ความต้อง การความสุขสบายและการได้รับการตอบสนองความต้องการความสุขสบายในผู้ป่วยที่ ใช้เครื่องช่วยหายใจ

Needs of comfort and perceived need response of comfort in indwelling ventilator patients

Authors

  • นิตเยาว์ ไชยทองรักษ์
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ
  • อาภรณ์ ดีนาน

Keywords:

ผู้ป่วย, การดูแล, ความต้องการ จิตวิทยา, ความพอใจของผู้ป่วย, คุณภาพชีวิต

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความต้องการความสุขสบายและการได้รับการ ตอบสนองความต้องการความสุขสบายในผู้ป่วยที่ใช้ เครื่องช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการ รักษาที่โรงพยาบาลพัทลุงและใช้เครื่องช่วยหายใจ จํานวน 63 ราย คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กําหนดเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ พัฒนามาจากทฤษฎีความสุขสบายของ Kolcaba 2003) ค่าความเชื่อมั่นของแบบสัมภาษณ์ความต้องการความสุขสบาย และการได้รับการตอบสนอง ความต้องการความสุขสบายเท่ากับ .95 และ .97 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ paired t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  1. คะแนนความต้องการความสุขสบาย โดยรวม ด้านร่างกาย ด้านจิต - จิตวิญญาณ และด้านสังคมอยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการความสุขสบายด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง 2. คะแนนการได้รับการตอบสนอง ความต้องการความสุขสบายโดยรวมและด้านร่างกาย ด้านจิต-จิตวิญญาณ ด้านสังคมและด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก 3. การเปรียบเทียบคะแนนความต้องการ ความสุขสบายและการได้รับการตอบสนองความต้องการความสุขสบายพบว่า คะแนนโดยรวมและด้านสิ่งแวดล้อม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ด้านจิตวิญญาณและสังคม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 โดยพบว่าการได้รับการตอบสนองความต้องการความสุขสบายมากกว่าความต้องการ ความสุขสบาย ส่วนด้านร่างกายพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ผลการวิจัย สามารถนําข้อมูลมาใช้เพื่อการ พัฒนาคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมความสุขสบายแก่ผู้ป่วยทั้งด้าน ร่างกาย ด้านจิต-จิตวิญญาณ ด้านสังคม และด้าน สิ่งแวดล้อมต่อไป  The purpose of this descriptive research was to study needs of comfort and perceived need responses of comfort in indwelling ventilator patients. A sample consisted of 63 patients who were on mechanical ventilators in Phudthalung Hospital. An interviewing questionnaire which asked about needs of comfort and perceived need responses of comfort was developed based on Comfort theory of Kolcaba (2003). The internal consistency of the Needs of Comfort Questionnaire and the Perceived Need Responses Questionnaires were .95 and .97. Data were analyzed by using paired t-test. The results showed as follow:  1. The overall scores of ineeds of confort. physical comfort. psychospiritual and sociocultural comfort were at high level Score of environmental comfort was at moderate level.  2. The overall scores of perceived need responses of comfort, physical, psychospiritual, sociocultural and environmental comfort were at high level.  3. Paired t-test showed a statistically significant difference between needs of comfort and perceived need responses of comfort on overall comfort, environmental comfort, psychospiritual comfort, and sociocultural comfort. However, a difference between needs of comfort and perceived need responses of comfort related to physical comfort was not significant.  The results provide evidence for quality of care improvement in indwelling ventilator patients by promoting physical, psychospiritual, sociocultural and environmental comfort.

Downloads

Published

2022-01-18