ผลของการสร้างเสริมความสามารถแห่งตนต่อการเป็นผู้นำการออกกำลังกายด้วยยางยืดเพื่อป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเหมือง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

The Effect of Self Efficacy Development for Elastic Band Exercise Instructors for Hypertension Prevention and Control in Village Health Volunteers, Tambon Mhuang, Muang District, Chonburi Province

Authors

  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • สุรีพร แสงสุวรรณ
  • ประไพศรี แสงชลินทร์
  • ธวัช วิเชียรประภา
  • เจนวุฒิ ถนอมสัตย์
  • ธนวรรณ โรจนโสดม

Keywords:

การออกกำลังกาย, ความดันเลือดสูง, การป้องกันและควบคุ, อาสาสมัครสาธารณสุข, อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน, อสม., การออกกำลังกายด้วยยางยืด

Abstract

การศึกษากึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสร้างเสริมความสามารถแห่งตนต่อ การเป็นผู้นํา (ผู้สอน) การออกกําลังกายด้วยยางยืดเพื่อป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงของ  อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน ตําบลเหมือง อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ศึกษาในกลุ่มของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ที่ทําการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) 1 หมู่บ้าน ตําบลเหมือง อําเภอเมืองชลบุรี ได้กลุ่มตัวอย่าง 15 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการสร้างเสริมความสามารถแห่งตนในการเป็นผู้นํา โดยประสบการณ์ของตัวแบบ ฝึกปฏิบัติการออกกําลังกายด้วยยางยืดจนทําได้ กําหนด เป้าหมายการทํางาน และวิธีการกํากับติตตามตนเองหลังจากนั้นได้ไปสอน แนะนํา กํากับ ให้ผู้ป่วย และประชาชนผู้เสี่ยงต่อการเป็นกาวะความดันโลหิตสูง ในพื้นที่ความรับผิดชอบของอสม.กลุ่มตัวอย่าง ได้การออกกําลังกายด้วยยางยืดเพื่อป้องกันและควบคุม ภาวะความดันโลหิตสูงตลอดระยะเวลา 4 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัดความรู้ การรับรู้ความสามารถแห่งตน และพฤติกรรมการเป็นผู้นํา การออกกําลังกายด้วยยางยืดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิความเที่ยงของครอนบาชเท่ากับ .56 .95 และ .97 ดามลําดับ ทําการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความสามารถแห่งตน และพฤติกรรมการเป็นผู้นําการออกกําลังกายด้วยยางยืดก่อนและหลังการทดลอง ด้วยสถิติ วิลคอกสัน (Wilcoxon signed ranks test)  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างหลังได้รับการสร้างเสริมความสามารถแห่งตนต่อการเป็นผู้นําการออกกําลังกายด้วยยางยืด เพื่อป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง มีค่าเฉลี่ยความรู้ในการออกกําลังกายด้วยยางยืด การรับรู้ความสามารถแห่งตน และพฤติกรรมการเป็นผู้นําการออกกําลังกายด้วยยางยืดหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลองอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05  The purpose of this quasi-experimental research design was to study the effect of self efficacy of elastic band exercise instructors for hypertension prevention and control in village health volunteers. The samples consisted of fifteen village health volunteers, who were selected by cluster random Stumbling 1 village, from Tambon Mhuang, Maung Distric, Chonburi Province, Thailand, and who agreed to be the subjects. The samples took the self efficacy development of elastic band exercise instructors for hypertension prevention and control consisted of modeling experience, successful practice, setting goals of work, and self direction planning. Then, they teached, guided, and monitored people who were ill and risk of the hypertension in the area of their responsibility over a 4 week period. The data was collected by self direction answer questionnaires about knowledge, perceived self efficacy, and elastic band exercise instructors behavior that were developed by the researchers, that Cronbach's alpha coefficient were 56, 95, and 97 respectively. Data was analyzed by descriptive statistical analysis and comparison pre-post test of the knowledge, perceived self efficacy, and behavior mean by Wilcoxon signed ranks test. The results of the study showed that the samples had the mean score of the knowledge about elastic band exercises, perceived self efficacy and behavior of elastic band exercise instructors was higher than before participating in the self efficacy development with a statistically tistically significant level of .05

Downloads

Published

2021-12-08