ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวของผู้ปวยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกับภาระของครอบครัวผู้ดูแล

Relationships between adaptation of patient with chronic obstructive pulmonary desease and burden of family caregiver

Authors

  • เสาวภา ภู่ประคำ
  • นุจรี ไชยมงคล
  • มณีรัตน์ ภาคธูป

Keywords:

ผู้ป่วย, การดูแล, ครอบครัวผู้ดูแล, ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น  เรื้อรังกับภาระของครอบครัวผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและครอบครัวผู้ดูแลที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชุมชน ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จํานวน 61 คู่ ระหว่างเดือนธันวาคม 2550 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2551 โดยเลือกตามคุณสมบัติที่กําหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ของผู้ป่วยและครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบสอบถามการปรับตัวของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และแบบสอบถามภาระของครอบครัวผู้ดูแล ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการปรับตัวของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบสอบถามภาระของครอบครัวผู้ดูแลเชิงปรนัย และแบบสอบถามภาระของ ครอบครัวผู้ดูแลเชิงอัตนัยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .84, .82 และ .82 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีคะแนนการปรับตัวโดยรวมเท่ากับ 114.26 (SD = 12.78) ด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านบทบาทหน้าที่ และด้านการพึ่งพาระหว่างกันมีคะแนนเท่ากับ 52.34 (SD = 6.45), 31.84 (SD = 4.64), 16.54 (SD = 2.19) และ 13.46 (SD = 2.65 ) ตามลําดับ ครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีคะแนนภาระเชิงปรนัยเท่ากับ 21.62 (SD = 2.73) และภาระเชิงอัตนัยเท่ากับ 25.33 (SD = 4.07) การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความสัมพันธ์ทางลบกับการะเชิงอัตนัยของ ครอบครัวผู้ดูแลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = -.25,  p < .05) ส่วนการปรับตัวด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านการพึ่งพาระหว่างกัน และการปรับตัวโดยรวมไม่  มีความสัมพันธ์กับภาระเชิงปรนัยและภาระเชิงอัตนัยของครอบครัวผู้ดูแล ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนําไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและครอบครัวผู้ดูแล โดยพยาบาลควรมีการส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีการปรับตัวโดยเฉพาะด้านบทบาทหน้าที่ให้สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลดภาระของครอบครัวผู้ดูแลได้  Purpose of this research was to examine relationships between adaptation of patient with chronic obstructive pulmonary disease (COPD) and burden of family caregiver. The purposive sample consisted of 61 dyads of COPD patients and family caregivers from out-patient departments at the community hospitals in Ayuttaya province during December, 2007 10 February, 2008. Research instruments included the Patient and Family Caregiver's Demographic Questionnaires, the Patient Adaptation's Scale, and the Objective and Subjective Burden Assessment's Scale. Content validity of all instruments were assessed by a panel of experts. Chronbach's alpha coefficients of the Patient Adaptation's Scale and the Objective and Subjective Burden Assessment's Scale were .84, .82, and .82 respectively. Data were analyzed by using frequencies, percents, means, standard deviations, ranges and Pearson's product moment correlation coefficient. The study results reveal that mean of total adaptation score of patients with COPD is 114.26 (SD = 12.78). Means of the adaptation subscales of physiological, self-concept, role function and interdependence are 52.34 (SD = 6.45), 31.84 (SD = 4.64), 16.54 (SD = 2.19) and 13.46 (SD = 2.65), respectively. Mean scores of objective and subjective family caregiver's burdens are 21.62 (SD = 2.73) and 25.33 (SD = 4.07), respectively. There is negatively significant relationship between role function adaptation of the patient and subjective burden of family caregiver (r = - 25, p < .05). However, there is no significant correlation between total and other subscales of the adaptation and objective and subjective family caregiver's burdens. This finding suggests that family practice nurses should promote and improve role function of patients with COPD through an intervention resulting in lessened family caregiver's burdens. In addition, it can be considered as evidence base of further development of nursing knowledge relevant to adaptation of patient with COPD and family caregiver's burden.

Downloads

Published

2022-01-18