อิทธิพลของการสนับสนุนจากสังคม การสนับสนุนจากครอบครัว และพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของครอบครัวที่มีต่อภาระของครอบครัวในการดูแลเด็กพิเศษ

Impact of support from society and family, and family coping behavior on burden of families caring for exceptional children

Authors

  • นภาพร ตูมน้อย
  • นุจรี ไชยมงคล
  • มณีรัตน์ ภาคธูป

Keywords:

เด็กพิเศษ, เด็ก, การดูแล, ครอบครัว, พฤติกรรมการแก้ปัญหา, ภาระของครอบครัว, การดูแลเด็กพิเศษ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสนับสนุนจากสังคม การสนับสนุนจากครอบครัว และพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของครอบครัว ที่มีอิทธิพลต่อภาระของครอบครัวในการดูแลเด็กพิเศษ โดยศึกษาครอบครัวที่มีเด็กพิเศษ และเก็บรวบรวมข้อมูลจากมารดาที่ให้การดูแลบุตรที่เป็นเด็กพิเศษ ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ จํานวน 85 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบตัวย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของครอบครัว แบบสอบถามการสนับสนุนจากสังคม แบบสอบถามการสนับสนุนจากครอบครัว แบบสอบถามพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของครอบครัว และแบบสอบถาม ภาระของครอบครัวในการดูแลเด็กพิเศษ ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน - ธันวาคม 2550 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย สถิติ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอย พหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า  1. พฤติกรรมการเผชิญปัญหาของครอบครัว เป็นตัวแปรเดียวที่มีความสัมพันธ์กับภาระของครอบครัวในการดูแลเด็กพิเศษอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = 24, p <.05)  2. พฤติกรรมการเผชิญปัญหาของครอบครัว เป็นตัวทํานายเดียวที่มีนัยสําคัญทางสถิติ ซึ่งสามารถ ทํานายความแปรปรวนของภาระ ของครอบครัวในการดูแลเด็กพิเศษได้ร้อยละ 5.6 (p<.05) The purpose of this study was to examine impact of society support, family support and family coping behavior on burden of families caring for exceptional children. The accidental sample consisted of 85 mothers of families with exceptional children in Nakhonsawan province. Data were collected by using 5 questionnaires, including demographic information, the society support questionnaire, the family support questionnaire, the family coping behavior questionnaire, and the Caregiving Burden Scale (CBS). Statistical analyses included frequencies, percents, means, standard deviations, Pearson's correlation and stepwise multiple regression,  The results reveal as follows:  1. Family coping behavior is positively correlated with burden of families caring for exceptional children (r = .24, p < .05).  2. Family coping behavior is the only significant predictor and accounts for predicting 5.6% of variance in burden of families caring for exceptional children (p<.05).

Downloads

Published

2022-01-18