ประสบการณ์ของครอบครัวผู้ป่วยเฉียบพลันระยะสุดท้าย

Experiences of Family with Acutely III Patients in Terminal Stage

Authors

  • วรลักษณ์ คัชมาตย์
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์

Keywords:

ผู้ป่วยใกล้ตาย, การดูแล, ผู้ป่วย

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อบรรยายประสบการณ์ของครอบครัวผู้ป่วยเฉียบพลัน ระยะสุดท้าย ผู้ให้ข้อมูลเป็นสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยเฉียบพลันระยะสุดท้าย จํานวน 15 ราย จาก 9 ครอบครัว ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการจดบันทึกภาคสนามเป็นวิธีหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)  ผลการวิจัยพบว่า ครอบครัวมีการรับรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยของสมาชิกที่เป็นผู้ป่วยเฉียบพลันระยะสุดท้าย ซึ่งสามารถจําแนกตามการรับรู้ที่เกิดขึ้นเป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ความรู้สึกต่อการที่สมาชิกในครอบครัวเจ็บป่วยเฉียบพลันระยะสุดท้าย ซึ่งแยกเป็น 4 ประเด็นย่อยคือ ความรู้สึกทุกข์โศก ความสงสาร ความกังวลและความสับสน และ ความรู้สึกไม่เชื่อว่าจะเป็นจริง 2) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการที่สมาชิกในครอบครัวเจ็บป่วยเฉียบพลันระยะสุดท้าย ซึ่งแยกเป็น 3 ประเด็นย่อยคือ ความอ้างว้างการเปลี่ยนแปลงทางกาย และความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป 3) การเผชิญปัญหาของครอบครัวผู้ป่วยเฉียบพลันระยะสุดท้าย ซึ่งแยกเป็น 6 ประเด็นย่อยคือ การหวังในปาฏิหาริย์ การปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อ การทําใจการหลอกตัวเอง การใช้ยาหรือบุหรี่ และการระบายความรู้สึก ผลการศึกษาครั้งนี้ ทําให้เห็นภาพรวมของประสบการณ์ของครอบครัวผู้ป่วยเฉียบพลันระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นข้อค้นพบที่พยาบาลสามารถนํามาเป็นข้อมูลพื้นฐาน นําไปสู่การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลให้สอดคล้องกับการรับรู้ของครอบครัวผู้ป่วยเฉียบพลันระยะสุดท้าย  The purpose of this qualitative study was to describe the experiences form family  with acutely ill patients in terminal stage. informants were 15 family members from 9 families. Data was collected by using indepth interview, observation, and field note. Content analysis method was used to analyze the data. The result showed that perception of family was divided to three themes. Firstly, feeling of having acutely ill patients in terminal stage which consisted of feeling of sorrow, compassion, anxiety and confusion, and disbelief in reality. Secondly, impacts of having acutely ill patients in terminal stage, which consisted of loneliness, physical change, and lived change. Lastly, coping of family with having acutely ill patients in terminal stage, which consisted of hope in miracle, practice following belief, making up mind, self deception, using drug or smoking, and ventilation of feeling  The finding of this study revealed overall picture of experiences of family with acutely ill patients in terminal stage. Nurse can use to be basic information to improve quality of nursing according to percepting family with acutely ill patients in terminal stage.

Downloads

Published

2021-12-23