ผลของการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยใช้ สื่อเพลงหมอลำ
The effects of using MOH LUM folk songs for providing health education
Keywords:
เบาหวาน, ผู้สูงอายุ, โรค, ผู้ป่วย, การดูแลAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบความรู้และการปฏิบัติตนในการ ดูแลสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุ โรคเบาหวาน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพ โดยบุคลากรทีมสุขภาพของโรงพยาบาลตามปกติ กับกลุ่มที่ใช้สื่อเพลงหมอลําเสริมการให้ความรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุโรค เบาหวานกลุ่มทดลอง 30 คนและกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ความรู้และการปฏิบัติตนในการ ดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที (independent t-test) และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนของตัวแปรพหุนามแบบวัดซ้ำ (Repeated measure analysis of variance) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน กลุ่มที่ได้รับความรู้โดยใช้สื่อหมอลําเสริมมีความรู้ และการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพ หลังการให้ความรู้เสร็จสิ้นทันที และสองสัปดาห์ ดีกว่าก่อนการให้ความรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ และการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุ โรคเบาหวานหลังการให้ความรู้เสร็จสิ้นทันที และสองสัปดาห์ของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน ทั้งสองกลุ่มพบว่ากลุ่มที่ใช้สื่อเพลง หมอลําเสริมการให้ความรู้ มีความรู้และการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพหลังการให้ความรู้ ได้ทุกช่วงเวลา ดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purpose of the study was to compare knowledge and practice in diabetic older adult patients. MOH. LUM folk songs and lecture training were employed in this study. The sample consisted of sixty diabetic older adult patients. The subjects were divided into two groups. One served as the control group and the other served as an experimental group. The experimental group received knowledge through MOH LUM folk Songs while the control group received contine care. The researcher collected data by using questionnaires. The analysis of data was done to establish the frequency, percentage, mean, standard deviation, a t-test and repeated measures analysis of variance. The results of the study showed that the post-test scores of knowledge and practice about health care in the experimental group during the seventh day and two weeks after listening were better than before using MOH LUM folk songs at a .05 level of significance. Knowledge and practice scores in the experimental group collected during the seventh day and two weeks later were significant showing a. 05 difference in theDownloads
Published
2022-03-30
Issue
Section
Articles