ผลของการสอนแบบทีมการพยาบาลต่อความวิตกกังวล การฟื้นตัวหลังผ่าตัด และความพึงพอใจในบริการพยาบาลของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดโรงพยาบาลชลบุรี

Effect of team teaching on anxiety, postoperative recovery and satisfaction in pregnant women having cesare

Authors

  • สุภัทรา เฟื่องคอน
  • จุฬาลักษณ์ บารมี
  • สุวดี สกุลคู

Keywords:

การสอนแบบทีมผู้สอน, การพยาบาล, การผ่าท้องทำคลอด, ความวิตกกังวล, สตรีมีครรภ์, ความพอใจของผู้ป่วย

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนแบบทีม การพยาบาลต่อความวิตกกังวล การฟื้นตัวหลังผ่าตัด และความพึงพอใจในบริการพยาบาลของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอด เปรียบเทียบกับการสอนตามปกติของบุคลากรพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับการผ่าตัดคลอด จํานวน 88 ราย กลุ่มละ 44 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการสอนกลุ่มทดลอง ประกอบด้วยรูปแบบการสอนที่ได้จากการพัฒนาร่วมกันระหว่างทีมการพยาบาลได้แก่ แผนการสอน เทปวีดีทัศน์ และแผ่นพับ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามความวิตกกังวลขณะเผชิญสถานการณ์ แบบประเมินการฟื้นตัวหลังผ่าตัด และแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาล เครื่องมือวิจัยทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .83, .88 และ .97 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที่ (Paired t-test & Independent t-test)  ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอด หลังการสอนแบบทีมการพยาบาลของกลุ่มทดลอง ลดลงจากก่อนการทดลอง (t = 4.02, p = .001) และ มีค่าเฉลี่ยหลังการทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.46, p = 008) ค่าเฉลี่ยการฟื้นตัวหลังผ่าตัด และความพึงพอใจในบริการพยาบาลของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดหลังการสอนแบบทีมการพยาบาล ของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (t = 6.07, (t =6.07, t= 4.92, p = .001)  The purpose of this quasi-experimental research was to compare anxiety, postoperative recovery and satisfaction between pregnant women having cesarean section who received team teaching and those who received conventional teaching. The sample consisted of 88 pregnant women; divided into 2 groups with 44 for each group. Instruments used for the experimental group was the teaching model developed by teaching team including a teaching plan, a videotape and brochures. Data collecting instruments were 3 sets of questionnaires measuring anxiety, postoperative recovery and satisfaction in nursing service. The questionnaires were reviewed for content validity by the expert panels. Cronbach's alpha reliability coefficients were .83, .88 and .97, respectively. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, paired t-test and independent t-test.  The findings revealed that after receiving team teaching, the anxiety score of  experimental group significantly decreased (t = 4. 02, P = .001), and the anxiety mean score was less than that of the control group (t = 2.46, p = .008). Finally, postoperative recovery and satisfaction mean scores of the experimental group were significantly higher than those of the control group (t = 6.07, 1 = 4.92, one-tailed p = .001 respectively).

Downloads

Published

2021-12-24