ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการและผู้ประกอบวิชาชีพกับความสม่ำเสมอในการรักษาของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

Relationship between client-professional interaction and adherence to treatment among persons with hypertension

Authors

  • ภาวินี ศรีสันต์
  • เขมารดี มาสิงบุญ
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง

Keywords:

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล, ความดันเลือดสูง, พยาบาลกับผู้ป่วย

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการ และผู้ประกอบวิชาชีพกับความสม่ำเสมอในการรักษา ของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จํานวน 130-ราย มารับการตรวจรักษาที่คลินิกเวชปฏิบัติจรอบครัว แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กําหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการและผู้ประกอบวิชาชีพ และแบบสอบถามความสม่ำเสมอในการรักษาของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .91 และ 86 ตามลําดับ เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2551 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  ผลการศึกษาพบว่า  1. คะแนนเฉลี่ยปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการ และผู้ประกอบวิชาชีพโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ด้านการสนับสนุนทางอารมณ์ ด้านการให้ข้อมูลทางสุขภาพ และด้านความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง  2. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ มีความสม่ำเสมอในการรักษาโดยรวมและความสม่ำเสมอด้านการใช้ยาอยู่ในระดับสูง (53.1% และ 95.4% ตามลําดับ) ส่วนความสม่ำเสมอด้านการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดําเนินชีวิตอยู่ในระดับต่ำ (53.85%)  3. ปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการและผู้ประกอบวิชาชีพโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความสม่ำเสมอในการรักษาโดยรวม (r = .50, p < .01) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์รายด้านพบว่า ปฏิสัมพันธ์ด้านความสามารถ ของผู้ประกอบวิชาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความสม่ำเสมอด้านการใช้ยา (r = .32, p < .01) ปฏิสัมพันธ์ด้านการสนับสนุนทางอารมณ์ และด้านการให้ข้อมูลทางสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับต่ำกับความสม่ำเสมอด้านการใช้ยา (r = .22, p < .05 และ r = .18, p < .05 ตามลําดับ) ส่วนปฏิสัมพันธ์ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจไม่มี ความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอด้านการใช้ยา  ปฏิสัมพันธ์ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการให้ข้อมูลทางสุขภาพ และด้านความสามารถ ของผู้ประกอบวิชาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความสม่ำเสมอด้านการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต (r = .52, p < .01 ; r = .40, p < .01 และ r = .36, p < .01 ตามลำดับ) ส่วนด้านการสนับสนุนทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับความสม่ำเสมอด้านการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต (r = .23, p < .05)  ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ประกอบวิชาชีพเป็นสิ่งสำคัญดังนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพควรหาวิธีการที่เหมาะสมในการสร้างเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ประกอบวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความสม่ำเสมอในการรักษาของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งจะช่วยป้องกันและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้  The purpose of this descriptive study was to examine relationship between client-professional interaction and adherence to treatment among persons with hypertension. One hundred and thirty persons with hypertension who attended at family practice clinic, outpatient department of Sapprasitthiprasong hospital, Ubon Ratchathani Province were recruited by simple random sampling and following the inclusion criteria. Research instruments consisted of a Demographic Data Record Form, the Client-Professional Interaction Questionnaire and the Adherence to Treatment Questionnaire, with the reliability of .91 and .86, respectively. Data were collected from August to September 2008. Descriptive statistics and Pearson's product moment correlation coefficient were used to analyses data.  The results revealed that  1. Mean scores of overall client-professional interaction, affective support, provision of health information and professional competencies were high; whereas, mean scores of decision control was at a moderate level. 2. Most of persons with hypertension had high scores of overall adherence to treatment and adherence to medication scores (53.1% and 95.4%, respectively); whereas, scores of adherence to lifestyle modification were at a low level (53.8%). 3. Overall client-professional interaction had moderate positive significant relationship with overall adherence to treatment (r = .50, p < .01). Professional competencies had moderate positive significant relationship with adherence to medication (r = .32, p < .01); affective support, provision of health information had low positive significant relationship with adherence to medication (r = .22, p < .05 and r = .18, p < .05, respectively); whereas, decision control was no relationship to adherence to medication. Decision control, provision of health information and professional competencies had moderate positive significant relationship with adherence to lifestyle modification (r = .52, p<.01; r= .40, p<.01, respectively); whereas, affective support had low positive significant relationship with adherence to lifestyle modification (r = .23, p<.05). Results of this study emphasize the important of client-professional interaction. Using appropriate strategies to promote client-professional interaction can help persons with hypertension had high adherence to treatment. Consequently, persons with hypertension can control their blood pressures in normal range which can prevent or delay hypertensive complications.

Downloads

Published

2022-01-14