ผลของ โปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ต่อความผูกพันระหว่างมารดาและทารก หลังคลอด ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา

The Effect of Prenatal Bonding Promoting Program on Maternal-Newborn Attachment in Postpartum Period at Health Science Center, Burapha University

Authors

  • มณิสรา เคร่งจริง

Keywords:

มหาวิทยาลัยบูรพา, ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ, การเป็นมารดา, ความผูกพัน, มารดาและทารก, โปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล ของโปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ ต่อสัมพันธภาพระหว่างมารดา และทารกภายหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงครรภ์แรกอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ที่มาฝากครรภ์ คลอด นอนพักหลังคลอดและตรวจหลังคลอดที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา จํานวน 40 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ แบบประเมินความผูกพันระหว่างมารดาและทารกในระยะหลังคลอด และแบบวัดสัมพันธภาพระหว่างมารดา และทารกหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบ ผลรวมของคะแนนความผูกพันและคะแนน สัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกหลังคลอด 2 ครั้งระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติที (Independent t-test) เปรียบเทียบผลรวม ของคะแนนความผูกพันและคะแนนสัมพันธภาพ ระหว่างมารดาและทารกหลังคลอดภายในแต่ละกลุ่ม ระหว่างครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 โดยใช้สถิติที่ (paired t-test)       ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีผลรวมของ คะแนนความผูกพันและคะแนนสัมพันธภาพระหว่าง มารดาและทารกในระยะหลังคลอด 2 วัน และในระยะหลังคลอด 6 สัปดาห์ สูงกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มทดลองมีผลรวม ของคะแนนความผูกพันและคะแนนสัมพันธภาพ ระหว่างมารดาและทารก ในครั้งที่ 2 สูงกว่าในครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มควบคุมมีผลรวมของคะแนนความผูกพันและคะแนน สัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกในครั้งที่ 2 สูงกว่าในครั้งที่ 1 อย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้นําไปสู่การนําโปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์มาใช้อย่างต่อเนื่องในหน่วย ฝากครรภ์ต่อไป   The purpose of this quasi-experimental research was to examine effects of prenatal bonding promoting program. The sample included 40 first-time pregnant women with 32 weeks of gestational age using simple random sampling, who had attended antenatal clinic, delivered baby, received postpartum care and follow up at Health Science Center, Burapha University. The sample of 40 primigravida were randomly assigned as experimental group and control group, 20 mothers each. The experimental group received the antepartal bonding promoting program, but the control group received only routine care of the Health Science Center: Research instruments were Prenatal bonding program, Maternal-Newborn Assessment and Maternal-Newborn Attachment questionnaire. Data were analyzed by using independent t-test to compare the total score of Maternal-Newborn Attachment and Bonding in 2 postpartum period between the 2 groups, and using paired t-test to compare the total score of Maternal-Newborn Attachment and Bonding between the 1" postpartum period and 2nd postpartum period in each group. Results revealed that the total score of Maternal-Newborn Attachment and Bonding after 2 days and 6 weeks of the experimental group was statistically higher than the control group (p<.05). The total score of Maternal-Newborn Attachment and Bonding at the 2nd postpartum period in the experimental group was statistically higher than those at the 1st postpartum period (p<.05). The total score of Maternal-Newborn Attachment and Bonding at the 2nd postpartum period in the control group was not statistically different to those at the 1st postpartum period. This finding can lead to effectively continuing using the prenatal bonding promoting program at the antenatal clinic of Health Science Center, Burapha University.

Downloads

Published

2022-01-31