ผลของการใช้โปรแกรมวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด

Effect of discharge planning program on self-care and quality of life in mastectomy patients receiving adjuvant chemotherapy

Authors

  • อุบล จ๋วงพานิช
  • ณัฏฐ์ชญา ไชยวงษ์
  • จุรีพร อุ่นบุญเรือง

Keywords:

การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง, คุณภาพชีวิต, เต้านม, มะเร็ง, ผู้ป่วย, เคมีบำบัด, mastectomy patients, chemotherapy

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษา ผลของการใช้โปรแกรมการวางแผนการจําหน่ายต่อ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบําบัด กรอบแนวคิดในการ  ศึกษาครั้งนี้ ใช้แนวคิดของการวางแผนการจําหน่ายของ Hucy และคณะ และทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านม และได้รับการรักษาเสริมด้วยยาเคมีบําบัดที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จํานวน 30 คน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2550 -กุมภาพันธ์ 2551 โดยเลือกตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กําหนดด้วยวิธีสุ่ม แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมการวางแผนการจําหน่าย ก่อนได้รับยาเคมีบําบัด 1 วัน และกลุ่มควบคุมได้รับ การวางแผนการจําหน่ายตามปกติ จากพยาบาลประจําการ  การวางแผนการจําหน่าย สําหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับยาเคมีบําบัดประกอบด้วยวิดิทัศน์เรื่อง การรักษาและการดูแลตนเองเมื่อได้รับยาเคมีบําบัด และคู่มือการดูแลตนเองที่บ้านสําหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบําบัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง และแบบประเมินคุณกาพชีวิต ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินพฤติกรรม การดูแลตนเองและคุณภาพชีวิต ก่อนให้ยาเคมีบําบัด 1 วัน หลังจากนั้นกลุ่มควบคุมได้รับข้อมูลตามปกติจากพยาบาล ผู้ป่วยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการวางแผนการจําหน่ายก่อนได้รับยาเคมีบําบัด 1 วัน ก่อนกลับบ้านผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินการรับรู้ก่อนจําหน่าย หลังให้ยาเคมีบําบัด 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินพฤติกรรมกา ดูแลตนเองและคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม  ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ของพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิต สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ผลวิจัยดังกล่าวทําให้พยาบาลประจําการ สามารถ นําโปรแกรมการวางแผนจําหน่ายมาใช้ในหน่วยงานได้ตรงกัน ทําให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ การเผยแพร่ นวตกรรมคือ วิดิทัศน์ คู่มือการดูแลตนเองที่บ้าน และการดูแลต่อเนื่องสําหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบําบัด ทําให้หน่วยงานอื่นๆ ที่มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบําบัดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์สามารถนําโปรแกรมนี้ไปใช้ได้อย่างได้ผล  This study was quasi-experimental research method. The purpose of the study was to determine the effect of the discharge planning program on self-care and quality of life in mastectomy patients receiving adjuvant chemotherapy. The conceptual framework of discharge planning for this study was constructed based on Hucy et al. and Orem's theory.  The sample group of 30 mastectomy patients receiving chemotherapy was drawn, based on selection criteria, from a population of patients admitted in Srinagarind Hospital, Khon Kaen University during February 2007 to February 2008. The patients were randomly assigned into 2 groups : the experimental group receiving the discharge planning program on self-care and quality of life, and the control group receiving usual information  The discharge planning program on self-care and quality of life was considered to be an appropriate nursing intervention. Il consisted of home manual treatment and self - care information developed in a form of VCD.  The instruments used in this study were questionnaires regarding demographics, client's perception regarding self-care and quality of life. The pretest for self-care and quality of life was carried out on both groups one day before receiving chemotherapy. Then, usual information was given to the control group by nurses while the discharge planning program for self-care nursing intervention was given to the experimental group by the researcher on the first day prior to chemotherapy. The data on perceptions were collected from both groups before discharge. The post test was done to both groups on the 4'week after chemotherapy. Data were analyzed using analysis of covariance.  The results of this study showed that patients who received the discharge planning program for self-care nursing intervention had significantly higher scores in terms of self-care and quality of life than patients who did not receive the discharge planning program for self-care nursing intervention (p<.05). From results of the study, nurses can use this program in order 10 enhance self-care skills of the patient. Dissemination of an innovation i.e., providing information using VCD-formatted and home-based self care manual for patients receiving chemotherapy, is useful for other units in order to provide effective care for the patients.

Downloads

Published

2022-01-18