ประสบการณ์การมีเลือดออกในทางเดินอาหารของผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง

Experience in gastrointestinal bleeding of persons with cirrhosis

Authors

  • อังคนา ศิลปรัตนาภรณ์
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง

Keywords:

ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้, ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้, โรค, ตับแข็ง, ผู้ป่วย, โรคตับแข็ง

Abstract

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประสบการณ์การมีเลือดออกในทางเดินอาหารของผู้ที่ เป็นโรคตับแข็ง โดยศึกษาเกี่ยวกับการให้ความหมายการจัดการ และความรู้สึกต่อการดูแลที่ได้รับ ทำการ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง ที่เคยประสบกับกาวะเลือดออก ในทางเดินอาหารและได้รับการรักษา ที่โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในกาคตะวันออก จำนวน 16 ราย เป็น ชาย 13 ราย และหญิง 3 ราย มีอายุตั้งแต่ 28-75 ปี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการจดบันทึกภาคสนาม ใช้เวลาเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 และนำมาวิเคราะห์ข้อมูล เชิงเนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่เป็นโรคตับแข็งให้ความหมายเรื่องของการมีเลือดออก ในทางเดินอาหารไว้ 3 ประเด็นสาระ คือ การมีเลือดออก ความไม่สุขสบายและความกลัว ซึ่งการมีเลือดออกแบ่งเป็น 2 ประเด็นย่อย คือการอาเจียนเป็นเลือด และการอาเจียนร่วมกับถ่ายเป็นเลือด ส่วนความไม่สุขสบาย คือความไม่สุขสบายจากอาการ และจากการรักษาในเรื่องความกลัวนั้นมีอยู่ 2 ลักษณะ คือความกลัวตายและความกลัวทรมาน สำหรับการจัดการกับการมีเลือดออกในทางเดินอาหาร ของผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง แบ่งเป็น 3 ประเด็นสาระ คือการจัดการขั้นต้น การจัดการเมื่อมีเลือดออก และการจัดการเพื่อป้องกันการมีเลือดออกซ้ำ การจัดการขั้นต้นคือ การจัดการโดยการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ และการพัก ส่วนการจัดการเมื่อมีเลือดออกคือ การรีบไปโรงพยาบาล ส่วนการจัดการเพื่อป้องกันการมีเลือดออกซ้ำ คือการดูแลตนเองด้านร่างกาย และการดูแลตนเองด้านจิตใจ ด้านร่างกายมี 5 วิธี คือ การรับประทานยา การมาตามนัด การงดของแสลง การงดเหล้า และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน ด้านจิตใจมี 2 วิธี คือ การสร้างกำลังใจ และการทำใจยอมรับ ในเรื่องของการดูแลที่ได้รับแบ่ง เป็น 2 ด้าน คือการเอาใจใส่ และการสื่อสาร ซึ่งมีทั้งความรู้สึกในด้านบวกและด้านลบ ในด้านบวก คือการที่แพทย์รักษาดีการให้ความช่วยเหลือโดยไม่รังเกียจ การพูดจาสุภาพ / เป็นกันเอง การให้ข้อมูลและคำแนะนำดีในด้านลบ คือการให้รอนานการไม่ได้รับความช่วยเหลือในสิ่งที่ต้องการ การพูดจาไม่สุภาพ และการให้ข้อมูลน้อย  จากผลการวิจัยที่ได้รับนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดูแลผู้ที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารจากสาเหตุของโรคตับแข็งให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป  The purpose of this qualitative research was to study experience in gastrointestinal bleeding of persons with cirrhosis in terms of meanings, management and feelings of receiving care. Purposive sampling was used to select persons with cirrhosis who have received the treatment for gastrointestinal bleeding in a tertiary hospital in the East. The informants were 13 males and 3 females aged between 28 and 75. In-depth interviews, non-participant observation and field notes were used to collect data from July to October 2007. Content analysis was used to analyze data.  The results showed that there were three meanings of gastrointestinal bleeding that the persons with cirrhosis interpreted : Bleeding, discomfort and fear. Bleeding was divided into two types ; hematemesis and hematemesis-melena. Discomfort was caused by symptoms and treatments. In terms of fear, the persons with cirrhosis were fear of death and sufferings. Management of the bleeding included three themes : initial management, active bleeding management and re-bleeding preventive management. Initial management  included taking medication to relieve symptom and rest. Active bleeding management was going to the hospital immediately. Management to prevent re-bleeding was physical and mental self-care. Physical self-care included taking medication, follow-up, avoiding injurious food, avoiding alcohol drinking and changing working-style. Mental self-care was self-encouragement and self-acceptance. The feelings of persons with cirrhosis when receiving the medical care could be positive and negative, and divided into two aspects : quality of care and communication. Positive feelings related to good practices, willing to help: politeness and good advices. Negative feelings were long-waiting, helplessness and receiving inadequate information, and impoliteness.  The results of this research could provide a basis for caring persons with cirrhosis who experience gastrointestinal bleeding in order to improve their quality of life.

Downloads

Published

2022-01-18