ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส

Predictors of health-related quality of life among people living with HIV/AIDS receiving highly active antiretroviral therapy

Authors

  • วันเพ็ญ วนาภรณ์
  • เขมารดี มาสิงบุญ
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, โรคเอดส์, การรักษาด้วยยา, ผู้ป่วย, การรักษาด้วยยาต้านไวรัส

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยทํานายคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ได้แก่ ระดับ CD 4 ประสบการณ์อาการ พฤติกรรมการดูแลตนเอง  และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มา iiรับบริการ ณ คลินิกรับยาต้านไวรัส โรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดฉะเชิงเทรา จํานวน 141 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น และตามเกณฑ์ที่ กําหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบบสอบถามประสบการณ์อาการ แบบสอบถาม พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคของแบบสอบถาม เท่ากับ 90, .90, .77 และ 90 ตามลําดับ เก็บข้อมูลตั้งแต่ เดือนกันยายน ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  ผลการศึกษาพบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 105.46, SD = 13.67) เมื่อพิจารณาคุณภาพชีวิตรายด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสิ่งแวดล้อม พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีเช่นกัน (ค่าเฉลี่ย = 27.89, SD = 3.16 ค่าเฉลี่ย = 27.43, SD = 4.36 และ ค่าเฉลี่ย = 31.24, SD = 4.72 ตามลําดับ) และมีคะแนนเฉลี่ยด้านการรับรู้ความสัมพันธ์ทางสังคมในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 14.94, SD = 2.86)  ปัจจัยที่สามารถร่วมกันทํานายคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลตนเอง โดยสามารถร่วมกันทํานายได้ ร้อยละ 27 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) และพบว่าการสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรที่ทํานายคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้มากที่สุด (Beta = .34, p < .05) รองลงมาได้แก่ พฤติกรรมการดูแลตนเอง (Beta = 27, p < .05) ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า การส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์มีพฤติกรรมการ ดูแลตนเองที่ดี ร่วมกับมีการสนับสนุนทางสังคมที่เพียงพอ น่าจะช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถดํารงชีวิตได้อย่างมีความสุข  The purpose of this descriptive research was to examine predictors of health-related quality of life among people living with HIV/AIDS receiving highly active antiretroviral therapy. The selected variables composed of CD 4 level, symptom experiences, self-care behaviors, and social support. One-forty one people living with HIV/AIDS were recruited by stratified random sampling from antiretroviral therapy clinics of hospitals in Chachoengsao province. Study Instruments consisted of the Personal Data Record Form, the Quality of Life Questionnaire, the Symptom Experience Questionnaire, the Self-Care Behaviors Questionnaire, and the Social Support Questionnaire. The internal consistency reliability of questionnaires were .90, .90, .77 and .90 respectively. Data were collected during September to November 2008. Descriptive statistics and multiple regression analysis were used to analyze data.  The results revealed that; people living with HIV/AIDS receiving highly active antiretroviral therapy had high scores of overall quality of life (average = 105.46, SD = 13.67). Considering in each dimension of quality of life, the scores of physical, psychological and environment domain were at high level. (average = 27.89, SD = 3.16, average = 27.43, SD = 4.36, and average = 31.24, SD = 4.72 respectively); while the social relationship scores were at moderate level (average = 14.94, SD = 2.86).  Results of the study indicated that self-care behaviors and social support were significant predicted quality of life among people living with HIV/ AIDS receiving highly active antiretroviral therapy and accounted for 27 percents of variance (p <.05). The most influential factor to quality of life was social support (Beta = .34, p <.05) and self-care behaviors was the second predictors of quality of life (Beta = .27, p <.05).  Results of the study emphasize the provision of social support and promoting self-care behaviors among people living with HIV/AIDS receiving highly active antiretroviral therapy can help them perceive good quality of life and live with happiness.

Downloads

Published

2021-12-16