ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพที่บ้านต่อการรับรู้ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ

Effects of Home Health Care Program on Perceived Health Status, Self-Care Behaviors and Blood Pressure in the Essential Hypertension Patients

Authors

  • นภารัตน์ ธราพร
  • รัชนี สรรเสริญ
  • จินตนา วัชรสินธุ์

Keywords:

การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง, ความดันเลือดสูง, ผู้ป่วย, การดูแล

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม การดูแลสุขภาพที่บ้านโดยประยุกต์ทฤษฎี ความสําเร็จตามจุดมุ่งหมายของคิงต่อการรับรู้ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง  และค่าความดันโลหิต ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ที่มารับการรักษาที่คลินิคโรคความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จํานวน 50 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จํานวน 25 คน เป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการดูแลสุขภาพที่บ้าน โดยประยุกต์ทฤษฎีความสําเร็จตามจุด มุ่งหมายของคิง และกลุ่มควบคุม จํานวน 25 คน เป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบริการ สุขภาพตามปกติที่โรงพยาบาล ระยะเวลาดําเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน 2545 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ คู่มือการดําเนินงานการดูแลสุขภาพ ที่บ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง คู่มือการดูแล สุขภาพตนเองที่บ้านของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เครื่องวัดความดันโลหิตและหูฟัง ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ส่วนที่ 1 แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 แบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาวะสุขภาพและส่วนที่ 3 แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Chi-square test, paired t-test และ independent t-test  ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการดูแลสุขภาพที่บ้าน ตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของคิง มีการรับรู้ภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการดูแลสุขภาพที่บ้าน และดีกว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบริการสุขภาพตามปกติที่โรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนค่าความดันโลหิต กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการดูแลสุขภาพที่บ้านตามทฤษฎีความสำเร็จ ตามจุดมุ่งหมายของคิง ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการดูแลสุขภาพที่บ้าน และต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบริการสุขภาพตามปกติที่โรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001  The purposes of this quasi-experimental study were to examine the effects of home, health care program with the applications of King's theory of goal attainment on perceived health status, self-care behaviors and blood pressure in the essential hypertension patients.  Data were collected from 50 essential hypertension patients, at out patient department, Chawang Crown Prince Hospital during March to April, 2002. The samples were randomly selected into experimental and control groups with 25 patients in each group. The experimental group received the home health care program. The control group received routine services program. Both groups took 8 weeks for the experiment (between March-April 2002). The instruments used in the experiment consisted of home health care program, handbook of hypertension patients for self care at home, sphygmomanometer and stethoscope. Demographic data, perceived health status, and self-care behaviors questionnaires were used for collecting the data BUV Descriptive statistics, Chi-square test, t-test were conducted for the data analysis.  The results revealed that the essential hypertension patients receiving the home health care program had significantly higher scores of the perceived health status and self-care behaviors than those got before the experiment and those got from the group receiving in the routine services program (p < .001). Conversely, the subjects who participated in the home health care program had significantly lower blood pressure than what they had before the experiment and those of the group participating in the routine services program (p < .001)

Downloads

Published

2022-03-30