ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความปวดสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องต่อความปวดและความพึงพอใจในการจัดการกับความปวด

Effects of clinical nursing practice guidelines for pain management on pain and satisfaction of patients with abdominal surgery

Authors

  • สิริรักษ์ เกตุจินดา
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ
  • ภาวนา กีรติยุตวงศ์

Keywords:

ศัลยกรรม, การพยาบาลผู้ป่วย, การพยาบาล, การผ่าตัดช่องท้อง, ความพึงพอใจต่อประสบการณ์ การคลอด, แนวปฏิบัติการพยาบาล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อจัดการกับความปวดสําหรับผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง ต่อความปวดและความพึงพอใจในการจัดการกับความปวด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องโรงพยาบาลสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน 18-60 ปี จับคู่ให้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยตําแหน่งและชนิดของการผ่าตัด ชนิดของการได้รับยาระงับความรู้สึกเหมือนกัน เก็บข้อมูลโดยการประเมินความปวดเมื่อครบ 24, 48 และ 72 ชั่วโมง หลังผ่าตัด ดําเนินการทดลองกับกลุ่มทดลองตาม แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความปวดสําหรับผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง กลุ่มควบคุมได้รับการ จัดการกับความปวดตามปกติจากพยาบาล สัมภาษณ์ความพึงพอใจในการจัดการกับความปวดเมื่อครบ 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาดรฐาน วิเคราะห์ค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดน้อยกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F1,58 =7.07, p .01) และกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจ ในการจัดการกับความปวดเมื่อครบ 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัดมากกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (t = 2.48, p = .01)  จากผลการศึกษาครั้งนี้ ควรนําแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความปวดสําหรับผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องไปปรับให้เหมาะกับบริบทและใช้ใน โรงพยาบาลอื่นต่อไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการจัดการกับความปวด The purpose of this quasi-experimental research was to study the effects of clinical nursing practice guidelines for pain management on pain and satisfaction of patients with abdominal surgery in Sanamchaikhet Hospital Chachoengsao Province. Sixty patients were randomly assigned into a control and an intervention group, with 30 in each group. The sample was 18-60 year of age, matched by type incision of surgery and type of anesthesia.  The clinical nursing practice guidelines for pain management was used in the intervention group. Data were collected using pain score after 24, 48 and 72 hour post surgery and satisfaction interviews after 72 hour post surgery. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and repeated measures ANOVA.  The result showed that, after 24, 48 and 72 hour post surgery, the intervention group had pain score less than control group (F1,58 = 7.07, p = .01). After 72 hours the intervention group had higher satisfaction in pain management than the control group (t = 2.48, p = .01).  From the results of this study, it is suggested that the clinical nursing practice  guidelines for pain management in the patients with abdominal surgery should be applied to be a practice guideline for healthcare provider.

Downloads

Published

2022-01-18