การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของสตรีวัยรุ่น

Social support and sexual risk behavior in female teenagers

Authors

  • ตติรัตน์ สุวรรณสุจริต
  • พิริยา ศุภศรี

Keywords:

วัยรุ่นหญิง, พฤติกรรมทางเพศ, ภาวะสังคม, เพศสัมพันธ์, พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, สตรีวัยรุ่น

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของสตรีวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 15-22 ปี และศึกษา ในภาคปกติของสถานศึกษาสังกัดภาครัฐ อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จํานวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของสตรีวัยรุ่น ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เท่ากับ .75 และแบบสอบถาม การสนับสนุนทางสังคม เท่ากับ .88 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ย การสนับสนุนทางสังคมโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ใน ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 92.14, SD = 11.89) โดยการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์และด้านการประเมินพฤติกรรม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 22.34 , SD = 3.38 และ ค่าเฉลี่ย = 21.62, SD = 3.31 ตามลําดับ) ส่วนด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านสิ่งของและบริการ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 24.27, SD = 4.05 และ ค่าเฉลี่ย = 23.92, SD = 4.62 ตามลําดับ) และคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ย = 7.54, SD = 1.72) รวมทั้งพบว่าการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = - 20, p < .001)  จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าการให้การสนับสนุน ทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ  ของสตรีวัยรุ่น ดังนั้น บิดา มารดา ผู้ปกครอง ครู / อาจารย์จําเป็นต้องร่วมมือกันสนับสนุนทางสังคมแก่สตรีวัยรุ่นอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการสร้างเกราะป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศให้กับสตรีวัยรุ่น The purpose of this study was to examline the relationship between social support and sexual risk behavior in female teenagers. The participants were 400 female teenagers, at the age of 15-22 years old, from academic institutions in Chonburi province. They were selected by the use of multi-stage sampling. Data related to demographic data, sexual risk behavior and social support were collected by questionnaires. Reliability of sexual risk behavior questionnaire was .75 and social support questionnaire was .88. Data analysis included descriptive statistics and Pearson's correlation coefficient.  The results revealed that mean of overall social support scores was moderate (average = 92.14, SD = 11.89). Mean of emotional support and appraisal support scores were high (average = 22.34, SD = 3.38; average = 21.62, SD = 3.31). Mean of information Support and instrumental support scores were moderate (average = 24.27, SD = 4.05; average = 23.92, SD = 4.62). Mean of overall sexual risk behavior scores was low (average = 7.54, SD = 1.72). Nevertheless, there was statistically and significantly negative relationship between social support and sexual risk behavior (r = - .20, p < .001). The finding showed that social support was related to sexual risk behavior. Therefore, parents, guardians, and instructors need to collaborate in supporting female teenagers to protect teenagers from sexual risk behavior.

Downloads

Published

2021-12-24