ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่มีต่อความเครียดของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

The Effect of Cognitive Behavior Modification Group Counseling Program on Stress among the first Year Nursing Students in Faculty of Nursing, Burapha University

Authors

  • นฤมิตร์ รอดโสภา
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์

Keywords:

การให้คำปรึกษา, การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม, นักศึกษาพยาบาล, สุขภาพจิต, ความเครียด (จิตวิทยา), การปรับพฤติกรรม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล ของโปรแกรมการให้คําปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญาต่อการลดความเครียด ของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี จํานวน 20 คน ที่มีคะแนนความเครียดตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ขึ้นไป สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัด ความเครียดของนิสิตพยาบาล และโปรแกรมการให้คําปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา ผู้วิจัยดําเนินการทดลองการให้คําปรึกษากลุ่มจํานวน 10 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที ทําการประเมินความเครียด ใน 3 ระยะ คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และติดตามผล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีนิวแมนคูลส์  ผลการศึกษาพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตพยาบาลในกลุ่มทดลอง มีคะแนนความเครียดแตกต่างจากกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตพยาบาลในกลุ่มทดลองมีคะแนนความเครียดในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลแตกต่างจากระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05  This study aimed to test the effect of cognitive behavior modification group counseling program on stress among 1st year nursing students in Faculty of Nursing, Burapha University. The sample consisted of twenty nursing students whose stress scores ranked in and above the 75th  percentile. Simple random sampling method was employed to assign students into experimental (n=10) and control (n=10) groups. The instruments were stress questionnaire and the cognitive behavior modification group counseling program. The program was administered for 10 sessions, 90 minutes for each session. Stress was assessed in 3 phases : pre post, and follow-up phases. ANOVA repeated measures, and the Newman- Kuels procedure were employed to analyze the data  The results revealed that there was a statistically significant interaction between the method and the duration of the experiment At post-test and follow-up phrases, the mean scores of stress among nursing students in the experimental and the control groups were significantly different (p <.05). The mean scores of stress among nursing students in the experimental group at post-test and follow-up phases were significantly different from the pre-test phase (p<.05).

Downloads

Published

2021-12-08