยเกื้อที่ศึกษาได้แก่ รายได้ของครอบครัว การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกขณะอยู่ในโรงพยาบาล สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมทารก ปัจจัยเสี่ยงที่ศึกษา ได้แก่ ความเครียดของการเป็นมารดา กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด อายุ 2-4 เดือน และพาทารกมาตรวจที่แผนกตรวจสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ และศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไปของมารดาและทารก แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของมารดาในการ  ดูแลทารกขณะอยู่ในโรงพยาบาล แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมทารก แบบประเมินการทำหน้าที่ครอบครัว และแบบสอบถามความเครียดของการเป็นมารดา สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ  ผลการวิจัยพบว่ามารดาที่มีทารกคลอด ก่อนกำหนดมีการทำหน้าที่ครอบครัวอยู่ใน ระดับปานกลาง ปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่าง คู่สมรสและด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พฤติกรรมทารกมีอิทธิพลและสามารถร่วมทำนายการทำ หน้าที่ครอบครัวของมารดาทารกคลอดก่อนกำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวน ของการทำหน้าที่ครอบครัวของมารดาทารกคลอดก่อนกำหนด ได้ร้อยละ 33 The objective of this research was to study risk and protective factors affecting family functioning of mothers with preterm infants. Protective factors were the family income, participation of mothers in preterm infant care, at the hospital, marital relationship, and the knowledge about infant behaviors. The risk factor was the maternal stress. The sample consisted of 100 mothers with preterm infants at 2-4 months old who attended the well-baby clinic Sawanpracharak Hospital and the Center for Health Promotion of Mothers and Infants, Nakhon Sawan Province. The employed research instrument were questionnaires including personal data of the mothers and Infants, participation of the mother in preterm infant care, marital relationship, knowledge about infant behaviors, maternal stress, and family functioning. The percentage, mean, standard deviation, Pearson product- moment correlation, and multiple regression analysis were used to analyse data. The result showed that family functioning of the mothers was a moderate level. The factors including marital relationship and knowledge about infant behaviors significant influenced family  functioning of the mothers at the .05 level. The two factors were able to explain the variance of family functioning of mothers with preterm infants at 33%.

Downloads

Published

2022-03-16