ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
Factors related to depression in persons with type 2 Diabetes
Keywords:
เบาหวาน, ผู้ป่วย, ความซึมเศร้าAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ เพศ สถานภาพสมรส สัมพันธภาพในครอบครัว ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง จํานวนโรคร่วม และระยะเวลาของการเป็นเบาหวานกับภาวะซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง จังหวัดนครสวรรค์ จํานวน 378 ราย เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า นําข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเพียร์แมนสถิติไค-สแควร์ และ Fisher's Exact Test ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้า อยู่ในระดับเล็กน้อยร้อยละ 32 อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 25.7 และอยู่ระดับมากร้อยละ 17.2 คะแนน เฉลี่ยสัมพันธภาพในครอบครัว และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านอายุ จํานวน โรคร่วม และระยะเวลาของการเป็นเบาหวานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .35, r = .50, rs = 47 ตามลำดับ) สัมพันธภาพในครอบครัว และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.37, r = -.49 ตามลำดับ) เพศ และสถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้น บุคลากรในทีมสุขภาพ ควรจัดโปรแกรมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ช่วยเหลือ หรือลดภาวะซึมเศร้า รวมทั้งจัดโปรแกรมเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว เพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 This descriptive research aimed to study the correlation among age, gender, marital status, family relationship, self-esteem, number of comorbidity, and duration of having diabetes with depression in persons with type 2 diabetes. The subjects were 378 persons with type 2 diabetes at a diabetic clinic in sixty beds community hospitals, Nakhonsawan province. The instruments were composed of Demographic Data Questionnaire, Rosenberg’s Self-Esteem Questionnaire, Family Relationship Questionnaire, and Beck's Depression Inventory. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson's product moment correlation coefficients, Spearman's rank correlation The findings revealed that 32 percent of the sample had a mean scores of depression at a mild level, 25.7 percent at a moderate level, and 17.2 percent at a sever level. The mean scores of the family relationship and self-esteem were at a moderate level. Age, number of comorbidity, and duration of having diabetes had significantly positive correlations with the depression at the level of .01 (r = .35, r = .50, rs = .47 respectively), Family relation-ship and self-esteem had significantly negative correlations (r = - .37, p < .01, r = -.49, p < .01 respectively). Gender and marital status had significantly correlations (p < .01). The results of this study indicated that many factors were associated with depression in persons with type 2 diabetes. Therefore, health care providers should develop a program promoting self-esteem and family relationship should be supported to prevent depression in persons with type 2 diabetes.Downloads
Published
2022-01-14
Issue
Section
Articles