ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการ ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดและการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง

Relationships among symptom cluster, postoperative complications and postoperative recovery in abdominal surgery patients

Authors

  • ตะวัน แสงสุวรรณ
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง
  • จุฬาลักษณ์ บารมี

Keywords:

ช่องท้อง, ศัลยกรรม, ภาวะแทรกซ้อน, การดูแลหลังศัลยกรรม

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการ ภาวะแทรกซ้อน หลังผ่าตัด และการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องทั้งแบบฉุกเฉินและวางแผน ล่วงหน้า จํานวน 100 ราย ที่เข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลศูนย์ 3 แห่งในภาคตะวันออก เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวกตามคุณสมบัติที่กําหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุดประกอบด้วย แบบประเมินอาการหลังผ่าตัดที่ผู้วิจัยพัฒนามาจากโมเดลการจัดการอาการของ Dodd, Janson et al. (2001) แบบประเมินการฟื้นสภาพหลังผ่าตัด ประยุกต์มาจากแบบสอบถามภาวะสุขภาพหลังผ่าตัดช่องท้องของ Urbach et al. (2006) และแบบ ประเมินภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่ดัดแปลงจากแบบประเมินภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดของอิงอร พงศพุทธชาติ (2546) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการจัดกลุ่ม และสหสัมพันธ์คาโนนิคอล  ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มอาการที่พบในวันที่ 1 และ 2 หลังผ่าตัดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย ปวดแผลผ่าตัด นอนไม่หลับและวิตกกังวล และกลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย ท้องอืด และอ่อนล้า ส่วนในวันที่ 3 หลังผ่าตัดพบอาการทั้ง 5 รวมเป็นกลุ่มอาการ 1 กลุ่ม อาการหลังผ่าตัดได้แก่ ปวดแผลผ่าตัด นอนไม่หลับ วิตกกังวล ท้องอืด และ อ่อนล้ามีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลางในแต่ละวันหลังผ่าตัด (p < .05, r = .23 ถึง .63)  การฟื้นสภาพหลังผ่าตัดในวันที่ 1 อยู่ในระดับต่ำ ส่วนในวันที่ 2 และ 3 อยู่ในระดับปานกลางโดยมี แนวโน้มดีขึ้นตามลําดับ และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด กลุ่มอาการ ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ในวันที่ 3 หลังผ่าตัด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ คาโนนิคอลเท่ากับ .50 ความสัมพันธ์ดังกล่าวอธิบายได้ว่าผู้ที่ปวดแผลผ่าตัดรุนแรง ท้องอืดมาก อ่อนเพลียมาก มีความวิตกกังวลมาก ร่วมกับนอนไม่หลับรุนแรง อธิบายการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดมากขึ้น และการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดช้าลงได้ร้อยละ 24.9 ผลการวิจัย สามารถนํามาใช้เป็นความรู้ในการพัฒนาคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ในด้านการประเมินและให้การดูแลเป็นกลุ่มอาการ เพื่อเพิ่ม คุณภาพในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องให้สูงขึ้น  The purposes of this study were 1) to identify cluster from five postoperative symptoms including pain, insomnia, anxiety, abdominal distension and fatigue, and 2) to investigate relationships among the symptom clusters, postoperative complications and postoperative recovery. A hundred patients who undergone either planned or unplanned abdominal surgery admitted to 3 regional hospitals in the eastern part of Thailand were recruited conveniently according to inclusion criteria. Data collection instruments included 1) the postoperative assessment form developed from Symptom Management Model (Dodd, Janson et al., 2001) ; 2) postoperative recovery form adapted from the Abdominal Surgery Impact Scale (Urbach et al., 2006); and. 3) postoperative complication assessment modified from Pongpulthachat's form (2003). Data were collected in three consecutive days after the surgery. Cluster analysis and canonical correlation statistics were used to analyze the data Results: the first and second day, two symptom clusters were found. Postoperative pain, insomnia and anxiety were the first cluster, and abdominal distension and fatigue were in the other. On the third day, all five symptoms were related and formed one cluster. From the 1st to3rd postoperative days, symptoms in the cluster including postoperative pain, insomnia, abdominal distension fatigue and anxiety, were all correlated (r = .23 to .63, p<.05). Symptom cluster, postoperative complications, and postoperative recovery were statistically significant correlated on the third postoperative day. Canonical correlation coefficient was ,50 (P < .001). The result illustrated that high postoperative pain, severe insomnia, abdominal distension, fatigue and anxiety explain 24.9 of the variance of postoperative recovery and complications. Conclusion : The results of this study can be used as the knowledge for improving quality of care. particularly in the assessment of symptom clusters related to postoperative recovery and complications.

Downloads

Published

2021-12-23