ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย

The effectiveness of transitional care program on functional capacity and depression in myocardial infarction patients

Authors

  • ฐิติรัตน์ ทองขาว
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ

Keywords:

กล้ามเนื้อหัวใจตาย, ผู้ป่วย, การดูแล, ความซึมเศร้า, ภาวะซึมเศร้า

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดผลหลังการทดลอง เพื่อการศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านสําหรับ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายรายใหม่ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จํานวน 20 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 10 ราย กลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านสําหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ทําการวัดผลของโปรแกรมโดย การประเมินความสามารถในการทําหน้าที่ของร่างกาย และภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย ก่อนการทดลอง ก่อนจําหน่ายจากโรงพยาบาล หลังจําหน่ายจากโรงพยาบาล 4 สัปดาห์ และหลังจําหน่ายจากโรงพยาบาล 8 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติฟิชเชอร์ ค่าสถิติที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนซ้ำ ผลการวิจัยพบว่าความสามารถในการทําหน้าที่ของร่างกาย และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยกลุ่ม ที่ได้รับโปรแกรมการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านไม่แตกต่าง จากผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The two-group post test quasi-experimental research was conducted to determine the effectiveness of transitional care program in myocardial infarction patients. Twenty patients with new myocardial infarction in the coronary care unit of Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital, 10 of which, were intervention group and 10 of which, were control group. The intervention group received transitional care program and the control group received usual care. This program evaluate the functional capacity and depression at pre-program, pre- discharge, post-discharge 4 week and post-discharge 8 week. Data was analyzed using percentage, mean, standard deviation, Fisher's Exact Test, t-Test and Repeated Measure Analysis of Variance  The results of this study showed that : there was no statistically significant difference in functional capacity and depression in intervention group and control group. (p > .05)

Downloads

Published

2021-12-24