ผลการให้ คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญาต่อทักษะชีวิตด้านการป้องกัน การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

The Effects of Cognitive Behavior Modification Group Counseling on Life Skills for Sexual Relations Prevention of Vocational Students at Vocational Certificate Level

Authors

  • กนกวรรณ สินรัตน์
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล
  • สมโภชน์ อเนกสุข

Keywords:

นักเรียนอาชีวศึกษา, การให้คำปรึกษาด้านทักษะชีวิต, การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม, การให้คำปรึกษา, การปรับพฤติกรรม, ทักษะชีวิต, เพศสัมพันธ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการให้คําปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญาต่อทักษะชีวิตด้านการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 โรงเรียนเทคโนโลยีแห่งหนึ่ง ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จํานวน 22 คน ที่มีคะแนนทักษะชีวิตด้านการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา สุ่มให้เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดทักษะชีวิตด้านการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน และโปรแกรมการให้คําปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา ผู้วิจัยดําเนินการทดลองการให้คําปรึกษากลุ่มจำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองสองตัวประกอบ แบบวัดหนึ่งตัวประกอบ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีนิวแมนคูลส์  ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับการให้คําปรึกษากลุ่ม  ตามทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา มีค่าเฉลี่ยทักษะชีวิตด้านการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนแตกต่างจากนักเรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับวิธีการเรียนการสอนปกติในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับการให้คําปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญามีค่าเฉลี่ยทักษะชีวิตด้านการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลแตกต่างจากระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนําไปใช้เป็นแนวทางให้แก่ครู อาจารย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือ และให้คําปรึกษาแก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่จะป้องกันตนเองและเกิดการพัฒนาทักษะ ชีวิตเพื่อป้องกันปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน  This research aimed to study the effects of cognitive behavior modification group counseling on life skills for prevention of sexual relations the vocational education students in schools at a vocational certificate level. The samples composed of twenty-two students, who had scores on life skills for sexual relations prevention less than 25th percentile, in the first year vocational education in one Technology School in Chachoengsao province. They were randomly assigned into two groups equally. An experimental group and a control group with eleven persons in each. The instruments used in this research were the measurement test of life skills for sexual relations prevention of students in school, and an interventional program of the cognitive behavior modification group counseling, The interventional program included 12 sessions. Each session lasted about sixty minutes. The research design was two-factor experimental with repeated measures on one factor. In fact, the study was divided into 3 phases : the pretest , the post-test and the follow-up phase. The data were analyzed using repeated measure analysis of variance : one between-subject variable and one within-subjects variable and were tested to pair differences among means with use of Newman-Keuls Procedure.  The results revealed that the levels of the life skills for the sexual relations prevention the students in the experimental and the control groups were significantly different at level .05 when measured in the post-test and the follow-up phases. The levels of the life skills for the sexual relations prevention of the students in the experimental group in the post-test and the follow-up phases were significantly different at level .05 from these in the pre-test phase.  According to results of this study, the finding can be used to be a guide to the teacher and the relevant support and advice to students learn to protect themselves and develop life skills for sexual relation prevention problems.

Downloads

Published

2021-12-16