ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในจังหวัดนราธิวาส

Factors related to hospital readmission of persons with chronic obstructive pulmonary disease in Narathiwat province

Authors

  • รัตนา ใจสมคม
  • เขมารดี มาสิงบุญ
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ

Keywords:

ปอด, โรค, การอยู่โรงพยาบาล, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การกลับเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับเข้าพัก รักษาในโรงพยาบาลของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่เข้าพักรักษาในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ และโรงพยาบาลสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส จํานวน 126 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กําหนด เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือน เมษายน 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกจํานวนครั้งของการกลับเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบสัมภาษณ์ภาวะสุขภาพ แบบสัมภาษณ์ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลสุขภาพ ที่เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และแบบสัมภาษณ์การ สนับสนุนทางสังคม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค ของแบบสัมภาษณ์ เท่ากับ .89, .82, .80, .80 และ .84 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีการกลับเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล หลังจําหน่ายออกจากโรงพยาบาลภายใน 90 วัน เฉลี่ย 2.42 ครั้ง ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการกลับเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .21, p = .02) และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลสุขภาพ ที่เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความสัมพันธ์ทางลบ ในระดับต่ำกับการกลับเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.18, p = .04) ส่วนภาวะสุขภาพ ความวิตกกังวล และการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับการกลับเข้าพักรักษา ในโรงพยาบาลของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนําไปใช้ประโยชน์ ในการป้องกันการกลับเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล ของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยหาแนวทางลดภาวะซึมเศร้า และการส่งเสริมความสามารถในการดูแล ตนเองที่เหมาะสมกับโรค ของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ก่อนจําหน่ายออกจากโรงพยาบาล The purpose of this descriptive correlational study was to examine factors related to hospital readmission of persons with chronic obstructive pulmonary disease. Samples consisted of 126 persons with chronic obstructive pulmonary disease re-admitted to Narathiwat  Rajchanakarin Hospital and Sungaikolok Hospital, Narathiwat Province. Data were collected using the Hospital Readmission Recode Form, the Health Status Questionnaire, the Anxiety and Depression Questionnaire, the Perceived Self-Care Ability for Chronic Obstructive Pulmonary Disease Questionnaire, and the Social Support Questionnaire. Cronbach's alpha coefficients of the questionnaires were .89, .82, .80, .80 and .84, respectively. Descriptive statistics and Pearson's Product Moment Correlation were used to analyze data.  Results of the study revealed that the average number of hospital readmission within 90 day post-discharge from hospital was 2.42 times. The depression scores had low positively significant relationship with hospital readmission at the level of .05 (r = .21, p = .02) and perceived self-care ability scores had low negatively significant relationship with hospital readmission at the level of .05 (r = -.18, p = .04). However, there was no significant relationship between health status, anxiety, social support, and hospital readmission. According to results of the study, preparing persons with chronic obstructive     pulmonary disease before discharge from the hospital is important. Providing strategies to increase self-care ability and to alleviate depression can prevent hospital readmission among persons with chronic obstructive pulmonary disease.

Downloads

Published

2022-01-18