รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของชาวประมงในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

A program for the promotion of AIDS preventive behavior in fishermen of the Eastern Seaboard

Authors

  • วัลภา ผิวทน
  • เฉลิมศรี ตันติชัยวนิช

Keywords:

โรคเอดส์, การป้องกันและควบคุม, ชาวประมง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลองมี วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ เจตคติ และ พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ก่อนและหลังการ ส่งเสริมความรู้ของกลุ่มแกนนำ และกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชาวประมงในเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จํานวน 241 คน แบ่ง ออกเป็นกลุ่มแกนนํา 10 คน กลุ่มเป้าหมาย 171 คน รูปแบบที่ใช้กับกลุ่มแกนนําคือ การใช้สื่อและการอบรมความรู้ รูปแบบที่ใช้กับกลุ่มเป้าหมายคือการ ได้รับการเผยแพร่ความรู้จากกลุ่มแกนนํา โดยการใช้สื่อทําการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง ห่างกัน 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ แบบวัดเจตคติต่อโรคเอดส์และ แบบวัดพฤติกรรมการป้องกันเอดส์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent t-test  ผลการวิจัยพบว่า  กลุ่มแกนนํา มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ดีกว่า ก่อนส่งเสริมความรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .001) กลุ่มเป้าหมายมีเจตคติต่อโรคเอดส์ดีกว่าก่อนส่งเสริมความรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = .001)  ส่วนกลุ่มแกนนําและกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการ ป้องกันโรคเอดส์ดีกว่าก่อนส่งเสริมความรู้อย่างไม่มี นัยสําคัญทางสถิติ  ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ การนํารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรค์ ไปใช้เป็น แนวทางในการส่งเสริมความรู้ เจตคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคของประชากรกลุ่มอื่น ๆ ในโรคต่าง ๆ ต่อไป  This quasi-experimental research aimed to compare knowledge, attitudes and AIDS preventive behavior (KAB) of leader and target groups before and after participation in promotion of AIDS preventive behavior program. The sample was 241 fishermen from the eastern seaboard, 70 were leaders and 171 were targets. The approach applied towards the leader group consisted of education packages and training. The approach applied towards the target group was education and participatory training by the leader group. Data were collected before participation in the program and at 8 weeks followed up. Questionnaires regarding knowledge of AIDs, attitude toward AIDs, and AIDS preventive behavior were used to collect data. Percentages, mean, standard deviation and dependent t-test were used to analyze data.  The results showed that, leader group showed significant increase in knowledge (p < .001). The target groups had significantly increase attitude score after participation (p = .001). Preventive behavior of both groups increased at a non-significant level.  It is suggested that this program could be used as the guidelines for promotion of knowledge, attitudes and preventive behavior to other sample groups and diseases.

Downloads

Published

2022-01-18