ความสัมพันธ์ระหว่างการทำหน้าที่ของครอบครัวกับคุณภาพชีวิตคนพิการ

Relationship between family functioning and quality of life of disabilities

Authors

  • อโนชา ทัศนาธนชัย
  • นุจรี ไชยมงคล
  • สุนทราวดี เธียรพิเชฐ

Keywords:

คนพิการ, ความสัมพันธ์ในครอบครัว, คุณภาพชีวิต, ครอบครัว

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การทําหน้าที่ของครอบครัวคุณภาพชีวิตคนพิการ และความสัมพันธ์ระหว่างการทําหน้าที่ของครอบครัว และคุณภาพชีวิตคนพิการ กลุ่มตัวอย่างเป็นคนพิการที่จดขึ้นทะเบียนคนพิการประเภทพิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหวที่ไม่มีความพิการซ้ำซ้อนอื่น และมีระยะเวลาความพิการไม่เกิน 10 ปี จํานวน 61 คน มีอายุเฉลี่ย 46.16 ปี (SD = 12.18) เป็นเพศชายร้อยละ 57.4 และสถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 52.5 อาศัยอยู่ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างวันที่ 1 กันยายนถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการทําหน้าที่ ของครอบครัวและคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก(ฉบับย่อ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนน เฉลี่ยการทําหน้าที่ของครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเท่ากับ 104.59 (SD = 14.33, range 70-128) และคุณภาพชีวิตโดยรวมของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย = 77.97, SD = 12.51) การทําหน้าที่ของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิด (r = .53, p <.001) เมื่อพิจารณาการทําหน้าที่ของครอบครัวเป็นรายด้าน พบว่าด้านการแก้ไขปัญหา (r = .57, p <.001) ด้านการตอบสนองทางอารมณ์ (r = .52, p <.001) ด้านบทบาท (r = .50, p<.001) และด้านการทําหน้าที่ทั่วไป (r = .48, p<.001) มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิต ด้านการสื่อสารมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิต (r = .27,  p<.05) ด้านความผูกพันทางอารมณ์และด้านการควบคุมพฤติกรรมไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต (p>,05)  ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า คนพิการที่มีการทําหน้าที่ครอบครัวที่เหมาะสมก็จะมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับที่ดีด้วย ดังนั้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการทําหน้าที่ของครอบครัวคนพิการ จะส่งผลให้คนพิการนั้นมีคุณภาพชีวิดที่ดีขึ้นได้  The purposes of this research were to examine family functioning, quality of life of disabilities and determine relationships between family functioning and quality of life of disabilities. The sample included 61 physical or movement disabilities without other multiple handicaps who registered for disability license. They have been disable for 10 year or less and living in urban area of Samut Prakarn province during 1 September to 31 October 2007. Their mean age was 46.16 (SD = 12.18) years old, 57.4% were male, and 52.5% were married. Data were collected by using the Family Functioning Inventory and The WHO Quality of Life (brief form). Data analyses included frequencies, percents, means, standard deviations and Pearson Correlation. The results reveal that mean total score of family functioning is 104.59 (SD = 14.33, range = 70 - 128), and it is in the middle level. Mean total score of quality of life is at moderate level (M = 77.97, SD = 12.51). Family functioning is moderately positively correlated with quality of life (r = .53, p<.001). When considering each domain of family functioning, there are moderate positive relationships between problem solving (r = 57, p< .001), emotional responses (r = .52, p < .001), role (r = .50, p<.001), and general duty (r = .48, p<.001) and the quality of life. There is a weak positive correlation between communication and quality of life (r = .27, p<.05). However, there is no significant relationship between emotional cohesion, behavioral control and quality of life (p>.05).  These findings indicate that disabilities whose appropriately function with their families would have better quality of life. Intervention that aims to promote family functioning of disabilities could enhance overall their quality of life.

Downloads

Published

2022-01-14