ผลการเสนอตัวแบบผ่านนิทานโดยใช้สื่ออุปกรณ์ที่มีต่อสุขนิสัยเด็กปฐมวัย

Effect of storytelling modeling method by using instructional medias on early childhood health habits

Authors

  • จารุณี ทรัพย์ประเสริฐ
  • ปิยะธิดา ขจรชัยกุล
  • พูนสุข ช่วยทอง
  • โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์

Keywords:

นิทาน, พฤติกรรมสุขภาพ, สุขภาพ, เด็ก, สุขภาพและอนามัย, เด็กปฐมวัย

Abstract

งานวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการเสนอตัวแบบผ่านนิทานสร้างเสริมสุขนิสัยโดยใช้สื่ออุปกรณ์ในเด็กปฐมวัย โดยนําแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูรามาเป็นหลักในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือเด็กอายุ 4-5 ปี ที่กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล ในเขตอําเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี จํานวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 32 คน กลุ่มทดลอง ได้รับกิจกรรมการเล่านิทานสร้างเสริมสุขนิสัยโดยใช้สื่ออุปกรณ์ โดยผู้วิจัยเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านนิทาน ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยกําหนดขึ้นที่โรงเรียน จํานวน 12 กิจกรรม เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบ จะได้รับการเรียนการสอนตามหลักสูดรปกติที่โรงเรียนจัดให้ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามมารดาเกี่ยวกับการปฏิบัติสุขนิสัยของเด็กปฐมวัย แบบประเมินสุขนิสัย ในเด็กปฐมวัยและแบบสังเกตพฤติกรรมสุขนิสัยเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ ทดสอบค่าที  ผลการวิจัยพบว่า ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล เด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลองมีผลต่าง  ของคะแนนเฉลี่ยสุขนิสัยสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) จากผลการวิจัยนี้ บุคลากรด้านสาธารณสุข ครูและผู้ปกครองสามารถนํากิจกรรมการเล่านิทาน สร้างเสริมสุขนิสัยโดยใช้สื่ออุปกรณ์ในเด็กปฐมวัยนี้ ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ด้านสุขภาพ แก่เด็กปฐมวัยซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพที่ดีและเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ ของประเทศชาติต่อไปThe quasi-experimental study examined the effect of a storytelling modeling method promoting health habits by using instructional medias, in early childhood. It is based on the  Social Cognitive Learning Theory of Albert Bandura. The experimental and comparative groups both consisted of 32 kindergarten aged children between 4 - 5 year old attending  kindergarten in Donchedi District, Suphanburi Province, Thailand. The experimental group received health habit promotion via instructional medias which consisted of 12 activities at school for 4 weeks. The comparative group only studied the normal curriculum. Data were collected by questionnaire which asked the mother about health habits in early childhood,  an early childhood health habits assessment form, and an early childhood health habits  behavior observation form. Data was analyzed by application of chi-square test, independent sample t-test and paired sample t-test.  The result revealed that mean difference of health habit scores in the experimental  group after intervention and during follow up period increased significantly more than the comparative group and more than the mean health habit scores before intervention  (p <.05).  For the application of the results from this study, public health officers, teachers and  parents can use this modeling method of health habit promotion by using instructional medias as a guideline for early childhood health learning. This will be useful for promoting and developing early childhood health to qualitative child in the future.

Downloads

Published

2021-12-16