ประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลในโรงพยาบาลซึ่งผ่านการรับรองคุณภาพที่คัดสรรแห่งหนึ่ง

Head nurses' experience of nursing quality improvement for hospital accreditation in a selected accreditated hospital

Authors

  • สมลักษณ์ ทองสุข
  • สุวดี สกุลคู
  • จุฬาลักษณ์ บารมี

Keywords:

การพยาบาล, โรงพยาบาล, การรับรองคุณภาพ, การบริหาร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล เพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ในโรงพยาบาลที่คัดสรรแห่งหนึ่งซึ่งผ่านการรับรองคุณภาพ โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงจํานวน 11 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการวิเคราะห์เอกสาร ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2548 จนถึงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ผลการศึกษาพบว่า หัวหน้าหอผู้ป่วยให้ความหมายการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล เพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 2 ลักษณะ คือ ความหมายเชิงบวก ซึ่งประกอบด้วย 1 เป็นสิ่งที่ดี 2) เป็นการทํางานประจําแต่ทําให้ดีขึ้น 3) เป็นการทํางานเป็นทีม 4) เป็นการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานและ 5) เป็นสิ่งที่ทําให้ภาคภูมิใจ และความหมายเชิงลบ คือ 1) เป็นสิ่งที่ทําให้สับสน 2) เป็นสิ่งที่ทําให้เครียด 3) เป็นสิ่งที่เป็นภาระ 4) เป็นสิ่งที่ทําให้เหนื่อย และ 5) เป็นวิกฤตที่ต้องพัฒนางานให้ผ่านการประเมินจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล แนวทางการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยมีแนวทางพัฒนาคุณภาพการพยาบาล 2 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพประกอบด้วย 1) การที่หัวหน้าหอผู้ป่วยร่วมรับผิดชอบ 3) การสนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงาน สร้างนวัตกรรมในการดูแล ดูแลให้บุคลากรได้พัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้น 2) การมอบหมายงานพัฒนาคุณภาพให้บุคลากรในผู้ป่วย 4) การสร้างความร่วมมือจากบุคลากรในหน่วยงานให้ร่วมพัฒนาคุณภาพงาน และ 5) การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรในหน่วยงานและด้านการพัฒนางานให้มี  คุณภาพ ประกอบด้วย 1) การที่หัวหน้าหอผู้ป่วยพัฒนางานตามนโยบายของผู้บริหาร 2) การประเมินหน่วยงานและจัดทําแบบประเมินหน่วยงาน เพื่อรับการประเมินจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ โรงพยาบาล 3) การกําหนดตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล เพื่อเป็นเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพของหน่วยงาน 4) การทบทวนกิจกรรมการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้น 5) การปฏิบัติงานโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง 6) การดูแลหน่วยงานให้มีการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และ 7) การนําเสนอและแลกเปลี่ยนผลงานคุณภาพกับหน่วยงานอื่นๆ สิ่งสนับสนุนในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล เพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ของหัวหน้าหอผู้ป่วย ประกอบด้วย 1) ระบบบริหารการพยาบาลที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรพยาบาล 2) บุคลากรที่ให้ความร่วมมือร่วมใจ 3) ทรัพยากรที่เพียงพอ 4) ทีมสหสาขาวิชาชีพที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย 5) ผู้บริหารที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย และ 6) การที่องค์กรจัดให้หัวหน้าหอผู้ป่วยได้รับการอบรม /ดูงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพส่วนอุปสรรคที่ขัดขวางต่อการพัฒนาคุณภาพการ พยาบาล เพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย ประกอบด้วย 1) โครงสร้างองค์กรที่ทําให้การบริหารการพยาบาลไม่ครอบคลุมพยาบาลทั้งหมด 2) บุคลากรไม่ให้ความร่วมมือในการพัฒนา คุณภาพการพยาบาล 3) ภาระงานหัวหน้าหอผู้ป่วยมีปริมาณมาก และ 4) อัตรากําลังไม่เหมาะสมกับภาระงาน  The purpose of this qualitative research was to study head nurse experience of quality improvement for hospital accreditation in a selected accreditation hospital. Data was collected from 11 head nurses and each head nurse was interviewed for 1 - 2 times. Data collection including tape-recording of in-depth interview, non-participant observation and participant observation from February 2005 to November 2006.  The finding revealed that nursing quality improvement for hospital accreditation could be categorized into two aspects. The first aspect was the characteristic of positive meaning. This category covered good things, better routine working, team working, standard work, and pride. The second one was negative meaning that refered to confusion, stress, burden, tired ness and crisis from nursing improvement for hospital accreditation Nursing quality improvement for hospital accreditation could be achieved by two directions. The first one was human quality development including taking care of personnel for better development, delegating quality improvement job to personnel, supporting  personnel for creating care innovation, enhancing personnel to participate in quality improvement, and performing a role model. The second one was quality working improvement including working improvement by policy. evaluating and building unit profile for hospital accreditation, determining quality indicators for quality verification reviewing working activities for improvement, using patient cented care, care of quality improvement continuously, as well as presenting, and shareing working quality with other units. Factors supporting nursing quality improvement for hospital accreditation were nursing administration system helping staff nurse to work, personnel participation to nursing quality improvement, sufficient equipment, cooperated care provider among multidisciplinary teams, administrators supporting head nurses with independent working atmosphere, organizational support to train head nurses for quality improvement. Barriers to nursing quality improvement for hospital accreditation were as follows : (1) The organization structure did not cover all staff nurses ; (2) Personnel did not cooperate in nursing quality improvement ; (3) Work of head nurses was overloaded ; and (4) The ratios of care providers and clients were not appropriate.

Downloads

Published

2021-12-23