ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเย็บแผลต่อความรู้ ทักษะการปฏิบัติและความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล

Effects of computer assisted instruction entitled "Suturing" on nursing students' knowledge, practical skills and satisfaction

Authors

  • จินตนา ดำเกลี้ยง
  • ปิ่นทิพย์ นาคดำ
  • อนงค์ ประสาธน์วนกิจ
  • เนตรนภา พรหมเทพ

Keywords:

การเย็บแผล, พยาบาลศาสตร์, คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน, นักศึกษาพยาบาล

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการเย็บแผล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย  สงขลานครินทร์ จํานวน 55 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองจํานวน 28 คนและกลุ่มควบคุมจํานวน  27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) คู่มือประกอบการเย็บแผล  3) แบบประเมินความรู้ 4) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติที  ผลการศึกษา พบว่า หลังการใช้บทเรียนพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการเย็บแผล กลุ่มทดลอง มีคะแนนความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ความรู้เรื่องการเย็บแผลของกลุ่มทดลองก่อนและหลังใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 กลุ่มทดลองมีคะแนนการปฏิบัติ เรื่องการเย็บแผล สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ความพึงพอใจของกลุ่มทดลองในการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นเป็นประโยชน์แก่ นักศึกษาพยาบาลต่อการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นผู้กระทําด้วยตนเอง โดยช่วยให้เกิดความรู้และทักษะปฏิบัติในเรื่องของการเย็บแผล อีกทั้งการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังทําให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจ จึงควรนําสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการเย็บแผล มาเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนรู้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาล  The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effects of using  Computer Assisted Instruction (CAI) entitled “suturing”. The subjects were 55 third year nursing students of Faculty of Nursing, Prince of Songkla University. Then, the subjects were randomly assigned into either experimental or control group. The experimental group consisted of 28 students while the control group consisted of 27 students. The instruments used in this study consisted of 1) Computer Assisted Instruction entitled “suturing” 2) suturing handbook 3) suturing knowledge evaluation questionnaire 4) suturing skills evaluation questionnaire and 5) CAI satisfactory evaluation. Data were analyzed by using t-test statistic.  The results of this study indicated that the experimental group has higher mean score in suturing knowledge than that of the control group (p<.001). There was a significant difference in suturing knowledge before and after using CAI in the experimental group (p < .001). The experimental group has higher mean score in suturing practical skills than that of the control group (p<.001). The CAI satisfaction score of the experimental group was at a high level. Findings of this study indicated that CAI entitled “suturing” was useful for improving active learning of nursing students' knowledge and practical skills on suturing. Therefore, CAI should be applied to develop teaching and learning process in practicum course of adult and elder clients.

Downloads

Published

2021-12-16