ผลของโปรแกรมการพยาบาลตามรูปแบบความเชื่อความเจ็บป่วยต่อความทุกข์ทรมานของ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและครอบครัว

Effects of illness belief model program on suffering of hemodialysis patients and their families

Authors

  • พัชริน แน่นหนา
  • จินตนา วัชรสินธุ์
  • วรรณี เดียวอิศเรศ

Keywords:

ไตวายเรื้อรัง, การพยาบาล, ผู้ป่วย, การดูแล, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

Abstract

การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการพยาบาลตามรูปแบบความเชื่อ ความเจ็บป่วยต่อความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและครอบครัว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียมและครอบครัวที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยไตเทียม ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา จํานวน 20 ครอบครัว เลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 ครอบครัว ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียมและครอบครัวกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม การพยาบาลตามรูปแบบความเชื่อความเจ็บป่วย ส่วนผู้ป่วยและครอบครัวในกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามรูปแบบปกติของโรงพยาบาล ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมได้รับการประเมินความทุกข์ทรมานก่อนได้รับโปรแกรมและในสัปดาห์ที่ 6 หลังได้รับโปรแกรม ด้วยแบบสัมภาษณ์ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยและครอบครัว สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที  ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียมและครอบครัวกลุ่มที่ได้รับ โปรแกรมการพยาบาลตามรูปแบบ ความเชื่อความเจ็บป่วยมีความทุกข์ทรมานน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบปกติของโรงพยาบาล อย่างมีนัย สําคัญทางสถิติที่ระดับ .05  จากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการพยาบาลตามรูปแบบความเชื่อความเจ็บป่วย สามารถช่วยลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและครอบครัวได้ พยาบาลหน่วยไตเทียมสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและครอบครัวเพื่อช่วยลดความทุกข์ทรมานได้  The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effects of Illness Belief Model program on suffering of hemodialysis patients and their families. The sample consisted of 20 patients received hemodialysis al Health Science Center, Burapha University and their families. The samples were randomly assigned to the control and experimental group. Ten patients and their families in the control group received regular program and the other 10 patients and families of the experimental group received the Illness Belief Model (IBM) program. The sample in both group were assessed the perceived suffering score at prior to experiment and six weeks after the experiment. Data were analyzed using frequency, mean, standard deviation, and t-test.  The results revealed that the patients o and families in the experimental group had significant less mean score of the suffering than those in the control group (p<.05). This finding suggested that Illness Belief Model program could reduce the patients suffering from hemodialysis and families suffering from taking care of the patients. Nurses in the dialysis unit should apply Illness Belief Model program to help hemodialysis patients and families reduce their suffering.

Downloads

Published

2022-01-31