ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรคของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ

Determinants of eating behavior of patients with Coronary Artery Heart Desease

Authors

  • อัจษรา บุญมีศรีทรัพย์
  • อาภรณ์ ดีนาน
  • กนกนุช ชื่นเลิศสกุล

Keywords:

การรับประทานอาหาร, หลอดเลือดโคโรนารีย์, โรค, ผู้ป่วย, โรคหลอดเลือดหัวใจ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์และปัจจัยทํานายพฤติกรรมการ รับประทานอาหารเฉพาะโรคของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือด หัวใจ จํานวน 200 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กําหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรค แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและแบบสอบถามปัจจัยด้านอิทธิพลระหว่างบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)  ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ทางบวกกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรคของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ รายได้ (r = .158, p < .05) การรับรู้ประโยชน์ (r = .221 p < .05) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน (r = .343, p < .01) การสนับสนุนของครอบครัว (r .255, p < .01) และการสนับสนุนจากบุคลากรทางสุขภาพ (r = .197, p < .01) ส่วนการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบ กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรค (r = -.290, p < .01) ปัจจัยที่สามารถ ทํานายพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เฉพาะโรคของผู้ป่วยโรคหลอตเลือดหัวใจ ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน (β = .236, p < .001) การรับรู้อุปสรรค (β = -.170, p < .01) และการสนับสนุนของครอบครัว (β = .149, p < .05) โดยร่วมกันทํานายพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เฉพาะโรคของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้ร้อยละ 16.9 (p < .05) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ การพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทาน อาหารเฉพาะโรคที่ถูกต้องสําหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้อุปสรรค และการสนับสนุนของครอบครัว  The purposes of this study were to examine factors related to eating behavior and determinants of eating behavior of coronary artery heart disease patients. A sample was 200 coronary artery heart disease patients. Data were collected by self-reported questionnaires. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, Pearson's Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression. The results revealed that: 1. Significant factors related to eating behavior included income (r = .158, p <.05),  perceived self-efficacy (r = .343, p < .01), perceived benefit (r = .221, p < .05), family support (r .255, p < .01), and health care provider support (r = .197, p < .01). It was also found that perceived barrier had a negative significant relationship with eating behavior (r = -.290, p < .01).  2. Determinants of eating behaviors included perceived self-efficacy (β = .236, p < .001), perceived barrier (β = -.170, p < .01), and family support (β = .149, p < .05). Total variance accounted 16.9 % (R2  = .169, p <.05). Recommendations include promote eating behavior of coronary artery heart disease patients by encouraging them to increase those significant variables and create nursing intervention based on predicting variables.

Downloads

Published

2021-12-24