ความรู้ ทัศนคติและความต้องการการคลอดธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์ ครอบครัว และผู้ให้บริการทางสุขภาพ ณ โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา

Knowledge of, Attitudes towards, and Needs for Natural Childbirth as Perceived by Pregnant Women, Families, and Health Care Professionals at Chacheongsao Hospital

Authors

  • วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์
  • รัชนีวรรณ รอส

Keywords:

การคลอด, สตรีมีครรภ์, สูติกรรม, การคลอดธรรมชาติ, ให้บริการทางสุขภาพ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และความต้องการการคลอดธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว จํานวนกลุ่มละ 337 คน และผู้ให้บริการทางสุขภาพในแผนกสูติกรรมจํานวน 42 คน โดยเป็นสูติแพทย์จํานวน 5 คน และพยาบาล ผดุงครรภ์ที่ทํางานอยู่ในหน่วยฝากครรภ์ ห้องคลอดและหลังคลอดจํานวน 37 คน ณ โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2549 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ด้วยแบบสอบถาม ความรู้ ทัศนคติ และความต้องการการคลอดธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์ ครอบครัว และผู้ให้บริการทางสุขภาพที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคอยู่ระหว่าง 0.70 ถึง 0.85 และค่าอํานาจจําแนกของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.64 ถึง 0.67  ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติอยู่ในระดับปานกลางคือ ร้อยละ 62.91 (ค่าเฉลี่ย = 23.20, SD = 3.32) และ ร้อยละ 62.79 (ค่าเฉลี่ย = 23.16, SD = 3.48) ตามลําดับ ในขณะที่ผู้ให้บริการทางสุขภาพส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับมาก คือ ร้อยละ 92.90 (ค่าเฉลี่ย = 28,86, SD = 3.59) ทั้งหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว มีทัศนคติต่อการคลอดธรรมชาติ และความต้องการการคลอดธรรมชาติอยู่ในระดับ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.16, SD = 0.99 ; ค่าเฉลี่ย = 3.17, SD =1.01 และ ค่าเฉลี่ย = 3.44, SD = 0.96 ; ค่าเฉลี่ย = 3.45, SD = 0.99 ตามลำดับ) ในขณะที่ผู้ให้บริการทางสุขภาพมีทัศนคติต่อการคลอดธรรมชาติ และความต้องการการคลอดธรรมชาติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.52, SD = 0.93 และ ค่าเฉลี่ย = 3.95, SD = 0.81 ตามลำดับ) ซึ่งความต้องการการคลอดธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์ และครอบครัวในการศึกษาครั้งนี้ที่มีระดับสูงสุดมี 5 ข้อ คือต้องการให้ทารกดูดนมมารดาในช่วงชั่วโมงแรกหลังคลอด ต้องการให้สามีหรือครอบครัวเข้ามีส่วนร่วมตั้งแต่ระยะแรกหลัง คลอด ต้องการการบริหารร่างกายเพื่อเตรียมตัวคลอด ต้องการการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจเพื่อให้เกิด ความมั่นใจในการเผชิญกับความเจ็บปวด และต้องการมีสิทธิในการร่วมตัดสินใจในการคลอดธรรมชาติ ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนําไปส่งเสริมให้มีการบริการการคลอดธรรมชาติ ที่สร้างเสริมพลังอํานาจให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความมั่นใจ ในการคลอดธรรมชาติ โดยให้สอดคล้องกับความต้องการของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการ  This present study aimed to examine knowledge, attitudes, and needs related to natural childbirth as perceived by pregnant women (n=337), their families (n=337), and 42 health care professionals (5 physicians and 37 nurse midwives) at the maternity patient unit, Chacheongsao hospital. Data were collected between July 2006 to February 2007, using self-administered questionnaires developed by the researchers. The questionnaires' alpha ranged from 0.70 to 0.85 and their item discriminations ranged from 0.64 to 0.67.  Results revealed that most pregnant women and their families demonstrated moderate levels of knowledge on natural childbirth (62.91%; average = 23.20, SD = 3.32 and 62.79 %; average = 23.16, SD =3.48, respectively), while health care professionals showed a high level of such knowledge (92.90 %; average = 28.86, SD = 3.59). Attitudes toward and needs related to natural childbirth of pregnant women and their families in this study were also at moderate levels ( = 3.16, SD = 0.99 and average = 3.17, SD = 1.01, average 3.44, SD = 0.96 and average = 3.45, SD = 0.99, respectively), while attitudes toward and needs related to natural childbirth of the health care professionals were at high levels (average = 3.52, SD = 0.93 and average = 3.95, SD = 0.81), The top five reported needs as perceived by the women and families in the study include : Breastfeeding within an hour after birth ; being with the partner or a family member right after delivery ; exercise preparation for labor and delivery psychological preparation in order to cope with pain; and shared decision-making on natural childbirth. Results from this study could be used guide health care professionals to empower pregnant women and families about natural childbirth by providing care and services tailored to their identified needs for ultimate benefits to the pregnant women and their families.

Downloads

Published

2022-01-31