ผลของ โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาต่อความเครียดในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิต

The effect of cognitive behavior modification program on stress in caregivers of patients with schizophrenia

Authors

  • อารีรัช จำนงค์ผล
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์

Keywords:

ผู้ป่วยจิตเภท, การดูแล, การปรับพฤติกรรม, ผู้ดูแล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล ของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาต่อ ความเครียดในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กําหนด จํานวน 18 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 9 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง อย่างง่ายผู้ดูแลในกลุ่มทดลองได้รับการฝึกโปรแกรม การปรับพฤติกรรมทางปัญญาแบบที่เรียกว่า การฝึกการป้องกันความเครียด (Stress Inoculation Training) จํานวน 8 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที เป็นเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูล 3 ระยะ คือ ก่อนการทดลองหลังการทดลองและติดตามผล 1 เดือน ประเมินผล โดยการวัดความเครียดด้วยเเบบสอบถามและวัดความตึงตัวของกล้ามเนื้อด้วยเครื่องวัด Electronmyograph (EMG) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีนิวแมน-คูลส์  ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้   1.  มีปฏิสัมพันธ์ (interaction effects) ระหว่างระยะเวลากับวิธีการทดลองทั้งคะแนนความเครีย  (F = 6.72, p< .01) และคะแนนความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (F 7.86, p< .01)   2. ความเครียดของกลุ่มทดลอง (ค่าเฉลี่ย = 10.22, SD = 6.94) และกลุ่มควบคุม (ค่าเฉลี่ย = 15.44, SD =5.93) ภายหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .05 (F = 2.94) แต่ใน ระยะติดตามผลความเครียดในกลุ่มทดลอง (ค่าเฉลี่ย = 8.44, SD = 4.12) แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (ค่าเฉลี่ย = 17.88, SD = 7.45) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (F = 11.05, p< .01)  3. ความตึงตัวของกล้ามเนื้อหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือนระหว่างกลุ่มทดลอง (ค่าเฉลี่ย = 5.40, SD = 3.63; ค่าเฉลี่ย = 9.08, SD = 3.74) กับกลุ่มควบคุม (ค่าเฉลี่ย = 15.64, SD = 4.76; ค่าเฉลี่ย = 21.04, SD = 11.28) แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 (F = 10.55 ; F = 15.66).  The purpose of this quasi-experimental study was to test the effect of Cognitive Behavior Modification program on stress among caregivers of patients with schizophrenia. Eighteen caregivers of patients with schizophrenia who met the inclusion criteria participated in this study. They were randomly as signed into either experiment (n=9) or control (n=9) group. The participants in experimental group received the Cognitive Behavior Modification program training twice a week for 8 sessions, 90 minutes for each session. Data regarding stress and muscle tone were collected at 3 times : pre-test, post-test, and one-month follow-up. Descriptive statistics, repeated measures ANOVA, and the Newman-Kuels procedure were employed to analyze the data. The results were as follows  1. There were interaction effects between intervention method and time on stress (F= 6.72, p< .01) and muscle tone (F = 7.86, p<. 01).  2. There was no significant difference for stress between experiment (average = 10.22, SD = 6.94) and control group (average = 15.44, SD = 5.93) at post test (F = 2.94, p< .05), but there was significant difference between experiment (average = 8.44, SD = 4.12) and control group (average = 17.88, SD = 7.45) at follow-up phase (F = 11.05, p< .01).  3. The muscle tone measured at posttest and one month follow-up phase between experiment (average = 5.40, SD = 3.6 3; average = 9.08, SD = 3.74) and control group (average = 15.64, SD = 4.76; average = 21.04, SD = 11.28) were significantly different at p-value .01 (F = 10.5; F = 15.66).

Downloads

Published

2022-01-18