การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคในการดูแลสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ของสตรีวัย เจริญพันธ์

Perceived Benefits and Barriers of Preconception Health Care among Reproductive Females

Authors

  • นวลอนงค์ หล่อดี
  • พรรณพิไล ศรีอาภรณ์
  • สุกัญญา ปริสัญญกุล

Keywords:

สตรี, สุขภาพและอนามัย, การส่งเสริมสุขภาพ, การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง, ครรภ์, สตรีวัยเจริญพันธ์ุ

Abstract

          การดูแลสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ เป็นการส่งเสริมให้สตรีมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ การศึกษาเชิงพรรณาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ประโยชน์ และอุปสรรคในการดูแลสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ของสตรีวัยเจริญพันธุ์อายุระหว่าง 18-35 ปี จำนวน 225 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดรวบรวมข้อมูลระหว่างกันยายน ถึง พฤศจิกายน พ.ศ.2551 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ และแบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคในการดูแลสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของเบคเกอร์ และการทบทวนวรรณกรรม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การรับรู้ประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค และการลดปัจจัยเสี่ยง อยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน 2) กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้อุปสรรคในการดูแลสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ของสตรีวัยเจริญพันธุ์อยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การรับรู้อุปสรรคในเรื่องเวลาที่มีจำกัด และความไม่สะดวกในการเข้ารับบริการในคลินิกเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ อยู่ในระดับปานกลาง ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาลผดุงครรภ์ในการวางแผนจัดให้บริการการดูแลสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์เพื่อส่งเสริมให้สตรีวัยเจริญพันธุ์มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป  Preconception health care in reproductive females is considered to promote health and reduce risk factors affecting growth and development of fetuses. The purpose of this descriptive study was to examine the perception of benefits and barriers of preconception health care among reproductive females. The subjects consisted of 225 females aged between 18-35 years selected by purposive sampling. Data were collected during September to November, 2008. The research instruments consisted of the Demographic Data Recording Form, Perceived Benefits of Preconception Health Care Questionnaire and Perceived Barriers of Preconception Health Care Questionnaire which were developed by the researcher based on the Health Belief Model (Becker, 1974) and reviewed literature. The reliability of the Perceived Benefits of Preconception Health Care Questionnaire and the Perceived Barriers of Preconception Health Care Questionnaire were tested using Cronbach’s alpha coefficient and results were .85 and .97 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, which were percentage mean and standard divination.  The results of this study showed that : 1) The subjects had mean score of perceived benefits of preconception health care at a high level. Considering each aspect, perceived benefits of health promotion, perceived benefits of disease prevention, and perceived benefits of reduced risks for pregnancy were also at a high level. 2) The subjects had mean score of perceived barriers of preconception health care at a moderate level. Considering each aspect, perceived barriers of limited time and inconvenient to use of preconception health care service were also at a moderate level.     The findings of the study provide a basic foundation for nurse midwives to use in planning preconception health care services to promote healthy behaviors among reproductive females.

Downloads

Published

2021-12-08