การพัฒนาความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง โดยการให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริง

Happiness Development of the Third year Mathayomsuksa Students from Divorced Families through Reality Group Counseling

Authors

  • ปาริชาติ วงษ์แก้ว ระพินทร์ ฉายวิมล
  • เพ็ญนภ กุลนภาดล
  • ระพินทร์ ฉายวิมล

Keywords:

ความสุข, นักเรียนมัธยมศึกษา, สุขภาพจิต, การหย่า, การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง โดยการให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแห่งหนึ่งในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดชลบุรี จำนวน 20 คน ที่มีคะแนนความสุขต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ลงมา สุ่มให้เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความสุขของเด็กที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง และโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริง ผู้วิจัยดำเนินการทดลองการให้คำปรึกษากลุ่มจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองสองตัวประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ แบ่งการวัดคะแนนออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีนิวแมนคูลส์  ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสุขในระยะหลังการทดลองและ ระยะติดตามผลแตกต่างจากระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสุขแตกต่างจากนักเรียนในกลุ่มควบคุม ในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับครู อาจารย์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักเรียนที่มาจากครอบครัวหย่าร้างเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข  This research aimed to develop the happiness in the third year Mathayomsuksa students from divorced families through reality group counseling. The samples composed of 20 divorced students who were studying in a school in Chonburi Educational Service Area Office 1. The samples had happiness score less than 25th percentile. The random sampling method was adopted to assign samples into two groups : an experimental group and a control group with ten members in each. The instruments were the measurement test of happiness among divorced students and the reality group counseling. The intervention was administered for 10 sessions. Each session lasted about 60 minutes. The research design was two-factor experimental with repeated measures on one factor. The study was measured in 3 stages : the pre-test stage, the post-test stage and the follow-up stage. The data were analyzed through repeated measure analysis of variance : one between-subject variable and one within-subject variable, and  pair differences among means were tested by the Newman-Keuls Procedure.  The results revealed that the levels of happiness in the experimental group in the post-test stage and the follow-up stage were significantly different at .05 level from that of the pre-test stage. The third year Mathayomsuksa students in the experimental group and the control group had significantly different means of happiness score at .05 level when measured in the post-test stage and the follow-up stage.  The findings can be used as a guide for the teacher in counseling and taking care of students from divorced families for living happily in daily life.

Downloads

Published

2021-12-08