ผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนโดยกระบวนการกลุ่มช่วยเหลือตนเอง การสนับสนุนของครอบครัวและการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตตำบาลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

The Outcomes of Care for Diabetes Mellitus Patients in Community by Self-help Group Family Support and Community Participation in Takhli Tambol, Takhli District, Nakhon Sawan Province

Authors

  • รุ่งรัตน์ งามจิรัฐิติกาล
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • รัชนี สรรเสริญ

Keywords:

เบาหวาน, ผู้ป่วย, การดูแล, การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง, คุณภาพชีวิต

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ ของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยการสนับสนุนของ ครอบครัวและการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยเบาหวานในเขตตําบลตาคลี อําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ จํานวน 54 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 27 คน กลุ่มควบคุม 27 คน กลุ่มควบคุมคัดเลือกโดยวิธีจับคู่ โดยใช้อายุระดับการศึกษา ระยะเวลาที่เป็นโรคเป็นตัวกําหนด ดําเนินการทดลองในกลุ่มทดลองโดยกระบวนการกลุ่มช่วยเหลือตนเอง ในผู้ป่วยเบาหวาน จํานวน 3 ครั้ง ดําเนินการกลุ่มสนับสนุนของครอบครัวด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ มีส่วนร่วมในผู้ดูแลผู้ป่วย จํานวน 3 ครั้ง และการมีส่วนร่วมของแกนนําชุมชนวัดผลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ พฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน แบบวัดคุณภาพชีวิต และระดับ HbA1c ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Independent t-test)  ผลการทดลองพบว่า หลังการทดลองเสร็จสิ้น ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานดีขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวาน ในกลุ่มทดลองดีขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05และระดับ HbA1c ในกลุ่ ทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05  The objective of this research was to study the outcomes of care for diabetes mellitus patients in community by self-help group, family support and community participation in Takhli tambol, Takhli district, Nakhon Sawan province. Fifty four patients were divided into 2 groups of experimental group and control group each with 27 patients. The control group was selected by match - paried for age, education, and duration of disease. Studying in the experimental group used self-help group with 3 replications, three processes of family support group and by community participation with 3 replications. Measurement was made by interviewing patients of behavior for control of diabetes, quality of life, and HbA1c before, and after the experiment. Percentage, means, standard deviation, and independent t-test were used to analyze data.  Result revealed that after experiment, the experimental group had behavior for control diabetes more than control group with significant at level .05. Quality of life in treatment group was more than control group with significant at level.05, and level of HbA1c in experimental group was lower than control group with significant al level.05.

Downloads

Published

2022-01-14