ปัจจัย ทำนายสภาวะเท้าของผู้เป็นเบาหวานที่มารับการรักษา ณ โรงพยาบาลตำรวจ

Predictors of foot status among persons with diabetes mellitus at Police General Hospital

Authors

  • ปริญญา เรืองโรจน์
  • เขมารดี มาสิงบุญ
  • ภาวนา กีรติยุตวงศ์

Keywords:

เบาหวาน, เท้า, การดูแลและสุขวิทยา, พฤติกรรมสุขภาพ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลเท้า สภาวะเท้า และปัจจัยทํานายสภาวะเท้าของผู้เป็นเบาหวาน ได้แก่ ระยะเวลาการป่วยเป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ระดับไขมันในเลือดชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) ประสบการณ์การเกิดแผลที่เท้า การสูบบุหรี่ และพฤติกรรมการดูแลเท้า กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้เป็นเบาหวานที่มารับบริการตรวจรักษา ณ หน่วยคลินิกเบาหวาน แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลตํารวจ จํานวน 120 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กําหนด และวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน พ.ศ.2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสภาวะเท้า แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้เป็นเบาหวาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ครอนบาคของแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้เป็นเบาหวาน เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้เป็นเบาหวานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 67,14, SD = 12.30) และเมื่อพิจารณาคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้ารายด้านพบว่า ผู้เป็นเบาหวานส่วนใหญ่มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้าอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านการใส่รองเท้าและการเลือกซื้อรองเท้า มีคะแนน  พฤติกรรมการดูแลเท้าอยู่ในระดับมาก (M = 16.72, SD = 2.76)  2. ผู้เป็นเบาหวานทุกรายมีสภาวะเท้าผิดปกติทั้ง 2 ข้าง โดยเฉพาะมีความผิดปกติในระบบไหล เวียนโลหิต ร้อยละ 100 และพบว่ามีความผิดปกติ ต้านระบบประสาท ร้อยละ 95.80 ความผิดปกติของรูปร่างเท้า ร้อยละ 75 และมีการติดเชื้อที่เท้าพบ ร้อยละ 48.30  3. ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ ระยะเวลาการป่วยเป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ระดับไขมันในเลือดชนิดความหนาแน่นต่ำ ประสบการณ์การเกิดแผลที่เท้า การสูบบุหรี่ และพฤติกรรมการดูแลเท้า สามารถร่วมกันทํานายสกาวะเท้าของผู้เป็นเบาหวานได้ร้อยละ 12.7 (R2 = .127, p < .05) โดยตัวแปรที่สามารถทํานายสภาวะเท้าของผู้เป็นเบาหวานสูงสุด คือ การสูบบุหรี่ (Beta = -.24, p < .05) รองลงมาได้แก่ ประสบการณ์การเกิดแผลที่เท้า (Beta = - 21, p < .05)  ผลการวิจัยครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า การส่งเสริมให้ผู้เป็นเบาหวาน งดการสูบบุหรี่ มีพฤติกรรมการ ดูแลเท้าที่ดี ร่วมกับการตรวจประเมินสภาวะเท้าอย่างสม่ำเสมอน่าจะช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานมีสภาวะเท้าที่ดี และป้องกันหรือชลอการเกิดแผลที่เท้าได้  The purposes of this study were to examine foot care behaviors, foot status, and predictors of foot status among persons with diabetes mellitus. One-hundred and twenty persons with diabetes mellitus were selected following the inclusion criteria from the diabetic clinic, out patient department, Police General Hospital, during June to September 2008. Instruments consisted of the Foot Assessment Tool, the Foot Status Assessment Record Form, the Personal Data Record Form, and the Diabetic Foot Care Questionnaire. Cronbach's alpha coefficients of the Diabetic Foot Care Questionnaire were .82. Data were analyzed using descriptive statistics and multiple regression analysis.  The results revealed that:  1. Overall foot care behavior scores of persons with diabetes mellitus were at a high level (M = 67.14, SD = 12.30). Considering subcategories of foot care behaviors, the scores of foot wear behavior were at a high level (M = 16.72, SD = 2.76), whereas other behavior scores were at a moderate level.  2. All of samples had abnormal foot status especially on blood circulation subcategory. Furthermore, 95.80 % of persons with diabetes mellitus had neuropatic foot, 75 % had foot deformity, and 48.30 % had foot infection.  3. All variables including duration of diabetes, HbA1c level , LDL level, history of  foot ulcers, smoking, and foot care behaviors significantly predicted foot status and explained 12.7 % of the variance (p <.05). The most influencing factors to foot status were smoking and history of foot ulcers (Beta = - .24 and -.21, respectively, p <.05).  Results of this study indicate that promoting smoking cessation, foot care behaviors , and diabetic foot screening could promote foot status and prevent or delay the occurrence of foot ulcers among persons with diabetes mellitus.

Downloads

Published

2021-12-16