ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อความสามารถของมารดาในการดูแลบุตรป่วยโรค หอบหืด

Effects of family participation program on maternal ability to care for children with asthma

Authors

  • ศิริวรรณ หุ่นท่าไม้
  • นุจรี ไชยมงคล
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์

Keywords:

มารดาและบุตร, หืด, หืดในเด็ก, ผู้ป่วยเด็ก, การดูแล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อความสามารถของมารดาในการดูแลบุตรป่วยโรคหอบหืด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาและครอบครัวของเด็กวัยก่อนเรียนที่ป่วยด้วยโรคหอบหืดและมารับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคภูมิแพ้ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ จํานวน 40 คู่ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มด้วยวิธีการจับฉลากแบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 20 คู่ ได้แก่ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัว ประกอบด้วย 1) แผนการสอนเรื่องการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลเด็กโรคหอบหืด2) คู่มือการดูแลเด็กวัย 1-6 ปี ที่ป่วยโรคหอบหืด และ 3) แผ่นวีซีดีการพ่นยาในเด็กโรคหอบหืด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามความสามารถของมารดาในการดูแลบุตรโรคหอบหืดซึ่งมีค่าแอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่าก่อนการให้โปรแกรมคะแนนความสามารถของมารดาทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p > .105) และภายหลังสิ้นสุดการให้โปรแกรมคะแนนความสามารถ ของมารดาในการดูแลบุตรป่วย โรคหอบหืดกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t = -2.18, p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าควรนําโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวมาใช้ในการพยาบาลครอบครัวที่มีบุตรป่วย  โรคหอบหืดเพื่อช่วยให้มารดาสามารถดูแลบุตรโรคหอบหืดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  The purpose of this quasi-experimental research was to examine effects of family participation program on maternal ability to care for children with asthma. Sample consisted of 40 mothers and families of asthmatic children. The children were 1-6 years old, and have usually been received treatment at allergy clinic at the Out Patient Clinic Department (OPD), Samutprakarn province. The sample was randomly assigned into 2 groups of experimental and control. The experimental group included 20 mothers and families receiving the family participation program, which contained 1) plan of health education about family participation in caring for asthmatic children, 2) manual of caring for 1-6 years old children with asthma, and 3) VCD about instruction for use of inhalation for children with asthma. The other 20 mothers and families were in the control group receiving routine nursing care of the hospital. Research instruments included a demographic questionnaire and a questionnaire of maternal ability to care for asthmatic children, which its alpha Cronbach was 88. Data were analyzed by using mean, percent, frequency, range, standard deviation, and t-test.  The results showed that before the intervention, both groups were not significantly different on the Score of maternal ability to care for asthmatic children (p > .05). However, after completing the intervention, the score of maternal ability to care for asthmatic children of the experimental group was significantly higher than those receiving routine nursing care (t = -2.18, p <.05). These findings indicate that the family participation program should be implemented for the caring of family with asthmatic children. In addition, ability of mother in the care for children with asthma would be increased effectively.

Downloads

Published

2021-12-16