การวิเคราะห์องค์ประกอบความยึดมั่นผูกพันในกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออก

Factor analysis of commitment in nursing department of community hospitals at eastern region of Thailand

Authors

  • ปริศนา อัครธนพล
  • วิจิตร์พร หล่อสุวรรณกุล
  • เรณา พงษ์เรืองพันธ์

Keywords:

โรงพยาบาลชุมชน, ความผูกพันต่อองค์การ, พยาบาล, พยาบาลวิชาชีพ, ภาคตะวันออก, ความยึดมั่นผูกพัน

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษองค์ประกอบความยึดมั่นผูกพัน และเพื่อศึกษาตัวบ่งชี้ที่อธิบายองค์ประกอบความยึดมั่นผูกพันในกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พยาบาลวิชาชีพ จากโรงพยาบาลชุมชนในภาคตะวันออก ประกอบด้วยพยาบาลประจําการและผู้บริหารที่ปฏิบัติงานทุกแผนกในโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคตะวันออก มีประสบการณ์การทํางานมาแล้ว 5 ปี จํานวน 310 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามระดับการรับรู้เกี่ยวกับตัวบ่งชี้ ความยึดมั่นผูกพันในกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 7 ระดับ มีจํานวนข้อคําถามทั้งสิ้น 63 ข้อ แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าความตรงตามเนื้อหา .83 และทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดย คํานวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และวิเคราะห์องค์ประกอบโดยวิธีองค์ประกอบหลัก  (Principle component analysis) หมุนแกนแบบออโธโกนอล (Orthogonal) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax)  ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบความยึดมั่นผูกพันในกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ซึ่งอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 68.97 ดังนี้  1) เพื่อนร่วมงานและบรรยากาศในการทํางาน ประกอบด้วย 13 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความ แปรปรวนได้ร้อยละ 14.57   2)  สิทธิประโยชน์เกื้อกูลและสวัสดิการ ประกอบด้วย 9 ตัวบ่งชี้และสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 10.72   3)  ความภักดีต่อองค์การ ประกอบด้วย 7 ตัวบ่งชี้และสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 9.56  4) โอกาสก้าวหน้าในงาน ประกอบด้วย 9 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 9.42   5)  ภาวะผู้นําทางการพยาบาล ประกอบด้วย 7 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 8.83   6) การยอมรับจากองค์การ ประกอบด้วย 7 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 8.19   7) วัฒนธรรมองค์การ ประกอบด้วย 7 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 7.67   ผลการวิจัย สามารถใช้เป็นข้อมูลสําหรับผู้บริหารทางการพยาบาล เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาบุคลากร ให้เกิดความยึดมั่นผูกพันในกลุ่มงานการพยาบาลอย่างเหมาะสม  The purpose of this research was to study the factors of commitment in nursing department and to identify the items which described those major factors of community hospitals at eastern region of Thailand. The sample consisted of 310 professional nurses in community hospitals at eastern region of Thailand, who had at least five years of experience and were selected using multistage sampling technique. The research instrument was 7 rating scale questionnaires that consisted of 63 items with content validity index .83 und Cronbach's alpha coefficient .96. Data were analyzed using mean, standard deviation, and percentage. Factor analysis was performed through principal component analysis with orthogonal rotation and varimax method.  The research findings showed that the factors of commitment in nursing department consisted of seven factors accounting for 68.97 percent of variance. The seven factors were as followed :  1. Work group and work climate described by 13 items and accounted for 14.57 percents of variance.  2. Compensation and benefit described by 9 items and accounted for 10.72 percents of variance.  3. Loyalty described by 7 items and accounted for 9.56 percents of variance.  4. Opportunity for work advancement described by 9 items and accounted for 9.42  percents of varianee.  5. Nursing leadership described by 7 items and accounted for 8.83 percents of variance.  6. Recognition described by 7 items and accounted for 8.19 percents of variance.  7. Organization culture described by 7 items and accounted for 7.67 percents of Variance.  The research finding can be used as a guideline for planning and modifying human resource management system to develop commitment among nurses of nursing department.

Downloads

Published

2022-01-18