ความต้องการความสุขสบายและการได้รับการดูแลด้านความสุขสบายในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ

Comfort needs and received care as perceived by head injury patient

Authors

  • วรรณนิษา ตุ้มประเสริฐ
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ
  • เขมารดี มาสิงบุญ

Keywords:

ศีรษะบาดเจ็บ, ผู้ป่วย, การดูแล, การได้รับการดูแล

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษา เปรียบเทียบความต้องการความสุขสบายและการได้ รับการดูแลด้านความสุขสบายในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะระดับปานกลาง ที่มารับการรักษา ณ 9 หอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี จํานวน 60 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กําหนด เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์ความต้องการความสุขสบาย และแบบสัมภาษณ์การได้รับการดูแลด้านความสุขสบาย ซึ่งพัฒนาขึ้นตามทฤษฎีความสุขสบายของคอลคาบา (Kolcaba, 2003) และจากการทบทวนวรรณกรรม โดยแบบสัมภาษณ์ครอบคลุมความสุขสบาย 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ - จิตวิญญาณ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ตรวจสอบคุณภาพแบบวัดได้ค่าความเชื่อมั่น ของแบบสัมภาษณ์ความต้องการความสุขสบายเท่ากับ .92 และ แบบสัมภาษณ์การได้รับการดูแลด้านความสุขสบายเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที่  ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ มีคะแนนความต้องการความสุขสบายและการ ได้รับการดูแลด้านความสุขสบายโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 340.93, SD = 28.58 ; ค่าเฉลี่ย = 326.50, SD = 30.27 ตามลําดับ) เมื่อเปรียบเทียบ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=-4.67, p < .001) โดยพบว่ามีคะแนนความต้องการ ความสุขสบายโดยรวมมากกว่าการได้รับการดูแลด้านความสุขสบายโดยรวมและรายด้าน ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนํามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลในผู้ป่วยที่ได้รับ บาดเจ็บที่ศีรษะโดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความสุขสบาย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ - จิตวิญญาณ สังคม และสิ่งแวดล้อมต่อไป  The purpose of this descriptive study was to compare comfort needs and received care among head injured patients. Sixty moderated head injured patients admitted in traumatic units, Chaoprayayomaraj Hospital, Suphanburi Province were recruited following  the sample inclusion criterion. The questionnaires used to obtain data consisted a Personal Data Form, the Comfort Needs and Received Care Questionnaires developed from Kolcaba's comfort theory (2003) and literature reviewing. The Comfort Needs and Received Care Questionnaires consist of 4 aspects, including physical, psycho-spiritual, sociocultual and environmental aspects. The reliability of the Comfort Needs and Received Care Questionnaire were of .92 and .96, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and dependent t-test.  The result of this study showed that head injury patients' overall need of comfort and received care of comfort were at high level  (average = 340.93, SD = 28.58 ; average = 326.50, SD = 30.27, respectively). There was statistically significant difference between overall comfort need mean scores and received care mean scores (t =-4.67 , p < .001 p < .05). Considering that comfort need scores were higher than received care scores.  The results provide evidences to improve quality of care in head injury patients, ineluding physical, psycho-spiritual, sociocultual, and environmental.

Downloads

Published

2022-01-18