การพัฒนาการจัดการความปวดทางการพยาบาลในผู้ป่วยศัลยกรรม

Improving nursing management of pain in surgical patients

Authors

  • นัทธมน วุทธานนท์
  • สุพรรณี เตรียมวิศิษฎ์
  • นาถฤดี พงษ์เมธา
  • วัชราภรณ์ หอมดอก
  • นงนุช บุญอยู่
  • ลดารัตน์ สาภินันท์

Keywords:

ความเจ็บปวด, การพยาบาลผู้ป่วย, การพยาบาล, ผู้ป่วย, การดูแล, ความพอใจของผู้ป่วย, ผู้ป่วยศัลยกรรม

Abstract

ความปวดเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ทรมาน แก่ผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะผู้ป่วย ศัลยกรรมที่ต้องรับการผ่าตัด การจัดการความปวด เป็นบทบาทสําคัญของพยาบาลที่พึงกระทําภายใต้ขอบเขตวิชาชีพ และการจัดการความปวดที่มีประสิทธิผล ย่อมช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาจากความทุกข์ทรมานและเกิดความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดที่ได้รับนั้น  การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลด้านการจัดการความปวดในผู้ป่วยศัลยกรรมของ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เนื่องจากพบว่า คะแนนความพึงพอใจต่อการจัดการความปวด ทางการพยาบาล ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดคุณภาพ การพยาบาลของโรงพยาบาลมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ คณะวิจัยและบุคลากร 6 หอผู้ป่วย ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาหาแนวทางการแก้ไข และกําหนดรูปแบบการจัดการความปวดทางการพยาบาลในผู้ป่วยศัลยกรรม โดยคํานึงถึงความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพ หน่วยงาน ใช้ระยะเวลาดําเนินการพัฒนารวม 10 เดือน และพบคะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการจัดการ ความปวดทางการพยาบาลในระยะหลังดําเนินการ พัฒนาสูงกว่าระยะก่อนดําเนินการพัฒนาอย่างมีนัยสําคัญ (p<.001)  การวิจัยแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาคุณภาพ ทางการพยาบาลโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา วิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขด้วยวิธีการ หลากหลาย ทั้งการยกระดับความรู้เพิ่มพูนทักษะ โดยการจัดอบรมกําหนดแนวปฏิบัติในการจัดการ ความปวดไว้อย่างชัดเจนตลอดจนนิเทศติดตามการปฏิบัติเป็นระยะ ช่วยให้การจัดการความปวดทางการ พยาบาลประสบผลสําเร็จและผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจ  Pain causes a suffering experience for patients both physically and mentally, especially patients undergoing surgery. Pain management is an imperative nurse's role beneath professional boundary and the effective management Can decrease patients suffering and promote their satisfaction. The purpose of this participatory action research was to improve quality of nursing pain management in surgical patients at an university hospital. Concerning low score of patient satisfaction on nursing pain management, which is one of the hospital nursing quality indicators, the researchers and nurse personnel from 6 wards discussed together the problem analysis, explored solutions, and developed a model which was appropriate for the units. After leaving action, follow the model for 10 months, we found the mean score of patient satisfaction was higher than before significantly (p<.001).  The findings indicated that to improve nursing management of pain by process of  participatory action research ; with personnel participate in searching, analyzing, and resolving unit-based problems with diversity methods ; upgrading knowledge and skill through trainings, identifying a pain management guideline, and supervising, can help the management of pain in nursing to succeed and patients satisfy.

Downloads

Published

2022-01-18